21 ก.ย. 2022 เวลา 00:20 • การศึกษา
จะอ่านกี่ช.มดี ขึ้นอยู่กับปัจจัยหลายๆอย่างในตัวน้องเองเป็นหลัก ไม่ใช่อ่านตามเพื่อนๆหรือใครมา บอก การที่น้องตั้งคําถามเช่นนี้น้องยังจับหลักไม่ถูก ยังไม่เข้าใจว่าการเรียนรู้มีหลายรูปแบบ หนังสือก็เป็นรูปแบบหนึ่ง จึงจะมีคนอยู่หลายประเภท ที่ไม่เคยอ่านหนังสือเลยแต่ก็สอบได้เพราะตั้งใจเรียนในห้อง คนที่ไม่สนใจเรียนในห้องแต่อ่านหนังสือแป๊บเดียวก็สอบได้ คนที่สนใจเรียนอ่านหนังสือก็ยังสอบตกเพราะไม่เข้าใจ คนที่ไม่เรียนไม่อ่านหนังสือสอบตกเป็นประจำ
คนที่เรียนบ้างไม่เรียนบ้างใกล้สอบไฟลนก้นจึงอ่านหนังสือหามรุ่งหามค่ำเพราะอ่านไม่ทัน ก็สอบตกอยู่ดี จํานวนช.มที่เราจะอ่านไม่ได้เป็นตัววัดว่าเราจะสอบผ่านหรือไม่ผ่าน ความเข้าใจในเนื้อหาต่างหาก สําคัญที่สุด
หลักการอ่านหนังสือ จึงขึ้นอยู่กับปัจจัยอย่างที่บอก ขึ้นอยู่กับตัวเราว่าเป็นแบบไหน? ชอบแบบไหน? เราฉลาด iq ดีหรือไม่? ทักษะในการอ่านเราดีหรือไม่? จุดประสงค์ก็เพื่อจะทำความเข้าใจในเนื้อหาให้ได้
- ตั้งใจเรียนในห้องให้เข้าใจ เก็บเนื้อหาวิชาครบ อ่านน้อย สอบผ่านสบาย เก็บเนื้อหาในห้อง 70% อ่าน 30%
- ไม่สนใจเรียนเรียนไม่รู้เรื่อง ไม่อ่านเลย สอบตกแน่ๆ 100%
- ไม่สนใจเรียน เรียนไม่รู้เรื่อง แต่อ่านบ้างแต่จะต้องอ่านมากเพื่อที่จะเก็บเนื้อหา 100% และมีแนวโน้มว่าจะสอบตก จะกี่เปอร์เซ็นต์ขึ้นอยู่กับ iq และทักษะในการอ่าน ทักษะดีไม่จำเป็นต้องอ่านเยอะ
- สนใจเรียนบ้าง รู้เรื่องบ้างไม่รู้บ้าง เก็บเนื้อหาในห้องซัก 30% ตั้งใจอ่านอีก 70%
ดังนั้นการถามว่าจะอ่านกี่ช.มดี จึงไม่สามารถตอบได้ เพราะไม่รู้ว่าตัวน้องเป็นแบบใด แต่หลักการสำคัญคือความรู้ ความเข้าใจ ที่สำคัญเปลี่ยนความไม่รู้ ให้เป็นความรู้ให้ได้ จะวิธีไหนก็ตาม การอ่านหนังสือมากๆประเภทหามรุ่งหามค่ำ ถ้าอ่านไม่รู้เรื่องไม่เข้าใจ ก็ไม่มีประโยชน์ วิชาคํานวณไม่ต้องอ่านมากแต่ให้หัดทำโจทย์ เริ่มจากง่ายไปยาก ฝึกทำบ่อยๆ ส่วนวิชาท่องจำ ประเภทต้องจําเยอะๆ ฝึกอ่านแบบจับใจความสำคัญให้ได้ ใช้วิธี shortnote ลงในกระดาษหรือสมุด
ทั้งนี้เก็บความรู้จากคุณครูในห้องให้ได้มากที่สุด จะลดการอ่านลงไปได้เยอะ หาเพื่อนฝูงเก่งๆมาช่วยติว ไปติวเสริมข้างนอก ถ้ารู้ว่าตัวเองหัวอ่อน ยอมเสียเงินแต่จะคุ้มค่า พี่ติวเตอร์มีเทคนิคการสอนที่เข้าใจง่ายกว่าในห้องเรียน มีเอกสาร หนังสือที่ง่ายในการอ่าน มีสรุปเนื้อหาวิชา concept ช่วยลดเวลาในการอ่าน
ทักษะในการอ่านหนังสือ ประเภทหัวอ่อน หัวไม่ดี จะต้องมีการวางแผนการอ่านประกอบ ไม่ใช่สะสมความไม่รู้เรื่องแล้วมาอ่านใกล้สอบ วางแผนเนิ่นๆตั้งแต่ตอนเปิดเทอม เรียนในห้องก็กลับมาทบทวนที่บ้าน วางแผนการอ่านใน plan diary ว่าอาทิตย์จะเก็บ บทที่ 1-3 อาทิตย์ต่อไป บทที่ 4-6 อาทิตย์สุดท้ายอ่านสรุป ฝึกทำข้อสอบ หมั่นฝึกอ่านฝึกทำแบบนี้ให้เป็นนิสัย สอบผ่านได้สบาย ขออวยพรให้สอบผ่านครับ
โฆษณา