Blockdit Logo
Blockdit Logo (Mobile)
สำรวจ
ลงทุน
คำถาม
เข้าสู่ระบบ
มีบัญชีอยู่แล้ว?
เข้าสู่ระบบ
หรือ
ลงทะเบียน
Think Trade Think DITP
•
ติดตาม
26 ก.ย. 2022 เวลา 23:00 • การตลาด
ตลาด Quick Commerce หรือบริการจัดส่งสินค้าโดยทันที เริ่มคึกคักในญี่ปุ่น
บริษัทญี่ปุ่นหลายรายกำลังปรับเปลี่ยนรูปแบบการดำเนินธุรกิจสู่รูปแบบใหม่เพื่อให้ส่งมอบสินค้าให้ผู้บริโภคได้อย่างรวดเร็ว Quick Commerce หรือบริการจัดส่งสินค้าโดยทันที ซึ่งมักเป็นบริการการขนส่งอาหาร และสิ่งจำเป็นอื่นๆ ในชีวิตประจำวันให้ผู้บริโภคที่อยู่ในบริเวณใกล้เคียงภายในเวลาไม่เกิน 30 นาที ทั้งนี้บางบริษัทก็กำลัง ดำเนินการเพื่อพัฒนาบริการให้ดียิ่งขึ้นไปอีก
Yahoo Japan บริษัทธุรกิจขนาดใหญ่ของญี่ปุ่นได้เปิดตัวบริการ Quick Commerce ในปีที่แล้วเพื่อจัดส่งสินค้าในเขตเมือง ทั้งนี้ปัจจุบันได้มีการปรับเปลี่ยนศูนย์จัดส่งกระจายสินค้า 3 แห่งให้เป็นร้านค้าที่มีระบบชำระเงินด้วยตนเองได้ บริษัทได้กล่าวอีกว่า การเปลี่ยนแปลงนี้จะช่วยให้ลูกค้าสามารถเลือกดูรายการสินค้าได้ด้วยตนเองก่อนตัดสินใจซื้อ
นอกจากนี้ บริษัทโฆษณารายใหญ่ Hakuhodo และบริษัทสตาร์อัพในกรุงโตเกียว OniGo กำลังรวบรวมข้อมูลเกี่ยวกับลูกค้าที่ใช้บริการ Quick Commerce เพื่อพัฒนาสินค้า และบริการให้เหมาะสมกับตลาดที่คาดว่าจะเติบโตในอนาคตนี้ เจ้าหน้าที่ของ Hakuhodo ได้เผยว่า ความร่วมมือนี้จะช่วยให้บริษัทต่างๆ สามารถทำให้ยอดขายเพิ่มขึ้นได้ และสร้างเสริมประสบการณ์การซื้อรูปแบบใหม่ให้ผู้บริโภคด้วย
Quick Commerce อาจจะไม่ใช่แนวคิดการทำธุรกิจรูปแบบใหม่มากขึ้นในปัจจุบัน อย่างไรก็ ตามตลาดอุปโภคบริโภคในญี่ปุ่นซึ่งเป็นตลาดที่มีขนาดใหญ่เป็นอันดับต้นๆ ของโลก บริการ Quick Commerce ยังไม่ได้พัฒนา หรือมีบทบาทเท่าที่ควร เนื่องจากพฤติกรรมการบริโภคของผู้บริโภคในญี่ปุ่นที่นิยมไปจับจ่ายที่ร้านสะดวกซื้อ หรือซูเปอร์มาร์เก็ตด้วยตนเอง
ถึงแม้ว่าในปัจจุบันการซื้อขายสินค้าออนไลน์จะมีบทบาทมากขึ้นมากโดยเฉพาะในช่วงสถานการณ์โควิด-19 ระบาดอย่างรุนแรงในไม่กี่ปีที่ผ่านมา ทั้งนี้การที่ Z Holdings Corporation หรือ Yahoo Japan (เกิดจากการควบรวมของ Line และ Yahoo ในญี่ปุ่น) ยักษ์ใหญ่เทคโนโลยีในญี่ปุ่น มีความเคลื่อนไหวลงเล่นในธุรกิจ Quick Commerce อย่างเต็มรูปแบบ
ทำให้แนวโน้มทางธุรกิจเปลี่ยนไปอย่างมาก ผู้บริโภคเริ่มหันมาใช้บริการลักษณะนี้กันมากขึ้นเรื่อยๆ ซึ่งก็มีผลอย่างมากที่จะทำให้แนวคิดในการเลือกซื้อสินค้า ความรวดเร็ว และมาตรฐานเวลาที่ต้องรอกว่าจะได้รับสินค้าสำหรับผู้บริโภคในญี่ปุ่นเปลี่ยนไปมาก ถือเป็นแนวโน้มที่ทำให้ธุรกิจการค้าปลีกในญี่ปุ่นต้องได้รับการจับตามองอย่างใกล้ชิด
ตลาด Quick Commerce ในญี่ปุ่นอาจจะยังไม่ได้พัฒนา และขยายตัวอย่างกว้างขวางในญี่ปุ่น หากเทียบกับประเทศอื่นๆ เช่น ประเทศไทยที่มีผู้ให้บริการจำนวนมาก ทั้ง Grab / Lineman และอื่นๆ
ถึงแม้ว่าญี่ปุ่นก็มีบริการในลักษณะนี้เช่นกัน เช่น OniGo / Wolt / Demaecan / Uber Eats เป็นต้น แต่ก็ยังมีขอบเขตการให้บริการที่จำกัด ตลอดจนค่าขนส่งก็มีราคาสูง ทำให้ไม่ได้เป็นที่นิยมเท่าที่ควร แต่การที่ผู้เล่นรายใหญ่เข้ามามีส่วนร่วมอย่างเต็มรูปแบบเป็นความเคลื่อนไหวที่น่าจับตามอง
ถึงความเปลี่ยนแปลงของพฤติกรรมผู้บริโภคในญี่ปุ่นที่มีแนวโน้มเปลี่ยนไปในอนาคต ผู้ประกอบการไทยเองก็ควรติดตามแนวโน้มอย่างใกล้ชิด เพื่อทำความเข้าใจ และพร้อมรับมือกับโอกาสทางธุรกิจที่จะ เกิดขึ้นใหม่ในอนาคตอันใกล้นี้
ditp.go.th
กรมส่งเสริมการค้าระหว่างประเทศ กระทรวงพาณิชย์
กรมส่งเสริมการค้าระหว่างประเทศ,ส่งออก,Export,การค้าระหว่างประเทศ,การค้า,Trade,ตลาดต่างประเทศ,ตลาดส่งออก,งานแฟร์,นำเข้า,DITP
อ่านเพิ่มเติม
ญี่ปุ่น
ธุรกิจบริการ
ธุรกิจขนส่ง
2 บันทึก
3
5
2
3
5
โฆษณา
ดาวน์โหลดแอปพลิเคชัน
© 2025 Blockdit
เกี่ยวกับ
ช่วยเหลือ
คำถามที่พบบ่อย
นโยบายการโฆษณาและบูสต์โพสต์
นโยบายความเป็นส่วนตัว
แนวทางการใช้แบรนด์ Blockdit
Blockdit เพื่อธุรกิจ
ไทย