24 ก.ย. 2022 เวลา 12:00 • ประวัติศาสตร์
#ทำไมราชินี Mary I จึงมีชื่อเล่นที่น่าสยดสยอง 'Bloody' ?
เธอเผาชาวโปรเตสแตนต์หลายร้อยคนบนเสา แต่ถึงอย่างนั้นประวัติศาสตร์ก็มักเขียนโดยผู้มีชัย
จุดกำเนิด
Mary I เป็นราชินีแห่งอังกฤษคนแรกที่ปกครองด้วยสิทธิของพระนางเอง ดนื่องจากพระนางคือบุตรธิดาที่เหลือรอดเพียงคนเดียว จากพี่น้องทั้งหมด ดังนั้นอำนาจจึงอยู่ที่พระนางเพียงคนเดียว
แต่ถึงอย่างนั้นกษัตริย์เฮนรีที่ 8 (บิดาของ Marry I) ก็ได้ให้กำเนิด เจ้าชายเอ็ดเวิร์ดที่ 6 จาก เจน ซีมัวร์ ภรรยาคนที่สามในปี 1537 ซึ่งหลังจากนั้นเจ้าชายวัยเยาว์ก็ได้ขึ้นครองราชย์แทนบิดา ทว่าการครองราชย์นี้ก็สั้นเพียง 6 ปีเท่านั้น
ก่อนที่พระองค์จะสิ้นพระชนม์ด้วยอาการป่วยในวัย 15 ปี พระองค์ก็ได้เสนอให้ เจน เกรย์ ลูกพี่ลูกน้องขึ้นครองราชย์ต่อจากพระองค์ เพื่อกัน Mary I จากบัลลังก์ และการครองราชย์ของ เจน เกรย์ หลังจากนั้นก็ต้องจบสิ้นลงใน 9 วัน เพราะการพิจารณาคดี “เจนและสามีก่อกบฏ” และนี่คือการประหารครั้งแรกที่ของราชินี Mary I หลังจากได้ขึ้นครองราชย์และเริ่มการปฏิรูปอย่างจริงจัง
Mary I (The Print Collector/Getty Images)
สำหรับบุคคลทั่วไป Mary I แห่งอังกฤษเป็นที่รู้จักกันในนาม "Bloody Mary"
ชื่อเล่นที่ดูโหดร้ายนี้เกิดจากการข่มเหงพวกนอกรีตโปรเตสแตนต์ซึ่งพระนางได้ตัดสินโทษเผาบนเสาหลายร้อยคน พระนางเป็นคาทอลิกที่อุทิศตนและยืนกรานที่จะฟื้นฟูนิกายโรมันคาทอลิกในอังกฤษ และด้วยทัศนคตินี้ พระนางจึงเลือกที่จะสังหารทุกคนที่ปฏิเสธนิกายของพระนาง
จึงไม่แปลกเลยที่ในยุคนั้น พระนางจะถูกเล่าขานกันว่า “คนคลั่งศาสนาที่กระหายเลือด” เพราะตลอด 5 ปีในการครองราช แมรี่ ได้เผาผู้ต่อต้านศาสนาไปมากกว่า 300 คนบนเสา แม้จะดูเป็นช่วงเวลาที่แสนดำมืด แต่บิดาของพระนาง เฮนรี่ที่ 8 ก็ประหารไป 81 คนฐานเป็นคนนอกรีต และน้องสาวต่างมารดาของพระนาง เอลิซาเบธที่ 1 ก็ได้ประหารชีวิตผู้คนไปจำนวนมากเพราะเรื่องศาสนาเช่นกัน
ในยุคนั้น คำว่านอกรีตถือเป็นการติดเชื้อร้ายแรงและต้องถูกตัดทิ้งเพื่อไม่ให้เป็นภัยต่อสังคมโดยรวม การลงโทษสำหรับคนนอกรีตจึงไม่ใช่แค่ความตาย แต่ยังรวมถึงการทำลายศพของคนนอกรีตทั้งหมดเพื่อป้องกันคนอื่น ๆ นำชิ้นส่วนที่เหลือออกไป
ทำลาย ( The 1555 execution of Bishop Nicholas Ridley and Father Hugh Latimer, as depicted in the "Book of Martyrs" by John Foxe. Fototeca Gilardi/Getty Images)
ดังนั้นคนนอกรีตส่วนใหญ่จึงต้องถูกเผาและนำเถ้าทั้งหมดไปทิ้งในแม่น้ำ
ภายหลัง น้องสาวต่างมารดาของพระนาง เอลิซาเบธที่ 1 ยังถูกกล่าวหาเรื่องการให้ที่หลบซ้อนต่อนิกายโปรเตสแตนต์ และทหารบางส่วน เนื่องจากพระนางศรัทธาในนิกายดังกล่าว แต่ถึงอย่างนั้นเรื่องนี้ก็ถูกตัดจบและหยุดพูดถึงไป
แม้ว่าผู้คนจะโต้แย้งเรื่องความเชื่อทางศาสนา แต่ก็ไม่มีใครเห็นด้วยเรื่องการทรยศต่อความเชื่อเช่นกัน จอห์น ฟอกซ์ "นักพลีชีพ" ของโปรเตสแตนต์ ผลงานขายดีของเขาThe Actes and Monumentsหรือที่รู้จักกันดีในชื่อ Foxe's Book of Martyrs เป็นเรื่องราวโดยละเอียดของผู้พลีชีพทุกคนที่เสียชีวิตเพื่อศรัทธาของตนภายใต้คริสตจักรคาทอลิก ตีพิมพ์ครั้งแรกในปี ค.ศ. 1563
ซึ่งเป็นข้อพิสูจน์ถึงค่านิยม ผู้พลีชีพในคริสต์ศาสนายุคแรก การสอบสวนในยุคกลาง และลัทธินอกรีตที่ถูกกดขี่ของลอลลาร์ด
สู่การดำดิ่ง (Double portrait of Queen Mary and Philip II of Spain from the Woburn Abbey Collection)
แต่ถึงอย่างนั้นการกดขี่ข่มเหงภายใต้อำนาจของ Mary I จึงเป็นจุดสนใจและเป็นที่พูดถึงเรื่อยมา ส่วนหนึ่งเป็นผลมาจากงานแกะสลักไม้ที่มีรายละเอียดสูง ซึ่งแสดงถึงการทรมานที่น่าสยดสยองและการถูกเผาของผู้พลีชีพชาวโปรเตสแตนต์ ที่ถูกรายล้อมไปด้วยเปลวเพลิง ในฉบับพิมพ์ครั้งแรกในปี พ.ศ. 1563 มี 30 ภาพจาก 57 ภาพที่แสดงถึงการประหารชีวิตภายใต้รัชสมัยของพระนาง Mary I
โดยนักพลีชีพส่วนใหญ่จะถูกกล่าวหาว่า “สมควรโดนแล้ว” จากนั้นทหารก็จะนำตัว นักพลีชีพไปยังแท่นจุดไฟ ขณะที่เกิดเพลิงไหม้ Latimer และผู้พลีชีพคนอื่น ๆ ก็จะเริ่มหายใจไม่ออกและเสียชีวิตไปอย่างรวดเร็ว
และ Ridley ผู้พลีชีพที่โชคไม่ดีนัก ไฟก็ไหม้ไม้และลุกไหม้อย่างรุนแรงที่เท้าของเขา Ridley จึงบิดตัวด้วยความเจ็บปวดและร้องออกมาซ้ำแล้วซ้ำเล่าว่า “ข้าแต่พระเจ้า ขอทรงโปรดเมตตาข้าพระองค์ ทรงรบฟังเสียงร้องนี้ แล้วหยุดให้ไฟเข้ามาหาข้าพระองค์ ข้าพระองค์จะถูกเผาไม่ได้”
เผาให้หมด (Protestants being burnt at the stake during the Reign of Queen Mary I. Bettmann Archive/Getty Images)
ในตอนท้ายของศตวรรษที่ 17 งานเขียนเกี่ยวกับนักพลีชีพถูกย่อให้สั้นลง ให้เหลือเพียงตอนที่น่าตื่นเต้นที่สุดของการทรมานและความตาย ดังนั้น เรื่องราวที่โจ่งแจ้งของผู้พลีชีพชาวโปรเตสแตนต์ผู้เคร่งศาสนาที่ยอมทนทุกข์ทรมานจากเงื้อมมือของ "ทรราช" จึงกลายเป็นนิทานพื้นบ้านของการปฏิรูปอังกฤษ
Mary I เสียชีวิตในปี ค.ศ. 1558 ช่วงการระบาดของไข้หวัดใหญ่ แม้ว่าพระนางจะมีอาการปวดท้องและอาจเป็นมะเร็งมดลูกหรือมะเร็งรังไข่ เอลิซาเบธ น้องสาวต่างมารดาของพระนาง ก็สืบทอดตำแหน่งกษัตริย์และเริ่มฟื้นฟูนิกายโปรเตสแตนต์แทน
ในตอนนั้นศาสนายังคงมีส่วนทำให้อาณาจักรตกอยู่ในสงครามกลางเมือง โดยเฉพาะสงครามนิกายโรมันคาทอลิก หรือสงคราม “โป๊ปเปอรี” เป็นสิ่งที่ประชาชนเห็นพ้องต้องกันว่าเลวร้ายยิ่งกว่าสิ่งใด
1
นอกจากนี้พระราชินี Mary I แห่งคาทอลิก ยังถูกเหยียดหยามโดยกลุ่มชายของโปรตัสแตนอังกฤษที่มองว่าพระนางเป็นคนชั่วร้ายและเธอคือ Bloody Mary อย่างไม่ต้องสงสัย
“รู้ผิด รู้ถูก รู้ดี รู้ชั่ว เป็นคำพูดที่บอกกันมาจากรุ่นสู่รุ่น แต่ความเลวร้ายที่ยากจะแก้ไขได้คือ ไม่รู้ตัว”
ติดตามเรื่องเล่าจากดาวนี้เพิ่มเติมได้ที่
หากชื่นชอบก็อย่าลืมกด Like กด Share เพื่อเป็นกำลังใจให้กันด้วยนะคะ สามารถแชร์แนวคิด มุมมองดีๆได้ใน Comments นี้เลย
#เรื่องเล่าจากดาวนี้
โฆษณา