Blockdit Logo
Blockdit Logo (Mobile)
สำรวจ
ลงทุน
คำถาม
เข้าสู่ระบบ
มีบัญชีอยู่แล้ว?
เข้าสู่ระบบ
หรือ
ลงทะเบียน
Finnomena
•
ติดตาม
19 ก.ย. 2022 เวลา 10:50 • หุ้น & เศรษฐกิจ
News Update: ค่าไฟ ใช้เท่าเดิม แต่จ่ายแพงขึ้น เปิด 4 เหตุผลหลักทำไมต้องขึ้นค่า Ft
4
ตอนนี้หลายๆ คนคงเจอปัญหาค่าไฟแพงทั้งที่ใช้เท่าเดิมกันถ้วนหน้า หลังคณะกรรมการกำกับกิจการพลังงาน (กกพ.) ประกาศขึ้นค่าเอฟที 68.66 สตางค์ต่อหน่วย
5
นั่นทำให้ ‘ค่า Ft’ งวดเดือน ก.ย. - ธ.ค. ปีนี้รวมเป็น 93.43 สตางค์ต่อหน่วย และเมื่อรวมกับ ‘ค่าไฟฐาน’ จะทำให้ค่าไฟจะทำสถิติสูงที่สุดคือ 4.72 บาทต่อหน่วย จากเดิมอยู่ที่ 4 บาท
1
โดยครัวเรือนที่ใช้ไฟไม่เกิน 150 หน่วย แต่ก่อนค่าไฟต่อหน่วยอยู่ที่ 3.70 บาท เพิ่มมาเป็น 4.38 บาท จะทำให้ค่าไฟเพิ่มขึ้นจาก 264 บาท เป็น 313 บาท
และครัวเรือนที่ใช้ไฟเกิน 150 หน่วย แต่ก่อนค่าไฟต่อหน่วยอยู่ที่ 4.28 บาท เพิ่มมาเป็น 4.96 บาท จะทำให้ค่าไฟเพิ่มขึ้นจาก 1,418 บาท เป็น 1,645 บาท
1
สำหรับสาเหตุที่ต้องขึ้นค่าไฟนั้น กกพ.ให้มา 4 เหตุผล ดังนี้
1.ปริมาณก๊าซในประเทศที่ลดลงจากเดิม ทำให้ต้องนำเข้า Spot LNG เข้ามาเสริมหรือเดินเครื่องโรงไฟฟ้าด้วยน้ำมันเพื่อทดแทนปริมาณก๊าซที่ขาด แต่ในช่วงสงครามยูเครน ส่งผลให้ราคา Spot LNG มีราคาแพงและผันผวน ดังนั้นการทดแทนก๊าซธรรมชาติในอ่าวไทยด้วย LNG หรือใช้น้ำมันจะส่งผลให้ค่าเชื้อเพลิงในการผลิตไฟฟ้าเพิ่มขึ้นอย่างมีนัยสำคัญ
2
2.การผลิตก๊าซจากเมียนมาผลิตไม่ได้ตามกำลังเดิม เพราะเมียนมาที่ไม่สามารถผลิตได้ตามกำลังการผลิตเดิมและมีแนวโน้มที่จะลดลงอย่างต่อเนื่องในช่วงปลายปี 2565 ถึงต้นปี 2566
3.สถานการณ์ผู้ผลิต LNG ชะลอการลงทุน อันเนื่องมาจากมีความต้องการใช้พลังงานน้อยในช่วงโควิด-19 แต่หลังจากที่หลายประเทศเริ่มฟื้นตัวจากโควิดทำให้ความต้องการใช้ LNG มีมากกว่ากำลังการผลิตในตลาดโลก ส่งผลกระทบต่อราคาและการเจรจาสัญญาซื้อขาย LNG
2
4.สภาวะสงครามรัสเซียและยูเครน ทำให้รัสเซียลดหรือตัดการจ่ายก๊าซธรรมชาติทางท่อไปยังยุโรป ทำให้ความต้องการ LNG เพิ่มขึ้นอย่างมากในยุโรปและส่งผลกระทบทางอ้อมต่อราคา LNG ในตลาดเอเชีย
อ้างอิง:
https://www.bangkokbiznews.com/news/news_update/1021349?aoj=
ค่าไฟฟ้า
54 บันทึก
48
9
76
54
48
9
76
โฆษณา
ดาวน์โหลดแอปพลิเคชัน
© 2024 Blockdit
เกี่ยวกับ
ช่วยเหลือ
คำถามที่พบบ่อย
นโยบายการโฆษณาและบูสต์โพสต์
นโยบายความเป็นส่วนตัว
แนวทางการใช้แบรนด์ Blockdit
Blockdit เพื่อธุรกิจ
ไทย