22 ก.ย. 2022 เวลา 12:00 • ประวัติศาสตร์
#เหตุใดสตรีราชวงศ์จึงต้องให้กำเกิดบุตรต่อหน้าฝูงชนจำนวนมากเป็นเวลาหลายศตวรรษ
คุณคิดว่าการประสูติของราชวงศ์ในอดีตเป็นปรากฏการณ์สุดมหัศจรรย์หรือไม่? อ่านเรื่องราวต่อไปนี้แล้วคุณจะเข้าใจ
The birth of Louis XIII. (Credit: Photo 12/UIG/Getty Images)
ในปี 1661 สมเด็จพระราชินีมารี-เทเรเซ พระมเหสีของกษัตริย์หลุยส์ที่ 14แห่งฝรั่งเศส พระองค์เกษียณอายุราชการในสเปน ซึ่งเป็นช่วงที่สมเด็จพระราชินีมารี-เทเรเซใกล้ถึงเวลาให้กำหนดบุตรธิดา เมื่ออาการเจ็บท้องปรากฏขึ้นเป็นพัก ๆ ห้องในวังอันเงียบสงบของพระองค์ก็ยิ่งไร้ซึ่งคนเดินไปมา เนื่องจากพระราชินีเธอต้องถูกกักตัวตามพิธีการดังเดิมนานหลายวันก่อนให้กำเนิดบุตรธิดา
ในอดีตกล่าวได้ว่าการประสูติของราชวงศ์ถือเป็นสิ่งสำคัญมากจนต้องมีพยานมาก ๆ ดังนั้นเมื่อราชวงศ์พระองค์ใหม่จะประสูตร พระราชินีจึงต้องทำคลอดต่อหน้า เจ้าหญิง ดยุค เคาน์เตส และฝูงชมจำนวนมาก
เพื่อรับรองว่าทารกที่ยังมีชีวิตอยู่จะไม่ได้ถูกแทนที่ด้วยเด็กที่ตายไปแล้ว หรือทารกหญิงในราชวงศ์ไม่ได้ถูกสับเปลี่ยนไปเป็นทารกชายตามความประสงค์ของผู้ไม่หวังดี แต่ถึงอย่างนั้นเรื่องนี้ก็สร้างความกลัวและความทุกข์ทรมานในระหว่างการคลอดบุตรกับสตรีในราชวงศ์เสมอมา
1
อารมณ์ที่หนักอึก (Queen Marie-Therese, Spanish wife of King Louis XIV of France. Hulton Archive/Getty Images)
ในอีกด้านหนึ่ง ภายนอกพระราชวังจะเต็มไปด้วยเสียงเพลงบรรเลงอย่างคึกครื้น โดยมีเหล่านักแสดงและนักดนตรีชาวสเปน มาเต้นรำอย่างเริงร่า ด้วยเสียงพิณ กีตาร์ และ Castanets เพื่อให้กำลังใจแด่ สมเด็จพระราชินีมารี-เทเรเซ
นอกจากนี้บทเพลงที่บรรเลงยังมีความเกี่ยวข้องกับบ้านเกิดของพระนางด้วย” Antonia Fraser เขียนในLove and Louis XIV “หวังว่าเสียงภาษาสเปนเหล่านี้จะหันเหความสนใจของราชินีผู้น่าสงสาร ที่ยังคงร้องไห้เป็นภาษาบ้านเกิดว่า “ฉันไม่ต้องการที่จะให้กำเนิดบุตรธิดา ฉันอยากตาย” ได้
ความกลัวในการคลอดบุตรนี้เป็นการทดสอบที่น่ากลัวและอันตรายมาก ยิ่งในยุคก่อนที่การแพทย์จะมีการพัฒนาเหมือนดังเช่นในปัจจุบัน อีกทั้งการติดเชื้อยังถือเป็นเรื่องปกติ ทารก หนึ่งในสาม หลังคลอดของฝรั่งเศส จะเสียชีวิตก่อนอายุครบหนึ่งขวบ
ภัยเงียบ (Queen Marie-Therese, Spanish wife of King Louis XIV of France. Hulton Archive/Getty Images)
หลังจากการทนทุกข์ทรมาน 12 ชั่วโมง ในที่สุดพระราชินีก็ทรงให้กำเนิดเด็กชายที่แข็งแรง ซึ่งมีพระนามว่าหลุยส์ เดอ ฟรองซ์ ข้าราชบริพารในห้องชั้นในต่างส่งสัญญาณถึงเพศของทารกต่อผู้ที่อยู่ในห้องชั้นนอกด้วยการเหวี่ยงหมวกขึ้นไปในอากาศ (ถ้าทารกเป็นผู้หญิงจะแสดงท่าไขว้แขน) ขณะเดียวกันพระเจ้าหลุยส์ที่ 14 "ราชาแห่งดวงอาทิตย์" อันรุ่งโรจน์ยังตะโกนออกไปนอกหน้าต่างว่า "ราชินีได้ให้กำเนิดเด็กชาย!"
1
นอกจากความกดดันเรื่องคลอดบุตรแล้ว สำหรับผู้หญิงในราชวงศ์หลายคน ยังถูกกดดันให้มีทายาททันทีที่การเฉลิมฉลองงานแต่งงานสิ้นสุดลง แม่ว่าสตรีในราชวงค์หลายคนจะพยายามคิดหาหนทางเพื่อหลีกเลี่ยงหรือลดการจัดพิธีคลอดบุตรแบบเดิมนี้ลง แต่ถึงอย่างนั้นก็ไม่เป็นผล
  • ในปี ค.ศ. 1754 แคทเธอรีนมหาราช แห่งรัสเซีย ใกล้ถึงวันครบกำหนดการประสูตรของเชื้อพระวงศ์พระองศ์ใหม่ พระนางจึงถูกจักรพรรดินีเอลิซาเบธแห่งรัสเซียกักขังไว้ในห้องเล็ก ๆ เป็นเวลาหลายสัปดาห์ ในพระราชวังฤดูร้อน "ที่แสนโดดเดี่ยว และไร้ซึ่งมิตรสหาย" โรเบิร์ต เค. แมสซีเขียนไว้ใน แคทเธอรีนมหาราช
ชิงอำนาจ (Catherine the Great. Fine Art Images/Heritage Images/Getty Images & Leemage/Corbis/Getty Images)
และทันทีที่แคทเธอรีน คลอดพอลลูกชาย ออกมาด้วยวิธีคลอดบุตรที่แสนน่ากลัวและโดดเดียว จักรพรรดินีเอลิซาเบธก็พาทายาทคนใหม่ออกไป แคทเธอรีนที่นอนตัวสั่นหลังคลอดอยู่บนพื้นนานกว่าสามชั่วโมง
แม้ในที่สุดข้าหลวงก็ได้นำฝูกนอนมาให้ แต่เธอก็ถูกทิ้งไว้ในห้องนั้นนานหลายเดือน และไม่มีโอกาสได้พบหน้าลูกของเธออีกเลย นับแต่นั้นแคทเธอรีนจึงวางแผนเพื่อแก้แค้น แนวคิดหยุดทำคลอดต่อหน้าฝูงชนจึงยากยิ่งขึ้น
1
  • มาร์กาเร็ต โบฟอร์ต มารดาของสมเด็จพระเจ้าเฮนรีที่ 7 แห่งอังกฤษ ได้ประสบกับการคลอดบุตรที่น่าสยดสยองยิ่งในวัย 13 ปี ทั้งยังต้องหลบหนีจากสงคราม ตามที่ Sarah Gristwood ผู้เขียนBlood Sisters การบาดเจ็บครั้งนี้สร้างรอยแผลให้พระนางทั้งทางจิตใจและร่างกาย นับแต่นั้นพระนางก็ตัดสินใจที่จะไม่มีบุตรอีก
ความน่ากลัวของวิกฤตตรงหน้า
และเมื่อลูกชายของพระนางขึ้นเป็นกษัตริย์ มาร์กาเร็ต จึงกำหนดระเบียบการปฏิบัติขึ้นใหม่ เพื่อมอบประสบการณ์การคลอดบุตรที่ผ่อนคลายมากขึ้นแก่บรรดาสตรีมีครรภ์ ซึ่งข้อกำหนดนี้สตรีที่จะให้กำเนิดหลานทั้งหมดของพระนางจะต้องปฏิบัติตามอย่างเคร่งครัด:
โดยสัปดาห์ก่อนถึงกำหนดคลอด พระราชมารดาจะต้องมีงานเลี้ยงอำลาครั้งสุดท้ายกับคนรับใช้ชายของพวกเธอ พร้อมทั้งรับศีลมหาสนิทแล้วเข้าสู่ Gristwood หรือ "โลกแห่งสตรี" โดย "ผู้หญิงที่จะคลอดบุตรต้องอยู่แต่ในห้องและรับอาหารหรือเครื่องใช้ต่าง ๆ จากช่องเล็ก ๆ ที่ประตูห้องเท่านั้น"
หากเธอรอดจากการคลอดบุตร เธอคนนั้นจะต้องถูกกักตัวไว้ในห้องของเธออีก 40 วัน และในวันที่ 40 เธอจะต้องไป "โบสถ์" หรือชำระร่างกายให้บริสุทธิ์และกลับเข้าสู่ราชวงศ์อีกครั้ง
1
คืนสู่อำนาจ
แม้ว่าการเสียชีวิตของทารกและมารดาจะยังสูงมาก แต่ราชวงศ์ก็สามารถเข้าถึงนวัตกรรมทางการแพทย์ที่คนทั่วไปไม่สามารถทำได้ ในศตวรรษที่ 17 ของฝรั่งเศส สตรีในราชวงศ์จะจ้างนางผดุงครรภ์ที่มีทักษะมากที่สุดในยุคนั้นมาเพื่อมาคอยดูแลครรภ์อย่างใกล้ชิด
อีกทั้งในยุคนั้นยังมีเครื่องมือใหม่ ๆ เช่น: คีมทางสูติกรรมซึ่งถูกประดิษฐ์ขึ้น โดย Chamberlens เป็น กลุ่มนางผดุงครรภ์ ชาวฝรั่งเศส Huguenotที่โด่งดัง
  • ในปี ค.ศ. 1688 แมรี เบียทริซ พระมเหสีคาทอลิกของพระเจ้าเจมส์ที่ 2 แห่งอังกฤษ ทรงพระครรภ์เพียงหกเดือนก็มีอาการเจ็บท้องคลอด ภรรยาคนแรกของพระเจ้าเจมส์ที่ 2 ไม่พอใจบุตรคนใหม่ที่กำลังจะเกิดมาจากภรรยาคนที่ 2 และกลัวว่า หากแมรีให้กำเนิดทายาทชายบุตรของเธอจะมาแย่งชิงอำนาจไป
แผนการร้าย (Mary Beatrice, wife of King James II. English Heritage/Heritage Images/Getty Images)
และด้วยความขัดแย้งเล็ก ๆ นี้พระเจ้าเจมส์ที่ 2 จึงตัดสินใจรวบรวมพยานให้เข้ามาเป็นสักขีพยานในห้องคลอด เพื่อป้องกันแผนร้ายที่อาจขึ้น ซึ่งก็เป็นเช่นนั้นจริง ๆ ฮิวจ์ (สาวใช้ของภรรยาคนแรก) ถูกเรียกตัวให้เข้ามาทำคลอด ทว่าเธอกลับมาถึงช้าเกินไป แมรี เบียทริซ ได้ให้กำเนิดเจ้าชาย เจมส์ เป็นที่เรียบร้อยแล้ว แผนการนี้จึงล้มไป
เมื่อศตวรรษที่ 19 เริ่มต้นขึ้น ความก้าวหน้าทางยาทำให้การคลอดบุตรง่ายขึ้นและอัตตราการอยู่รอดก็เพิ่มมากขึ้นด้วย ในปี 1853 สมเด็จพระราชินีวิกตอเรีย ทรงทำให้หลายคนตกใจเมื่อพระนางใช้คลอโรฟอร์มเพื่อบรรเทาความเจ็บปวดระหว่างการประสูติ เจ้าชายเลียวโปลด์
แม้การแพทย์จะถูกเปลี่ยนแปลงและพัฒนามากขึ้นแล้ว ทว่าประเพณีโบราณว่าด้วยเรื่องการคลอดบุตรต่อหน้าฝูงชนก็ยังคงมีอยู่ในราชวงศ์บางราชวงศ์เรื่อยมา
การเปลี่ยนแปลงที่ยากที่สุดไม่ได้ขึ้นอยู่กับเวลาแต่ขึ้นอยู่กับใจคน
เรื่องเล่าจากดาวนี้
ติดตามเรื่องเล่าจากดาวนี้เพิ่มเติมได้ที่
หากชื่นชอบก็อย่าลืมกด Like กด Share เพื่อเป็นกำลังใจให้กันด้วยนะคะ สามารถแชร์แนวคิด มุมมองดีๆได้ใน Comments นี้เลย
#เรื่องเล่าจากดาวนี้
โฆษณา