Blockdit Logo
Blockdit Logo (Mobile)
สำรวจ
ลงทุน
คำถาม
เข้าสู่ระบบ
มีบัญชีอยู่แล้ว?
เข้าสู่ระบบ
หรือ
ลงทะเบียน
การดูแลสุขภาพแบบองค์รวม
•
ติดตาม
22 ก.ย. 2022 เวลา 06:31 • สุขภาพ
โรคกล้ามเนื้ออ่อนแรง
อาการกล้ามเนื้ออ่อนแรง (Myasthenia Gravis) หรือโรค MG มีสาเหตุมาจากระบบภูมิคุ้มกันของร่างกายทำงานผิดปกติ ผู้ป่วยจะมีอาการหนังตาตก ยิ้มได้น้อยลง หายใจลำบาก มีปัญหาการพูด การเคี้ยว การกลืน รวมไปถึงการเคลื่อนไหวของร่างกาย
โดยเกิดขึ้นได้ในผู้ป่วยทุกเพศทุกวัย สันนิษฐานว่าอาจเกิดจากโรคที่เกี่ยวข้องกับระบบประสาท สารเคมี หรือพันธุกรรม มักจะเกิดบริเวณกล้ามเนื้อแขนขา มีการเกร็ง กระตุก หรือลีบเล็กลง
โรค MG เกิดจากภูมิคุ้มกันร่างกายทำงานผิดปกติ โดยการทำลายหรือลดทอนการทำงานของเส้นประสาทบนกล้ามเนื้อ ส่งผลให้ไม่สามารถกระตุ้นให้กล้ามเนื้อหดตัวได้ จึงเกิดการอ่อนแรง ซึ่งเป็นโรคที่จัดอยู่ในประเภท Autoimmune disease หรือที่มักจะเรียกกันว่า โรคแพ้ภูมิตัวเอง
สันนิษฐานว่ามาจากไวรัสบางชนิด ที่ทำให้ภูมิคุ้มกันร่างกายทำลายเส้นประสาทกล้ามเนื้อ มักจะเกิดบริเวณใบหน้า โดยเฉพาะดวงตา มักจะมีอาการมองไม่เห็นข้างใดข้างหนึ่ง หรือเห็นภาพซ้อน ตาเหล่ หนังตาตก ไม่สามารถยิ้มได้ หรือยิ้มแล้วปากเบี้ยว
ส่วนอาการกล้ามเนื้ออ่อนแรง (Amyotrophic Lateral Sclerosis) หรือที่มักจะเรียกกันว่าโรค ALS เป็นโรคที่ไม่ได้เกิดกับกล้ามเนื้อโดยตรง แต่เกิดจากเซลล์ประสาทส่วนที่ทำหน้าที่ควบคุมการทำงานของกล้ามเนื้อเสื่อมสภาพหรือถูกทำลาย ทำให้กล้ามเนื้อไม่มีเซลล์ประสาทควบคุม จนทำให้เกิดเป็นอาการกล้ามเนื้ออ่อนแรง
เป็นภัยเงียบที่หลายคนมักมองข้ามอาการเริ่มต้นต่าง ๆ ไป เช่น แขนขาอ่อนแรง สะดุดบ่อย ลุกนั่งลำบาก เพราะเห็นว่าเป็นอาการเหนื่อยล้าปกติ ด้วยเหตุนี้จึงทำให้ผู้ที่เป็นโรคนี้กว่าจะมาถึงมือแพทย์ อาการก็ทรุดหนักลงแล้ว
โรค MG เป็นโรคที่ส่งผลให้เกิดอาการกล้ามเนื้ออ่อนแรงเช่นเดียวกับโรค ALS แต่มีความแตกต่างกัน คือ โรค ALS เกิดจากเซลล์ประสาทส่วนที่ทำหน้าที่ควบคุมการทำงานของกล้ามเนื้อเสื่อมสภาพหรือถูกทำลาย
สิ่งที่เหมือนกันของทั้งสองโรค คือ สามารถเกิดได้กับทุกเพศทุก และมักพบมากในผู้สูงอายุเช่นกัน นอกจากนี้อาการอื่น ๆ เช่น การหายใจไม่สะดวก ภาวะกลืนอาหารลำบาก ของทั้งสองโรคจะคล้ายกัน แต่โรค ALS จะมีความรุนแรงมากกว่าโรค MG เนื่องจากเกิดกับระบบประสาทโดยตรง
ปัจจุบัน การรักษาทำได้เพียงเพื่อบรรเทาอาการ ผู้ป่วยจำเป็นต้องได้รับการดูแลที่เหมาะสมและเอาใจใส่จากคนรอบข้างอย่างสม่ำเสมอ
อาการของโรคกล้ามเนื้ออ่อนแรง
โดยปกติแล้วมักไม่พบอาการเจ็บหรือปวด แต่ผู้ป่วยอาจรู้สึกเจ็บหรือปวดหลังมีประจำเดือนหรือหลังออกกำลังกาย อาการที่สังเกตได้ตามบริเวณส่วนต่าง ๆ ของร่างกาย เช่น ตา ใบหน้า ลำคอ แขนและขา โดยอาการต่าง ๆ ที่เกิดขึ้นมักมีรายละเอียดดังนี้
หนังตาตกข้างใดข้างหนึ่งหรือทั้ง 2 ข้าง เป็นอาการแรกที่สังเกตได้ รวมถึงพบปัญหาด้านการมองเห็น เช่น มองไม่ชัด หรือเห็นภาพซ้อน เป็นต้น อาการจะดีขึ้นเมื่อหลับตาข้างใดข้างหนึ่งลง อาจยิ้มได้น้อยลง หรือกลายเป็นยิ้มแยกเขี้ยว เนื่องจากไม่สามารถควบคุมกล้ามเนื้อบนใบหน้าได้
ผู้ป่วยจำนวนหนึ่งมีอาการหายใจลำบาก โดยเฉพาะเมื่อนอนราบอยู่บนเตียงหรือหลังออกกำลังกาย อาจพูดเสียงขึ้นจมูก พูดเสียงเบาแหบ เคี้ยวไม่ได้ กลืนลำบาก ไอ สำลักอาหาร เนื่องจากกล้ามเนื้อรอบปาก เพดานอ่อน หรือลิ้นอ่อนแรงบางกรณีอาจเป็นสาเหตุไปสู่การติดเชื้อที่ปอด
ส่งผลต่อการเคลื่อนไหวของร่างกาย เช่น เดินเตาะแตะ เดินตัวตรงได้ยาก กล้ามเนื้อบริเวณคออ่อนแรง ทำให้ตั้งศีรษะหรือชันคอลำบาก เกิดปัญหาในการแปรงฟัน การยกของ รวมไปถึงการปีนบันได
หากพบว่ามีปัญหาด้านการมอง การหายใจ การพูด การเคี้ยว การกลืน รวมไปถึงการเคลื่อนไหวร่างกายที่เป็นไปโดยลำบาก เช่น การใช้มือและแขน การทรงตัว การเดิน เป็นต้น ควรรีบไปพบแพทย์
การรักษาโรคกล้ามเนื้ออ่อนแรง
ในปัจจุบัน การรักษาโรคกล้ามเนื้ออ่อนแรงมีหลายวิธี แต่ส่วนใหญ่รักษาตามอาการและเน้นเสริมสร้างระบบภูมิคุ้มกันของร่างกายให้แข็งแรง
ทั้งนี้แพทย์จะเลือกวิธีการรักษาที่เหมาะสมกับเงื่อนไขของผู้ป่วยกล้ามเนื้ออ่อนแรงแต่ละราย เช่น อายุ ความรุนแรงของอาการ ตำแหน่งที่เกิดอาการกล้ามเนื้ออ่อนแรง เป็นต้น โดยมีวิธีการรักษาดังนี้
การรับประทานยา
ยากลุ่ม Cholinesterase Inhibitors เช่น ไพริโดสติกมีน เหมาะแก่ผู้ป่วยกล้ามเนื้ออ่อนแรงระดับเบาหรือผู้ที่เพิ่งเริ่มมีอาการ อาจมีผลข้างเคียงต่อระบบทางเดินอาหาร ท้องเสีย คลื่นไส้ เหงื่อออกและน้ำลายไหลมาก เป็นต้น
ยากลุ่ม Corticosteroids เช่น เพรดนิโซน เป็นยาชนิดเม็ดที่ใช้ในปริมาณต่ำ เพื่อยับยั้งการผลิตแอนติบอดี้ อาจมีผลข้างเคียงทำให้ กระดูกบางลง น้ำหนักตัวเพิ่มขึ้น เสี่ยงต่อการติดเชื้ออื่น ๆ รวมไปถึงโรคเบาหวาน
ยากดภูมิคุ้มกัน (Immunosuppressants) เช่น อะซาไธโอพรีน ไซโคลสปอริน เป็นต้น การใช้ยานี้อาจมีผลข้างเคียงต่อระบบทางเดินอาหาร ท้องเสีย คลื่นไส้ อาเจียน เสี่ยงต่อการติดเชื้ออื่น ๆ รวมไปถึงตับและไตอักเสบ
การเปลี่ยนถ่ายพลาสม่า เป็นการกำจัดแอนติบอดี้ที่จะไปขัดขวางการทำงานของกล้ามเนื้อออกจากร่างกาย โดยวิธีการรักษานี้จะให้ผลอยู่เพียงไม่กี่สัปดาห์ เหมาะสำหรับผู้ป่วยที่มีอาการรุนแรง อาจเกิดผลข้างเคียง เช่น ความดันเลือดลดลง มีเลือดไหล จังหวะการเต้นของหัวใจผิดปกติ ปวดกล้ามเนื้อ เป็นต้น
การบำบัดด้วยIntravenous Immunoglobulin หรือ IVIg จะช่วยเพิ่มจำนวนแอนติบอดี้ที่มีความเป็นปกติ ซึ่งจะช่วยปรับการทำงานของระบบภูมิคุ้มกันของร่างกาย เหมาะสำหรับผู้ป่วยที่มีอาการรุนแรง มีความเสี่ยงน้อยกว่าการเปลี่ยนถ่ายพลาสม่า เห็นผล 3-6 สัปดาห์ มีผลข้างเคียงในระดับที่ไม่รุนแรงนัก เช่น หนาวสั่น วิงเวียน ปวดศีรษะ และบวมน้ำ
การฉีดยา Rituximab เข้าเส้นเลือด จะใช้กับผู้ป่วยในบางกรณี มีผลในการกำจัดเซลล์เม็ดเลือดขาว และเสริมระบบภูมิคุ้มกันของร่างกาย
การผ่าตัดต่อมไทมัส พบว่าในผู้ป่วยกล้ามเนื้ออ่อนแรงจำนวน 15% มีเนื้องอกเกิดขึ้นที่บริเวณต่อมไทมัส ซึ่งเป็นต่อมที่มีหน้าที่เกี่ยวข้องกับระบบภูมิคุ้มกันของร่างกาย แพทย์จะผ่าตัดต่อมไทมัสเพื่อลดความเสี่ยงต่อการเกิดภาวะแทรกซ้อนในอนาคต
ในปัจจุบันโรค ALS ยังไม่สามารถรักษาให้หายขาดได้ แพทย์จึงทำได้เพียงชะลอการเสื่อมของเซลล์ประสาทเพิ่มขึ้น และช่วยบรรเทาอาการกล้ามเนื้ออ่อนแรงต่าง ๆ ลง นอกจากต้องป้องกันไม่ให้โรคแทรกซ้อนเกิดขึ้นด้วย ไม่อย่างนั้น อาการของผู้ป่วยจะยิ่งทรุดหนักลง
ในผู้ป่วยบางราย สามารถมีชีวิตอยู่ได้มากกว่า 10 ปี เนื่องจากการปฏิบัติตามคำสั่งแพทย์และดูแลตนเองควบคู่ไปด้วย
แนวทางปฎิบัติสำหรับผู้ป่วยกล้ามเนื้ออ่อนแรงและคนใกล้ชิด
• พักผ่อนให้มาก เพื่อลดการเกิดอาการกล้ามเนื้ออ่อนแรง
• หลีกเลี่ยงความร้อนและความเครียด เพราะอาจทำให้อาการกล้ามเนื้ออ่อนแรงแย่ลงได้
• ติดตั้งราวจับสำหรับผู้ป่วย เช่น ในห้องน้ำ รวมถึงเก็บกวาดบ้านเพื่อป้องกันผู้ป่วยสะดุด
• เลือกใช้เครื่องใช้ไฟฟ้าแทนการออกแรงเอง เพื่อป้องกันอาการเหนื่อยในผู้ป่วย เช่น แปรงสีฟันไฟฟ้า
• รับประทานอาหารที่อ่อนนุ่มและไม่ต้องเคี้ยวมาก แบ่งมื้ออาหารเป็นหลาย ๆ มื้อ และเพลิดเพลินกับการรับประทานและการเคี้ยวในช่วงที่กล้ามเนื้อมีความแข็งแรง
• ปรึกษาแพทย์เกี่ยวกับการใช้ผ้าปิดตาในผู้ป่วยที่เห็นภาพซ้อน เพิ่มประสิทธิภาพในกระทำกิจกรรมต่าง ๆ เช่น เขียนหรืออ่านหนังสือ ดูโทรทัศน์ และเพื่อลดการเกิดภาพซ้อน
• กินยาตามคำสั่งแพทย์อย่างเคร่งครัด รับประทานอาหารที่มีประโยชน์และมีปริมาณที่เพียงพอต่อความต้องการของร่างกาย
• ทำกายภาพบำบัดอย่างสม่ำเสมอ เช่น การเดิน การว่ายน้ำ ฝึกฝนการพูด การกลืนน้ำลาย และการกลืนอาหาร
• ฝึกฝนการช่วยเหลือตนเองในชีวิตประจำวัน เช่น การอาบน้ำ การแต่งตัว การกินข้าว เป็นต้น
• มีสุขภาพจิตที่ดี ไม่ซึมเศร้า
การป้องกันโรคกล้ามเนื้ออ่อนแรง
ออกกำลังกายเป็นประจำ เพื่อให้ร่างกายแข็งแรง รับประทานอาหารที่มีประโยชน์ต่อสุขภาพ
ป้องกันการติดเชื้อต่าง ๆ ด้วยการมีสุขอนามัยที่ดี และหลีกเลี่ยงการคลุกคลีกับผู้ป่วย หากเกิดการติดเชื้อหรือป่วย ควรรีบรักษาด้วยวิธีที่ถูกต้องทันที
นอกจากนี้ ควรควบคุมความเครียด หลีกเลี่ยงการออกกำลังที่หนักเกินไป และการทำให้ตัวเองรู้สึกร้อนหรือหนาวมากจนเกินไป
หลีกเลี่ยงการดื่มแอลกอฮอล์ สูบบุหรี่ และการใช้สารเสพติดทุกชนิด หลีกเลี่ยงการสัมผัสกับสารโลหะ หรือสารเคมีอันตรายต่าง ๆ
ตรวจสุขภาพเป็นประจำทุกปี โดยเฉพาะผู้ที่มีคนในครอบครัวเคยป่วยเป็นโรคกล้ามเนื้ออ่อนแรงมาก่อน
หากสงสัยว่ามีอาการเหมือนโรคกล้ามเนื้ออ่อนแรง ให้รีบปรึกษาแพทย์เพื่อทำการวินิจฉัยและรักษาได้อย่างทันท่วงที
ถ้าคุณคิดว่าบทความนี้มีประโยชน์ โปรดกดถูกใจ กดดาว หรือแสดงความคิดเห็นเพื่อเป็นกำลังใจให้กับเรา
ดูแลสุขภาพ
สุขภาพ
ความรู้รอบตัว
บันทึก
โฆษณา
ดาวน์โหลดแอปพลิเคชัน
© 2025 Blockdit
เกี่ยวกับ
ช่วยเหลือ
คำถามที่พบบ่อย
นโยบายการโฆษณาและบูสต์โพสต์
นโยบายความเป็นส่วนตัว
แนวทางการใช้แบรนด์ Blockdit
Blockdit เพื่อธุรกิจ
ไทย