20 ก.ย. 2022 เวลา 02:50 • ธุรกิจ
TPI อดีตโรงกลั่น 100,000 ล้าน สู่ IRPC ของ ปตท.
ในช่วงระหว่างปี 2516 ถึงปี 2519 หรือเกือบ 50 ปีก่อน
ประเทศไทยของเราก็เจอเข้ากับวิกฤติน้ำมันโลก
ณ เวลานั้น ก็ถือเป็นจุดที่ทำให้ประเทศไทยมี ปตท. บริษัทพลังงานแห่งชาติขึ้นมา
รวมถึงในช่วงเวลาเดียวกัน ก็มีอีกบริษัทปิโตรเคมีเอกชนรายใหญ่ของไทย ชื่อว่า อุตสาหกรรมปิโตรเคมีกัลไทย หรือ TPI
รู้หรือไม่ว่า TPI เป็นบริษัทที่เคยมีมูลค่ากว่า 130,000 ล้านบาท
เรียกได้ว่าเป็นธุรกิจที่มีมูลค่ามากสุดอันดับต้น ๆ ในบ้านเรา
แล้ววันนี้ บริษัทแห่งนี้หายไปไหน ?
ลงทุนแมนจะเล่าให้ฟัง
ก่อนอื่นก็ต้องบอกว่า TPI ก่อตั้งโดยคุณประชัย เลี่ยวไพรัตน์ ในปี 2521 ซึ่งเป็นช่วงเดียวกันกับที่ภาครัฐเริ่มเห็นความสำคัญของพลังงาน และอุตสาหกรรมปิโตรเคมี
อีกทั้งยังเป็นช่วงที่ประเทศไทย กำลังเปลี่ยนผ่านจากอุตสาหกรรมเบา ไปเป็นอุตสาหกรรมหนัก จากแผนพัฒนาเศรษฐกิจที่มีโครงการ Eastern Seaboard เป็นตัวดึงดูดนักลงทุนจากต่างประเทศ
ซึ่งบริษัท TPI ที่เพิ่งก่อตั้งบริษัทได้ไม่นาน ก็ได้รับอานิสงส์จากการพัฒนาอุตสาหกรรม
จนเติบโตกลายมาเป็น บริษัทปิโตรเคมีที่ใหญ่ที่สุด ในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ในเวลานั้น
3
แต่ด้วยความที่อุตสาหกรรมปิโตรเคมี เป็นธุรกิจที่ต้องใช้เงินลงทุนสูง
รวมถึงต้องดำเนินกิจการเป็นเวลานานกว่าจะถึงจุดคุ้มทุน
บริษัทจึงต้องหาแหล่งเงินลงทุนเป็นจำนวนมาก จากทั้งธนาคารภายในประเทศและต่างประเทศ
2
อีกทั้ง TPI ยังมีการระดมทุนผ่านตลาดหลักทรัพย์ เพื่อระดมทุนเพิ่มเติม
โดยนำเงินไปลงทุนเพื่อเพิ่มกำลังการกลั่น ให้เพียงพอต่อการเติบโตของเศรษฐกิจไทย
โดยในช่วงเวลานั้น
GDP ประเทศไทย เติบโตจาก 1 ล้านล้านบาท ในปี 2528
เป็น 4.2 ล้านล้านบาท ในปี 2538
แต่ด้วยเศรษฐกิจที่เติบโตเร็วจนเกินไป
หลายธุรกิจในไทยจึงเลือกกู้ยืมเงินจากต่างประเทศ ที่มีดอกเบี้ยต่ำกว่าเงินกู้ภายในประเทศ จนส่งผลให้เกิดวิกฤติต้มยํากุ้งในปี 2540
1
ทันทีที่รัฐบาลตัดสินใจปล่อยให้ค่าเงินบาทลอยตัว
TPI เองก็เป็นหนึ่งในบริษัท ที่ได้รับผลกระทบด้วย
เพราะมีมูลค่าหนี้ในสกุลเงินต่างประเทศ มากกว่า 2,700 ล้านดอลลาร์สหรัฐ
TPI จึงขาดทุนจากอัตราแลกเปลี่ยนที่เพิ่มขึ้นเป็นเท่าตัว
ในตอนนั้นบริษัทมีหนี้สินมากถึง 134,000 ล้านบาท และไม่สามารถชำระหนี้สินได้
ในที่สุด บริษัทก็ต้องประกาศหยุดชำระหนี้ และยื่นล้มละลายต่อศาลในที่สุด
หลังการล้มละลายของ TPI การต่อสู้ระหว่างคุณประชัย และเหล่าธนาคาร
เพื่อแย่งสิทธิในการบริหารแผนฟื้นฟูบริษัทก็เริ่มต้นขึ้น
ในด้านเจ้าหนี้นั้นเห็นว่าธุรกิจของ TPI ยังมีโอกาสพลิกฟื้นกลับมาเติบโตได้ สอดรับกับธุรกิจปิโตรเคมีที่ยังมีความต้องการสูง
ทำให้เหล่าเจ้าหนี้อยากจะแปลงหนี้สินเป็นทุน เพื่อเข้ามามีส่วนร่วมในธุรกิจนี้
ด้านคุณประชัยในฐานะลูกหนี้และผู้บริหาร ย่อมไม่เห็นด้วย
เพราะคิดว่าเหล่าเจ้าหนี้จะเข้ามาครอบงำบริษัท
จนนำไปสู่การฟ้องร้องกันในชั้นศาล ซึ่งกินระยะเวลาหลายปี
2
จนกระทั่งในปี 2546 กระทรวงการคลัง ได้เข้ามาเป็นตัวกลางในการไกล่เกลี่ยหนี้ เพราะ TPI ยังมีธุรกิจโรงกลั่น ซึ่งมีความสำคัญต่อหลายอุตสาหกรรมที่เกี่ยวเนื่อง
2
อีกทั้งมูลค่าหนี้มหาศาลของบริษัท หากบริหารจัดการไม่ดี
ในระยะยาวจะส่งผลเสียเรื้อรังต่อระบบเศรษฐกิจของประเทศ
ในที่สุด ทั้งฝ่ายเจ้าหนี้และลูกหนี้ก็ยินยอม
กระทรวงการคลังจึงได้แต่งตั้งคณะผู้บริหารชุดใหม่เข้าไปบริหารกิจการ
โดยมีเป้าหมายให้ TPI กลับมาทำธุรกิจได้อย่างมั่นคง และพนักงานทั้งหมดจะต้องไม่ตกงาน
รวมไปถึงเจ้าหนี้ที่จะต้องได้รับเงินคืน และลูกหนี้ที่จะได้รับความเป็นธรรม
1
จึงนำมาสู่การปรับโครงสร้างทางการเงิน เริ่มตั้งแต่
- การลดทุน เพื่อล้างขาดทุนสะสม
- เพิ่มทุนเข้าไปใหม่จากพันธมิตร เพื่อนำไปชำระหนี้
2
โดยพันธมิตรที่ว่านี้ก็คือ ปตท., ธนาคารออมสิน และกองทุนบำเหน็จบำนาญข้าราชการ
ซึ่งสำหรับในมุมของผู้ถือหุ้นแล้ว การเพิ่มทุนในครั้งนั้น ทำให้ผู้ถือหุ้นใหญ่ของ TPI เปลี่ยนไปไม่ใช่คนเดิม แต่เป็น ปตท. ที่เข้ามาเป็นผู้ถือหุ้นใหญ่ ซึ่งปัจจุบันถือหุ้นอยู่ราว 45%
อีกทั้งบริษัทยังต้องขายหุ้นบริษัท ทีพีไอ โพลีน หรือ TPIPL เพื่อชำระหนี้มูลค่า 250 ล้านดอลลาร์สหรัฐ
ในส่วนหนี้ก้อนที่เหลืออยู่กว่า 1,800 ล้านดอลลาร์สหรัฐนั้น ทางบริษัทจะทยอยใช้คืนจากกระแสเงินสดในการดำเนินงาน
ภายหลังจากการปรับโครงสร้างทั้งหมดนี้
ศาลล้มละลายกลาง มีคำสั่งยกเลิกการฟื้นฟูกิจการของบริษัทในปี 2549
และบริษัทก็ได้มีการเปลี่ยนชื่อจาก TPI มาเป็น IRPC ที่เราอาจเคยได้ยินชื่อกันในวันนี้ นั่นเอง..
1
หนังสือ BRANDING THE NATION หนังสือที่เล่าถึงการสร้างแบรนด์ของแต่ละประเทศที่ทำให้ แต่ละประเทศเป็นแบบทุกวันนี้
1
เช่น ทำไมเยอรมนีเป็นประเทศแห่งรถยนต์ ทำไมฝรั่งเศสเป็นประเทศแห่งแบรนด์หรู สั่งซื้อเลยที่
Reference
-56-1 ของบริษัท IRPC
โฆษณา