Blockdit Logo
Blockdit Logo (Mobile)
สำรวจ
ลงทุน
คำถาม
เข้าสู่ระบบ
มีบัญชีอยู่แล้ว?
เข้าสู่ระบบ
หรือ
ลงทะเบียน
Music Delivery by ครูเอ๋
•
ติดตาม
23 ก.ย. 2022 เวลา 03:43 • ดนตรี เพลง
Charlie Christian ผู้นำกีตาร์ไฟฟ้ามาโลดแล่นบนเวทีดนตรีแจ๊ส
สวัสดีครับช่วงนี้ผมจะเล่าเรื่องของผู้ที่เป็นตำนานแห่งดนตรีแจ๊สที่ผมชอบและประทับใจ ย้ำ ที่ผมชอบนะครับ เพราะฉะนั้น บางทีก็อาจจะกระโดดไปกระโดดมา ไม่เป็นไปตาม ไทม์ไลน์สักเท่าไหร่ และในวันนี้ เนื่องจากผมเป็นคนกีตาร์ จึงอยากจะขอแนะนำให้รู้จักกับ มือกีตาร์ที่เรียกได้ว่าเป็นผู้ใช้กีตาร์ไฟฟ้าเป็นคนแรก ๆ ของโลก และเป็นคนที่ John Hammond โปรดิวเซอร์มือทองแห่งยุคเรียกว่า “อัจฉริยะ” เขาก็คือ "Charlie Christian"
ชาร์ลีเกิดที่เมือง Bonham มลรัฐเท็กซัส ในวันที่ 29 ก.ค.1916 ชื่อเต็ม ๆ ของเขาก็คือ Charles Henry Christian (ชาร์ล เฮนรี่ คริสเตียน) เขาเกิดในครอบครัวนักดนตรี โดยมีพี่ชายสองคนเป็นนักดนตรีแจ๊สและเป็นหัวหน้าวงใน โอกลาโฮมา
วัยเด็ก ชาร์ลีเข้าโรงเรียนและอยากเล่นแซ็กโซโฟน แต่ครูกลับให้เขาไปเล่นทรัมเป็ต ซึ่งเขาไม่ชอบ จากนั้นชาร์ลีก็หนีไปเอาดีทางการเล่นเบสบอล จนในช่วงปี 1930 เขาได้ไปฝึกดนตรีแจ๊สอย่างจริงจังกับวงของพี่ชาย โดยแอบเรียนกีตาร์กับมือกีตาร์ฝีมือดีคนหนึ่งในวง
ต่อมาในปี 1939 John Hammond ได้แนะนำให้เขารู้จักกับ Benny Goodman หัวหน้าวง Big Band ชื่อดังในขณะนั้น เบนนี่ เป็นหนึ่งในสี่หัวหน้าวงดนตรีผิวขาวที่รับคนผิวดำเข้ามาเล่นด้วย ในตอนแรกเบนนี่ไม่คุ้นเคยกับกีตาร์ไฟฟ้าในวง แต่พอเขาเห็นชาร์ลีเล่นเขาก็ให้ความสนใจและให้งานหนุ่มจาก โอกลาโฮมา มาเล่นกับวง Goodman Sextet ที่เพิ่งตั้งขึ้นใหม่ทันที
จุดเปลี่ยนของ ชาร์ลี คริสเตียน ที่ทำให้คนกีตาร์ได้ขึ้นมามีหน้ามีตาในวงแจ๊ส เกิดขึ้นที่ Victor Hugo ภัตตาคารหรูในลอสแองเจลิส คืนนั้น เบนนี่ กู๊ดแมน บรรเลงเพลง “Rose Room” และชาร์ลี ได้แสดงความเป็นอัจฉริยะให้ เบนนี่ ได้เห็นเพลง Rose Room ในเวอร์ชั่นที่ไม่เคยได้ยินที่ไหนมาก่อน ว่ากันว่าหลังจากนั้นไม่กี่วัน ค่าตัวของชาร์ลี ขยับขึ้นจากวันละ 2.50 ดอลลาร์ กลายเป็นสัปดาห์ละ 150 ดอลลาร์กันไปเลย และในปี 1940 ชาร์ลี คริสเตียน ได้รับเลือกเข้าไปอยู่ใน Metronome All Stars ของนิตยสาร Metronome
มาถึงผลงานอันเป็นที่ประจักษ์แก่สายตาคนฟังดนตรี ก็คืออัลบั้ม
"Charlie Christian The Genius of the electric guitar" ที่ได้เล่นร่วมกับ Benny Goodman’s Sextet and Big Band ขอบอกว่า เป็นอัลบั้มแรกที่เครื่องดนตรีนำวง Big Band เป็นกีตาร์ และนี่แหละคือความสุดยอด
สำหรับคนที่เริ่มฝึกกีตาร์แจ๊สควรจะต้องฟังเป็นอย่างยิ่ง เพราะนี่คือตัวอย่างของการใช้สเกล และอะเพจจิโออย่างยอดเยี่ยม โดยเฉพาะการวางประโยค ชาร์ลีใช้วิธีการวางประโยคแบบเครื่องเป่า คือคล้าย ๆ จะมีการหยุดพักหายใจ เพราะปกติคนกีตาร์จะเล่นกันหูดับตับไหม้ ไม่ค่อยได้หยุด แต่ถ้าคิดการเล่นเหมือนเครื่องเป่าก็จะทำให้ประโยคของเราฟังดูดีขึ้น ตัวอย่างคือเพลง Solo Flight และเพลง
Rose Room
น่าเสียดายที่ ชาร์ลี คริสเตียน มีอายุน้อยเกินไป เขาจากไปในวัยเพียง 25 ปี
เมื่อวันที่ 2 มี.ค. 1942 ทิ้งผลงานก้องโลกไว้ให้เราฟังกันแค่ 1 อัลบั้ม
ความรู้รอบตัว
ไลฟ์สไตล์
เรื่องเล่า
บันทึก
2
2
โฆษณา
ดาวน์โหลดแอปพลิเคชัน
© 2024 Blockdit
เกี่ยวกับ
ช่วยเหลือ
คำถามที่พบบ่อย
นโยบายการโฆษณาและบูสต์โพสต์
นโยบายความเป็นส่วนตัว
แนวทางการใช้แบรนด์ Blockdit
Blockdit เพื่อธุรกิจ
ไทย