20 ก.ย. 2022 เวลา 11:50 • ธุรกิจ
ทำไมบริษัทขาดทุน แต่ยังทำธุรกิจต่อไปได้ ?
1
เคยสงสัยไหมว่าทำไมหลายบริษัทที่ “ขาดทุน” ถึงยังสามารถทำธุรกิจต่อไปได้
คำตอบก็คือ บริษัทเหล่านี้ ยังมีสภาพคล่อง หรือมีเงินสดเหลือพอที่จะนำไปหมุนเวียนในกิจการ
5
ยกตัวอย่างเช่น Tesla ธุรกิจรถยนต์ไฟฟ้าของอีลอน มัสก์
ปี 2018 ขาดทุน 36,000 ล้านบาท
ปี 2019 ขาดทุน 31,800 ล้านบาท
5
แต่บริษัทมี “กระแสเงินสด” จากการทำธุรกิจเป็นบวกอยู่
จึงยังสามารถขายรถยนต์ และขยายกิจการต่อไปได้ จนในที่สุดก็พลิกกลับมามีกำไรในปี 2020
5
โดยในช่วงก่อนหน้านั้น ที่ Tesla ยังขาดทุน ก็เพราะว่าบริษัทมีค่าใช้จ่ายทางบัญชี เช่น ค่าเสื่อม และค่าตัดจำหน่าย เป็นมูลค่าที่สูงอยู่
เราจะเห็นได้ว่า กระแสเงินสดเป็นหัวใจสำคัญต่อทุกธุรกิจ
7
ดังนั้น วันนี้เราจะมาดูกันว่าธุรกิจอะไรกัน
ที่สามารถดึงกระแสเงินสดเก็บไว้ในบริษัทได้นาน ๆ
ลงทุนแมนจะเล่าให้ฟัง
1
การที่บริษัทจะดึงกระแสเงินสดให้อยู่กับตัวเองได้นานนั้น มี 2 วิธี ก็คือ
- ขอจ่ายคู่ค้าช้าหน่อย
- ขอเงินลูกค้าไวขึ้น
2
วิธีแรก เรารู้จักกันในชื่อ “Credit Term”
หรือก็คือข้อตกลงระหว่างเรา กับผู้ขายวัตถุดิบให้เรา
2
ธุรกิจที่ใช้วิธีนี้ได้ มักเป็นบริษัทขนาดใหญ่ ที่มีอำนาจในการต่อรองสูง
เช่น บริษัทรถยนต์ก็จะมี Credit Term กับทางซัปพลายเออร์ที่เป็นผู้ผลิตชิ้นส่วน
1
โดยการทำข้อตกลงกับซัปพลายเออร์ ให้ส่งสินค้าไปให้บริษัทใช้ก่อน และบริษัทจะจ่ายเงินค่าสินค้าให้ในภายหลัง ซึ่งระยะเวลาที่ให้เครดิตก็ขึ้นอยู่กับการทำสัญญาต่อกัน
3
วิธีนี้จะทำให้บริษัทเกิดหนี้ ในรูปแบบ “เจ้าหนี้การค้า”
เรียกได้ว่า เป็นหนี้ที่ไม่มีภาระดอกเบี้ยอะไรเลย
หนี้ประเภทนี้ จึงแทบไม่ส่งผลกระทบทางลบต่อบริษัท
5
เมื่อบริษัทขอชะลอการจ่ายคู่ค้าได้แล้ว
อีกวิธีหนึ่ง คือ “การดึงเงินสดจากลูกค้า” เข้าสู่บริษัทให้เร็วขึ้น
ตัวอย่างที่เห็นภาพได้ชัดเจนที่สุดก็คือ ธุรกิจร้านกาแฟสตาร์บัคส์
2
การสร้างกระแสเงินสดของสตาร์บัคส์ จะเป็นการให้ลูกค้าเติมเงินเข้าไปในบัตรก่อน
เพื่อนำมาใช้ซื้อสินค้าในภายหลัง
2
นี่จึงเป็นเหตุผลที่ว่า ทำไมสตาร์บัคส์ ชอบออกโปรโมชันกระตุ้นให้ลูกค้าเติมเงินทิ้งไว้ในบัตรก่อน ซึ่งวิธีนี้จะช่วยเสริมสภาพคล่องให้กับสตาร์บัคส์นั่นเอง
รู้หรือไม่ว่า ในไตรมาสที่ผ่านมา
บริษัทสตาร์บัคส์ มียอดเงินสะสมในบัตรที่ลูกค้าเติมเงินทิ้งไว้ สูงถึง 6.4 หมื่นล้านบาท
ทำให้บริษัทสามารถนำเงินสดไปหมุนเวียนได้ก่อน โดยที่ไม่เสียดอกเบี้ยอะไรเลย แม้แต่บาทเดียว..
12
นอกจากนี้ สายการบินหลายแห่ง โดยเฉพาะกลุ่ม Low Cost ที่กำลังขาดสภาพคล่องในช่วงวิกฤติโควิด 19 ก็ใช้โมเดลธุรกิจในลักษณะเดียวกัน
2
นั่นคือการขายตั๋วเครื่องบินล่วงหน้าให้กับลูกค้าในราคาถูก ซึ่งช่วยให้บริษัท สามารถนำเงินมาหมุนเวียนล่วงหน้าได้
2
ทำให้สายการบินหลายแห่ง แม้จะอยู่ในภาวะขาดทุน แต่ก็ยังคงดำเนินกิจการต่อไปได้ จากกระแสเงินสดที่หมุนเวียนอยู่นั่นเอง
ทั้งนี้ ถ้าหากธุรกิจไหน สามารถที่จะทำได้ทั้งสองทาง ทั้งจ่ายคู่ค้าช้า และเก็บเงินลูกค้าได้ไว ก็จะยิ่งช่วยให้ธุรกิจ นำเงินที่มีไปลงทุนต่อยอดได้อีกมาก
1
โดยธุรกิจประเภทที่ว่านั้น มักจะเป็นบริษัทประเภทค้าปลีก
ที่ขายสินค้าให้กับคนทั่ว ๆ ไป เช่น CPALL เจ้าของร้าน 7-Eleven
2
โดย 7-Eleven นั้น จะให้ซัปพลายเออร์ หรือก็คือเจ้าของแบรนด์ต่าง ๆ นำสินค้ามาวางขายในร้านก่อน แต่จะยังไม่จ่ายค่าสินค้า
2
และเมื่อขายสินค้าให้กับลูกค้า
7-Eleven สามารถเก็บเงินสดจากลูกค้าได้ทันที ซึ่งทำให้ไม่ต้องกังวลว่าลูกหนี้จะเบี้ยว
จึงเป็นเหตุผลหนึ่ง ที่ช่วยให้ 7-Eleven มีเงินสดและสภาพคล่องสำหรับการขยายสาขาได้อย่างรวดเร็ว
5
หากเรามาดูงบการเงินของ CPALL ก็จะเห็นว่า บริษัทมี Cash Cycle หรือก็คือรอบระยะเวลาที่บริษัทได้รับเงินจากลูกค้า เทียบกับรอบระยะเวลาชำระหนี้ให้กับเจ้าหนี้การค้า ติดลบไม่น้อยกว่า 40 วันแทบทุกปี
3
หมายความว่า CPALL นำเงินที่ได้จากลูกค้า มาหมุนเวียนในกิจการได้ก่อน อย่างน้อย 40 วัน ก่อนที่จะจ่ายเงินให้กับซัปพลายเออร์
1
ปัจจุบัน เราก็น่าจะได้เห็นผลิตภัณฑ์ รวมถึงร้านอาหารหรือสปาหลายแห่ง ที่มักให้ลูกค้าเติมเงินเข้าไปก่อน เช่น การขาย Gift Voucher ล่วงหน้าในราคาถูก เพื่อดึงกระแสเงินสดเข้าสู่กิจการ
1
แต่ก็ต้องระวังไว้ว่า บางธุรกิจที่ขายตั๋วล่วงหน้าในราคาถูกเกินไป ปัญหาก็อาจย้อนกลับมาในอนาคตได้เช่นกัน เหมือนกับเรื่องที่เกิดขึ้นกับ ธุรกิจร้านอาหารบุฟเฟต์ หรือธุรกิจฟิตเนส ที่ขายตั๋วล่วงหน้าแล้วไม่สามารถให้บริการลูกค้าได้ในภายหลัง
4
โดยทางเลือกในการบริหารเงินสด ก็มีตั้งแต่การนำเงินไปลงทุนต่อ ฝากธนาคาร ซื้อที่ดิน ซื้อสินทรัพย์ต่าง ๆ เพื่อสร้างผลตอบแทน เข้าซื้อกิจการ หรือแม้กระทั่งนำมาจ่ายเป็นเงินปันผล หรือซื้อหุ้นคืน เพื่อเป็นผลตอบแทนให้กับผู้ถือหุ้นก็ได้
3
นอกจากนี้ เงินสดยังเป็นเหมือนเกราะป้องกันในยามที่บริษัทประสบปัญหา
โดยเฉพาะในช่วงภาวะเศรษฐกิจตกต่ำ ที่ยอดขายลดลง
บริษัทที่ผ่านวิกฤติมาได้ มักจะเป็นบริษัท ที่มีเงินสดมาประคับประคองธุรกิจ
2
ทั้งนี้การบริหารเงินสด ก็ขึ้นอยู่กับรูปแบบของธุรกิจด้วย
การได้เงินสดเข้ามาก่อน เจ้าของธุรกิจก็ต้องรักษา หรือทำประโยชน์จากเงินสดนั้นให้ถูกทาง ซึ่งถ้าหากนำไปใช้จ่ายแบบฟุ่มเฟือย หรือไม่เกิดมูลค่าเพิ่ม มันก็จะนำไปสู่ปัญหาที่ตามมาในอนาคตได้ เพราะอย่าลืมว่า ธุรกิจยังมีภาระที่ต้องใช้คืนแก่ลูกค้าในอนาคต
 
และถ้าหากธุรกิจเกิดปัญหาสภาพคล่องขึ้นมา
ก็อาจส่งผลกระทบในวงกว้าง ทั้งต่อบริษัทเอง ซัปพลายเออร์ และลูกค้าได้เช่นกัน..
1
หนังสือ BRANDING THE NATION หนังสือที่เล่าถึงการสร้างแบรนด์ของแต่ละประเทศที่ทำให้ แต่ละประเทศเป็นแบบทุกวันนี้
เช่น ทำไมเยอรมนีเป็นประเทศแห่งรถยนต์ ทำไมฝรั่งเศสเป็นประเทศแห่งแบรนด์หรู สั่งซื้อเลยที่
1
โฆษณา