25 ก.ย. 2022 เวลา 03:00 • หนังสือ
ครุฑ จับ นาค
เรื่องราวของ ‘ครุฑ’ และ ‘นาค’ นั้น เป็นตำนานที่แพร่หลายอย่างมากตั้งแต่ชมพูทวีปมาจนดินแดนอุษาคเนย์ และมีความสัมพันธ์อย่างลึกซึ้งในทางคติความเชื่อ ศาสนา และวัฒนธรรมของสังคมไทยอย่างเหนียวแน่นยาวนาน ซึ่งแท้จริงแล้วทั้งครุฑและนาคต่างก็มีที่มาจากเหล่ากอเดียวกัน แต่ต่างกันที่ลักษณะทางกาย และด้วยเรื่องราวตามตำนานที่ผูกใจเป็นศัตรูกัน ภายหลังจึงนิยมนำคตินี้มาประยุกต์กับงานศิลปกรรมไทยแขนงต่างๆ ออกมาในรูป ‘ครุทยุดนาค’ อย่างวิจิตรพิสดาร จึงนับว่าเรื่องราวของครุฑและนาคเป็นเรื่องที่น่าสนใจยิ่ง
วิธีจับพญานาคของพญาครุฑมีกล่าวไว้ในโกฏสิมพลีชาดกตอนหนึ่งว่า
“มีพญาสุบรรณตนหนึ่งจำแลงกายให้ใหญ่ประมาณได้ ๑๕๐ โยชน์ กระพื่อปีกแหวกน้ำทำให้เป็นช่องลงไปในมหาสมุทร แล้วจับพญานาคมีกายยาวได้พันวาคือ ๕๐ เส้น โดยตอนหาง ให้สำรอกอาหารออกแล้ว คาบพาบินมาโดยส่วนเบื้องบนแห่งป่าตรงมายังต้นโกฎฏสิมพลี
ส่วนพญานาคเมื่อพญาสุบรรณจับห้อยหัวอยู่นั้น จึงดำริว่า เราจักเปลื้องตนให้พ้นจากอันตราย จึงกระหวัดรัดต้นไทรด้วยขนดกายให้มั่น ต้นไทรนั้นก็หลุดถอน ส่วนพญานาคก็มิได้ปล่อยต้นไทร สุบรรณก็จับพญานาคกับทั้งต้นไทรบินไปถึงต้นงิ้วแล้วให้พญานาคนอนอยู่ ณ หลังค่าคบ จึงฉีกท้องออกกินมันข้นเป็นอาหาร แล้วทิ้งซากศพลงในมหาสมุทร”
จากหนังสือ ‘ครุฑยุดนาค ตำนานว่าด้วยกำเนิดแห่ง ‘ครุฑ’ และ ‘พญานาค’’ โดย ส.พลายน้อย
โฆษณา