21 ก.ย. 2022 เวลา 02:33 • ประวัติศาสตร์
ป้อมปราการที่เมืองเบรียสต์ สะท้อนประวัติศาสตร์ความขัดแย้งในยุโรปตะวันออกจากอดีตสู่ปัจจุบันตอนที่ 1
ขอย้อนประวัติเมือง Brest เบรสต์(หรือที่คนรัสเซียออกเสียงว่า เบรียสต์ )
ตั้งแต่อดีตไปจนถึงช่วงปี 1939 ก่อนที่ทหารเยอรมันจะเปิดยุทธการบาบารอสซาบุกโซเวียต
เมือง Brest เป็นเมืองเก่าแก่ตั้งอยู่ริมแม่น้ำ Bug ถูกก่อตั้งขึ้นโดยชาวสลาฟ
พวกต้นตระกูลของชาวโปล(โปแลนด์) และพวกรุสซึ่งเป็นต้นตระกูลของชาวรัสเซียในปัจจุบัน พยายามขยายอำนาจของตนมาครอบครองเมืองนี้ (จริงๆชาวโปลและชาวรุสทั้งสองก็คือชาวสลาฟเหมือนกัน)
การสู้รบขยายอำนาจของทั้งสองฝ่ายหยุดลงชั่วคราวในปี 1241 เมื่อนักรบมองโกลเข้ามาโจมตียุโรป เพราะอาณาจักรของชาวรุสและโปลต่างถูกมองโกลโจมตีและปกครอง
ทั้งสองรัฐต้องส่งบรรณาการให้กับข่านมองโกล
ในช่วงดังกล่าวเมือง Brest อยู่ภายใต้การดูแลของชาวโปลมาโดยตลอด จวบจนมองโกลสิ้นอำนาจ
มีการสถาปนาดินแดน Grand Duchy of Lithuania และในภายหลังมีการรวมดินแดนของโปแลนด์เข้ากับลิทัวเนียกลายเป็นเครือจักรภพโปแลนด์และลิทัวเนีย Polish–Lithuanian Commonwealth ในช่วงเวลานี้เมือง Brest ก็อยู่ใต้อำนาจของชาวโปลตลอดเวลา
ในวัฒนาการทางดินแดนและการปกครองพื้นที่แถบนี้นอกจากโปแลนด์แล้วรัสเซียก็มีอำนาจกล้าแข็งขึ้นอย่างโดดเด่นตามลำดับเช่นกัน
จวบจนในปี 1795 เครือจักรภพโปแลนด์และลิทัวเนียร์เสื่อมอำนาจลงอย่างมาก
มหาอำนาจอื่นๆที่อยู่รายรอบจึงเข้ามาตัดแผ่นดินของโปแลนด์และลิทัวเนียออก แล้วแบ่งกันเข้ายึดครอง
โดยมีจักรวรรดิรัสเซียเข้าครอบครองพื้นที่ฝั่งตะวันออกทั้งหมด พื้นที่ปัจจุบันของประเทศยูเครนฝั่งตะวันตก เบราลุสฝั่งตะวันตก พื้นที่ของลิทัวเนีย ลัตเวีย เอสโตเนีย
โดยมีออสเตรียและปรัสเซีย เข้ามาแบ่งดินแดนทางทิศใต้และตะวันตกไป
ทำให้เครือจักรภพโปแลนด์และลิทัวเนียสิ้นชาติไปครั้งแรก
เมือง Brest ก็อยู่ภายใต้การดูแลของจักรวรรดิรัสเซียและเป็นเมืองหน้าด่านทางตะวันตกสุดของจักรวรรดิ
เพื่อเป็นการป้องกันรักษาชายแดนทางตะวันตก จักรวรรดิรัสเซียจึงได้สร้างป้อมปราการขึ้นในบริเวณที่เคยเป็นปราสาทเก่าของขุนนางลิทัวเนีย
ซึ่งบริเวณนั้นอยู่บริเวณที่แม่น้ำ Bug และแม่น้ำ Mukhavets ไหลมาบรรจบกัน
โดยป้อมปราการนี้มีพัฒนาและขยายขนาด มีการขุดคูทำกำแพงให้เป็นรูปแบบดาวแฉก มีปราการหลายชั้น มีคูน้ำล้อมรอบ
ก่อนปี 1914 จักรวรรดิรัสเซียนั้นยิ่งใหญ่น่าเกรงขาม ดินแดนของ ฟินแลนด์ ,เอสโตเนีย ,ลัตเวีย, ลิทัวเนีย ,เบลารุส ,ยูเครน ,โปแลนด์ ในปัจจุบันนั้น เมื่อย้อนไปในปี 1914 ทั้งหมดล้วนแล้วอยู่ภายใต้การปกครองของจักรวรรดิรัสเซียทั้งสิ้น
เมื่อสงครามโลกครั้งที่หนึ่งระเบิดขึ้น รัสเซียซึ่งตอนนั้นยังมีระบอบกษัตริย์ ได้เข้าร่วมกับฝ่ายสัมพันธมิตรที่มี อังกฤษ ฝรั่งเศสเป็นชาติพันธมิตร
เข้าต่อสู้กับฝ่ายมหาอำนาจกลางซึ่งมีเยอรมัน ออสเตรีย-ฮังการี และ ออตโตมัน เป็นอีกขั้วหนึ่ง
ในสงครามโลกครั้งที่ 1 แนวรบตะวันออก ทหารเยอรมันสามารถยึดพื้นที่หลายส่วนของจักรวรรดิรัสเซียได้
ในปี 1915 เมืองแรกๆที่รัสเซียเสียให้กับฝ่ายเยอรมันคือเมือง Brest
ในระหว่างสงครามโลกครั้งที่ 1 มีการต่อสู้กันอย่างดุเดือดผลัดกันรุกและรับในหลายสมรภูมิของทั้งสองฝ่าย แต่ฝ่ายเยอรมันได้เปรียบและสามารถยึดครองพื้นที่ของรัสเซียได้หลายส่วน
ประเทศรัสเซียเองก็มีปัญหาภายใน
ความนิยมของพระเจ้าซาร์ในหมู่ประชาชนชาวรัสเซียเสื่อมถอยลงมาก
เศรษฐกิจย่ำแย่เนื่องจากสงคราม ข้าวของแพง ค่าแรงต่ำ ตัวพระเจ้าซาร์ก็ไม่สามารถแก้ไขปัญหานี้ได้
ในท้ายที่สุดประชาชนก็ลุกฮือขึ้นต่อต้านจนพระเจ้าซาร์ต้องสละราชสมบัติ และเปลี่ยนแปลงการปกครอง ในปี 1917
รัสเซียจึงต้องมีการจัดตั้งรัฐบาลเฉพาะกาลเพื่อขึ้นมาดูแลความสงบเรียบร้อยในการเปลี่ยนผ่านอำนาจ
ในปี 1918 ฝ่ายคอมมิวนิสต์นำโดย
วลาดีมีร์ เลนิน สามารถยึดอำนาจและกลายเป็นตัวแทนรัฐบาลของประเทศรัสเซียได้สำเร็จ
ในภาวะที่กดดันทั้งศึกภายนอกที่ต้องทำสงครามกับฝ่ายเยอรมันนี ซึ่งขณะนั้นทหารเยอรมันกำลังรุกเข้ามาใกล้กับเมืองหลวงของรัสเซียมาเรื่อยๆ
และยังมีศึกภายในที่กำลังจะก่อตัวขึ้นที่จะกลายเป็นสงครามกลางเมืองภายในรัสเซียเอง
รัฐบาลบอลเชวิคของเลนิน จึงได้ลงนามในข้อตกลงสันติภาพกับเยอรมันนี เพื่อดึงประเทศรัสเซียออกจากสงครามโลกครั้งที่ 1
ในชื่อสนธิสัญญาสันติภาพ Treaty of Brest-Litovsk ที่ลงนามที่ป้อม Brest แห่งนี้
ในข้อตกลงนี้เห็นได้ชัดว่า ฝ่ายรัสเซียเสียเปรียบอย่างมาก แต่เพื่อความอยู่รอดของเลนินและพลพรรคบอลเชวิค ทำให้เลนินจำใจต้องยอมลงนาม
โดยในสัญญาสันติภาพนี้ระบุว่า รัสเซียต้องสละสิทธิการปกครองดินแดน ฟินแลนด์ ลิทัวเนีย ลัตเวีย เอสโตเนีย โปแลนด์ ยูเครน และยังต้องจ่ายค่าปฏิกรรมสงครามกว่า 300 ล้านมาร์คให้แก่เยอรมันนี
รวมไปจนถึงคืนดินแดนที่รัสเซียได้จากการรบที่มีชัยเหนือออตโตมัน (ตรุเคีย) ในปี 1878 นั้นก็คือดินแดนบางส่วนในแถบเทือกเขาคอเคซัส
สนธิสัญญานี้ส่งผลให้รัสเซียเสียดินแดนทางตะวันตกและทิศใต้ไปจำนวนมากเพื่อแลกกับการยุติสงครามภายนอก และบอลเชวิกหรือกลุ่มคอมมิวนิสต์จะได้มีเวลามาจัดการปัญหาภายในประเทศ
จนภายหลังได้เกิดสงครามกลางเมืองรัสเซียขึ้นในปี 1918-1922 โดยฝ่ายคอมมิวนิสต์ได้รับชัยชนะ และก่อตั้งโซเวียตรัสเซียขึ้น ซึ่งเป็นชาติแรกในโลกที่มีระบอบการปกครองแบบคอมมิวนิสต์
หลังจากสงครามโลกครั้งที่หนึ่งสิ้นสุดลงในปลายปี 1918 ผลคือเยอรมันนีพ่ายแพ้
รัฐโปแลนด์จึงถูกสถาปนาขึ้นมาเป็นประเทศอีกครั้งในดินแดนซึ่งครั้งหนึ่งเคยเป็นของโปแลนด์เอง และถูกจักรวรรดิรัสเซียและปรัสเซีย ออสเตรีย ตัดแบ่งปกครอง ในช่วงปี 1795
และการพ่ายแพ้ของเยอรมันนีทำให้สนธิสัญญาที่ทำให้โซเวียตรัสเซียเสียดินแดน ฟินแลนด์ ลัตเวีย ลิทัวเนีย เอสโตเนีย พื้นที่ทางตะวันตกของเบราลุสและยูเครนถูกยกเลิกไป
ทางเลนินผู้นำโซเวียตรัสเซียเอง มองว่าดินแดนสมัยจักรวรรดิรัสเซียที่เสียไปในช่วงสงครามโลกครั้งที่ 1 ต้องกลับมาเป็นของโซเวียตรัสเซีย เพราะโซเวียตรัสเซียคือผู้ยึดอำนาจการปกครองมาจากจักรวรรดิรัสเซีย จึงมีสิทธิอันชอบธรรมในการเอาดินแดนนี้คืนมา
การเกิดขึ้นของรัฐโปแลนด์และความมุ่งมั่นในการทวงคืนดินแดนของรัสเซียจึงนำไปสู่สงครามระหว่างสองฝ่าย ในชื่อสงครามโปแลนด์ - รัสเซีย 1919-1921
ในขณะนั้นฝ่ายโซเวียตรัสเซียเองก็ติดพันกับการทำสงครามกลางเมืองภายใน จึงไม่สามารถทำสงครามได้เต็มรูปแบบ ช่วงท้ายสงครามก็เพลี่ยงพล้ำ
โปแลนด์เองก็เป็นชาติที่พึ่งเกิดใหม่ เหนื่อยล้ากับสงครามและการที่ต้องตกอยู่ภายใต้อำนาจของมหาอำนาจอื่น ๆ มานาน
ทั้งสองฝ่ายจึงเจรจาและลงนามในสนธิสัญญา Riga ในการแบ่งเขตแดนระหว่างโปแลนด์และโซเวียตรัสเซีย
ทำให้พื้นที่บางส่วนทางตะวันตกของเบลารุสและยูเครนในปัจจุบันอยู่ภายใต้การปกครองของโปแลนด์ ส่วนภาคตะวันออกอยู่ภายใต้การปกครองของโซเวียต
ในช่วงต้นของสงครามโลกครั้งที่สองในยุโรป ในปี 1939
เยอรมันนีและโซเวียตมีข้อตกลงว่าจะไม่มีการรุกรานกันและกัน Non aggression pact. ซึ่งในสัญญานี้มีข้อตกลงที่เกี่ยวข้องกับการแบ่งประเทศโปแลนด์ออกเป็นสองส่วน
โดยให้ทางตะวันตกเป็นของเยอรมันนีเข้าปกครอง ส่วนฝั่งตะวันออกเป็นของโซเวียตเข้าปกครอง
1 กันยายน 1939
ทหารเยอรมันบุกโปแลนด์ทางตะวันออก รุกเข้ายึดกรุงวอร์ซอและพื้นที่อื่นๆ ต่อมาก็รุกข้ามแม่น้ำ Bug เข้ายึดป้อม Brest และรุกไปทางตะวันออก
ส่วนกองทัพโซเวียตก็รุกเข้าโปแลนด์ฝั่งตะวันออกในวันที่ 17 กันยายน 1939
ในข้อตกลงระหว่างเยอรมันนีกับโซเวียตนั้นจะใช้แม่น้ำ Bug เป็นเส้นแบ่งเขตแดน โดยฝั่งตะวันออกจะเป็นของโซเวียต ซึ่งที่ตั้งของป้อม Brest อยู่ในเขตแดนใหม่ของโซเวียตเช่นกัน
ทหารเยอรมันที่เข้ายึดป้อมเบรสได้จากทหารโปแลนด์จึงมีการส่งมอบเมือง Brest และตัวป้อมปราการนี้ให้กับทหารโซเวียตในวันที่ 22 กันยายน 1939
โดยมีพิธีสวนสนามส่งและรับมอบป้อมเบรสต์ของทั้งสองฝ่ายอย่างเป็นทางการ
การสู้รบในโปแลนด์สิ้นสุดลงในวันที่ 8 ตุลาคม 1939
ทำให้โซเวียตได้ดินแดนที่เคยเป็นของจักรวรรดิรัสเซียกลับคืนมาจากโปแลนด์แทบทั้งหมด ไม่ว่าจะเป็นดินแดนทางตะวันตกของเบราลุส และยูเครน
ผมมองว่าผู้นำโซเวียตเองไม่ว่าจะเลนิน หรือสตาลิน ล้วนแล้วแต่มองในมุมเดียวกันที่ว่า ดินแดนของจักรวรรดิรัสเซียในอดีตก่อนสงครามโลกครั้งที่ 1 นั้น โซเวียตรัสเซียต้องทำทุกอย่างเพื่อให้ได้ดินแดนเหล่านี้กลับคืนมา
จะเห็นได้ว่าหลังจากที่ยึดคืนดินแดนตะวันตกของยูเครนและเบราลุสได้แล้ว
ผู้นำโซเวียตต่อจากเลนินก็คือ สตาลิน ได้ทำการส่งทหารบุกฟินแลนด์ในปี 1939 แต่ก็ไม่ประสบความสำเร็จ (ฟินด์แลนเคยเป็นส่วนหนึ่งของจักรวรรดิรัสเซีย)
ตลอดจนในปี 1940 โซเวียตรุกเข้าครองดินแดน เอสโตเนีย ลัตเวีย ลิทัวเนีย และผนวกดินแดนดังกล่าวเป็นส่วนหนึ่งของสหภาพโซเวียต
(เอสโตเนีย ลัตเวีย ลิทัวเนีย เคยเป็นส่วนหนึ่งของจักรวรรดิรัสเซีย)
ในวันที่ 22 มิถุนายน ปี 1941 เมื่อเยอรมันฉีกสัญญาและส่งทหารบุกโซเวียต ป้อมเบรสแห่งนี้อีกเช่นเคยจะกลายเป็นสมรภูมิที่ดุเดือดที่สุดในวันแรกๆของสงครามระหว่างทั้งสองฝ่าย ในเรื่องนี้จะขอเล่าในตอนต่อไป
จะเห็นได้ว่าการเมืองในยุโรปตั้งแต่อดีตจนถึงปัจจุบันนั้น เมืองบางเมืองหรือแม้กระทั่งประเทศบางประเทศ มีการเปลี่ยนมือผู้ปกครองอยู่ตลอดเวลา ขึ้นอยู่กับว่า ชาติใดมีกำลังอำนาจทางทหารมากกว่ากัน
และเหตุการณ์ในอดีตจะทำให้เรารู้ว่าทำไมปัจจุบันสถานการณ์ระหว่างรัสเซีย ยูเครน ถึงเป็นเช่นนี้
คนยูเครนตะวันออกทำไมถึงฝักใฝ่รัสเซีย เพราะชาวยูเครนฝั่งตะวันออกแถบจะตลอดระยะเวลาที่ผ่านมาพวกเขาก็อยู่ภายใต้การปกครองของรัสเซียมาโดยตลอด
ส่วนยูเครนฝั่งตะวันตกนั้นส่วนมากจะอยู่ภายใต้การปกครองของโปแลนด์ วัฒนธรรม ภาษา แนวคิด ประเพณีจึงแตกต่างจากชาวรัสเซีย
และเราจะได้เห็นความเป็นปฎิปักษ์ระหว่างโปแลนด์+รัฐในแถบทะเลบอลติก และอีกฝ่ายคือรัสเซียที่เป็นคู่แค้นกันมาโดยตลอดจนถึงปัจจุบัน
โฆษณา