22 ก.ย. 2022 เวลา 04:10 • สุขภาพ
องค์การอนามัยโลก (WHO) มีการรับรองและระบุโรคที่สามารถรักษาได้ด้วย "การฝังเข็ม" รวมทั้งยังมีอีกหลายงานวิจัยพบว่า โรคบางโรคสามารถรักษาด้วยการฝังเข็มซึ่งสามารถให้ผลการรักษาที่ดีเทียบเท่า หรือ มากกว่าการใช้ยา ซึ่งมีความปลอดภัยและไม่ต้องเสี่ยงต่อผลข้างเคียงจากยา
แล้วโรคที่การฝังเข็มได้รับการรับรองจากองค์การอนามัยโลก (WHO) มีอะไรบ้าง?
  • โรคระบบทางเดินหายใจส่วนบน : ไซนัสเฉียบพลัน, โรคจมูกอักเสบจากภูมิแพ้, ไข้หวัดและไข้หวัดใหญ่, ต่อมทอนซิลอักเสบเฉียบพลัน
  • โรคระบบทางเดินหายใจ : หลอดลมอักเสบเฉียบพลัน, โรคหอบหืด (ได้ผลดีในเด็ก)
  • โรคตา : เยื่อบุตาอักเสบเฉียบพลัน, สายตาสั้น (ในเด็ก), ต้อกระจก (ไม่มีภาวะแทรกซ้อน)
  • โรคปาก : ปวดฟัน, อาการปวดฟันหลังจากถอนฟัน, เหงือกอักเสบ, คออักเสบแบบเฉียบพลันและแบบเรื้อรัง
  • โรคระบบทางเดินอาหาร : กรดไหลย้อน, อาการสะอึก, กระเพาะอาหารอักเสบแบบเฉียบพลันและแบบเรื้อรัง, กรดเกินในกระเพาะอาหาร, แผลที่เยื่อบุลำไส้เล็กชนิดเรื้อรัง (ใช้บรรเทาอาการเจ็บปวด), แผลที่เยื่อบุลำไส้เล็กชนิดเฉียบพลัน (ไม่มีภาวะแทรกซ้อน), ลำไส้ใหญ่อักเสบชนิดเฉียบพลันและชนิดเรื้อรัง, โรคบิดเฉียบพลัน, ท้องผูก, ท้องเสีย, ภาวะลำไส้อืด
  • โรคทางระบบประสาทและกล้ามเนื้อ : ปวดศีรษะและไมเกรน, โรคปวดเส้นประสาทใบหน้า, อัมพาตใบหน้า (ระยะแรก ภายใน 3-6 เดือน), อัมพาต, โรคโปลิโอ (ระยะแรก ภายใน 6 เดือน), โรคน้ำในหูไม่เท่ากัน, โรคกระเพาะปัสสาวะทำงานผิดปกติ, ปัสสาวะรดที่นอน, อาการปวดเส้นประสาทระหว่างซี่โครง, ออฟฟิศซินโดรม, ภาวะข้อไหล่ติด, อาการปวดร้าวลงขา, ปวดหลังส่วนล่าง, ข้อเข่าเสื่อม, ภาวะการกดทับเส้นประสาทบริเวณข้อมือ, อาการปวดหลังและเข่า, โรคไฟโบรมัยอัลเจีย, กลุ่มอาการอ่อนเพลียเรื้อรัง, การบาดเจ็บจากกีฬา
  • โรคทางระบบสืบพันธุ์และโรคทางสูติฯ-นารีเวช : กลุ่มอาการก่อนมีประจำเดือน (PMS), ภาวะปวดประจำเดือน, ภาวะเลือดออกผิดปกติ และเลือดออกกะปริดกะปรอยที่โพรงมดลูก, ภาวะขาดประจำเดือน, ภาวะเสื่อมสมรรถภาพทางเพศ, ภาวะการมีบุตรยาก, ภาวะกลั้นปัสสาวะไม่ได้, โรคต่อมลูกหมากโต
1
  • ปัญหาความผิดปกติทางอารมณ์ : โรคเครียด, โรควิตกกังวล, โรคซึมเศร้า, โรคนอนไม่หลับ
ทั้งนี้ การฝังเข็มสามารถรักษาโรคได้หลากหลาย เป็นทางเลือกสำหรับผู้ที่เคยรักษาด้วยวิธีอื่นๆแล้วไม่ได้ผล เนื่องจากการแพทย์แผนจีนไม่ได้รักษาแบบแยกการรักษาตามอาการ หรือโรคต่างๆ แต่จะมุ่งเน้นไปทางการรักษาที่ต้นเหตุควบคู่ไปกับอาการ ซึ่งเป็นการรักษาแบบองค์รวม มากกว่ารักษาแค่ตัวโรค
ที่มา : NIH, Acupuncture, Nov. 3–5, 1997, Vol. 15, No. 52. World Health Organization. Viewpoint on Acupuncture. Geneva, Switzerland: World Health Organization, 1979.
บทความโดย แพทย์จีนจุฑารัตน์ บุญสุธารมณ์ แพทย์แผนจีนประจำโรงพยาบาลเอกชัย
สอบถามข้อมูลเพิ่มเติมที่แผนกแพทย์แผนจีน รพ.เอกชัย 🏥
☎️โทร.034-417999 หรือ 1715 ต่อ 201
โฆษณา