21 ก.ย. 2022 เวลา 08:48
จะรับมือกับสึนามิทางธุรกิจ ได้อย่างไร?
3
ในชีวิตจริง ปัญหาทางธุรกิจ ไม่ได้เข้าแถวเรียงเดี่ยวมาให้ผู้บริหารแก้ทีละข้อ โลกธุรกิจไม่ได้ง่ายอย่างงั้น ในความเป็นจริงแล้ว ปัญหาเหล่านั้น จะถาโถมเข้าพร้อมๆกัน ราวกับคลื่นสึนามิ ลูกที่หนึ่งก็มาแล้ว ระลอกที่สองก็มาแล้ว แล้วก็โจมตีซัดสาดเข้ามาตลอดเวลา โชคไม่ดีที่หลายธุรกิจ หากไม่สามารถจะรับมือได้ ก็ต้องถูกคลื่นสึนามิ ซัดจนล้มหายตายจากไป
24
ในบทความนี้ จะแบ่งปันแนวคิด ในการที่ผู้บริหารจะรับมือกับสึนามิทางธุรกิจให้ลุล่วงไปได้อย่างไร ในท่ามกลางสึนามิของปัญหา ที่ถาโถมเข้ามา ประการแรกผู้บริหาร หรือผู้นําองค์กร ควรจะมีทักษะที่จะพิจารณา และตระหนักถึงปัญหาเหล่านั้น ว่ามีความสัมพันธ์เชื่อมโยงกันอยู่อย่างไร ภายใต้ภาพลวงตาของคลื่นสึนามิขนาดมหึมา
2
ในการนี้ ผู้บริหารควรเข้าใจว่าประเด็นเหล่านี้เป็น เน็ตเวิร์กของปัญหา ที่มีความเชื่อมโยงกัน ซึ่งถ้าเข้าใจถึงประเด็นนี้แล้ว ลำดับต่อไป ผู้บริหาร ก็ต้องจัดแจง และ แยกแยะกลุ่มของปัญหาให้เป็นระบบให้ได้ ยกตัวอย่างเช่นว่า ปัญหาในการผลิต ปัญหาทางโอเปอร์เรชั่น ต่างๆนั้นก็อาจเชื่อมโยงมาจากปัญหาของการวางแผนการผลิต ต่อไปยังปัญหาของการจัดซื้อ และย้อนไปถึง เรื่อง Demand Forecasting เป็นต้น ขอให้พิจารณาตัวอย่าง โมเดลโดย Deloitte ประกอบความเข้าใจ
2
ถ้าเราสามารถเข้าใจ และมองความสัมพันธ์เชิงระบบ ของสารพันปัญหาเหล่านี้ได้ เราก็จะสามารถ ย่อยปัญหาที่เป็นก้อนใหญ่ ที่เปรียบเสมือนสึนามิ ให้เป็นชิ้นย่อยๆได้ แล้วค่อยๆแก้ทีละสเต็ป ดังนี้แล้ว เราก็จะสามารถจัดการกับอย่างไม่ยากจนเกินไปนัก
2
ผู้บริหารที่เข้าใจวิธีการรับมือกับปัญหาที่ซัดสาดมาแบบสึนามิ เข้าใจเน็ตเวิร์กของปัญหาและจัดการในเชิงระบบได้ มาถึงจุดนี้ก็จะสามารถจัดลําดับความสําคัญ และก็จะสามารถมอบหมายให้กับทีมงานแก้ปัญหาในลําดับต่อไป โดยใช้เครื่องมือบริหารจัดการขั้นพื้นฐานได้อย่างมีประสิทธิภาพ อย่างเช่น การประเมินระหว่าง ความเร่งด่วนและความสําคัญ (Priority Matrix)
2
เมื่อเราจัดงานทั้งหมดอยู่ในสี่ควอตแรนซ์ ตามภาพประกอบด้านบน (Priority Matrix) ก็จะแยกแยะได้ดังนี้
2
- งานที่เร่งด่วนและสําคัญ (Important & Urgent) ผู้บริหารก็ควรจะต้องตัดสินใจแก้ไขทันที
- งานที่ไม่เร่งด่วนแต่สําคัญ (Important & Not Urgent) ก็ควรพิจารณา วางแผน เตรียมรับมือตั้งแต่เนิ่นๆ
- ส่วนงานที่ไม่สําคัญหรือสําคัญน้อยกว่า (Not, and Less Important) ก็อาจจะพิจารณา มอบหมายให้ผู้ใต้บังคับบัญชา ไปดําเนินการแทน หรืออาจจะตัดทิ้งไปได้เลย
ทีนี้อยากจะให้แง่คิดว่าจาก matrix นี้ ถ้างานส่วนใหญ่จัดอยู่ในโหมดที่เร่งด่วน แสดงว่าธุรกิจกําลังอยู่ใน Fire Fighting Mode เป็นภาวะกระเสือกกระสน เป็น Reactive mode ที่ต้องคอยรับมือ ไล่แก้ปัญหาไปวันต่อวัน
1
ซึ่งในสภานการณ์เช่นนี้ ผู้บริหาร ควรวางแผนระยะยาว ที่จะเขยิบให้งานส่วนใหญ่ ที่เคยอยู่ในหมวด สําคัญและเร่งด่วน (Important & Urgent) ค่อยๆ ย้ายไปอยู่ในหมวดที่ สําคัญแต่ไม่เร่งด่วน (Important & Not Urgent) ซึ่งหมายความว่า ธุรกิจก็จะมีความ proactive มากขึ้น ซึ่งจะทําให้ทีมงาน ได้มีเวลาวางแผน คิดการล่วงหน้า ไม่ต้องกระหึดกระหอบ คอยไล่งับ คอยไล่แก้ปัญหาเฉพาะหน้าตลอดเวลา และขวัญกำลังใจของทีมงานก็จะดีขึ้นด้วย
2
อย่างไรก็แล้วแต่ กับดัก (Error Trap) ที่ควรระวังก็คือ งานที่ไม่สําคัญแต่เร่งด่วน (Not Important & Urgent) ผู้บริหารควรจะพิจารณาดูว่า ทําไมถึงได้มีงานที่ไม่สําคัญแต่เร่งด่วน? จําเป็นต้องมีไหม? ตัดออกไปได้ไหม? เพราะมันเป็นการสิ้นเปลืองทรัพยากรโดยไม่จําเป็น
2
ด้วยหลักคิด ที่กล่าวมาข้างต้น จะเป็นแนวทางให้ผู้บริหาร และผู้นำองค์กร สามารถช่วยทีมงาน รับมือกับปัญหามากมาย ได้อย่างเป็นระบบ มีประสิทธิภาพ และช่วยสร้างขวัญกำลังใจให้กับทีมงาน Yes, We Can!
3
บทความโดย พฤฒิพงษ์ เชิดเกียรติกุล

ดูเพิ่มเติมในซีรีส์

โฆษณา