4 ต.ค. 2022 เวลา 04:00 • สิ่งแวดล้อม
กระแสพลาสติกใช้ครั้งเดียวถูกพูดถึงอีกครั้ง หลังจากที่โลกต้องหยุดชะงักจากการระบาดของโควิด-19 ส่งผลให้ขยะพลาสติกเพิ่มมากขึ้นเป็นเท่าตัว สถาบันวิจัยเพื่อการพัฒนาประเทศไทยประเทศไทย หรือ TDRI เคยประเมินว่า 1 ยอดการสั่งอาหาร จะมีขยะพลาสติกเฉลี่ย 7 ชิ้น ประกอบด้วย กล่องอาหาร ถุงใส่น้ำจิ้ม ช้อนพลาสติก ส้อมพลาสติก ถุงใส่ช้อนส้อม ถุงน้ำซุป และถุงพลาสติกหูหิ้วสำหรับใส่อาหารทั้งหมด
โรดแมปไทย แบนขยะพลาสติก
ด้านสถาบันสิ่งแวดล้อมไทย รายงานว่า ช่วงโควิด-19 ระบาดต้นปีก่อน ทำให้ปริมาณขยะพลาสติกพุ่งสูงขึ้น 15% จากเฉลี่ยวันละ 5,500 ตันต่อวัน เป็น 6,300 ตันต่อวัน ซึ่งไม่รวมถึงขยะอันตรายที่เกิดจากหน้ากากอนามัยที่ใช้แล้ว ที่คาดว่ามีอัตราการทิ้งหน้ากากอนามัยประมาณ 1.5 – 2 ล้านชิ้นต่อวัน ซึ่งส่วนใหญ่ทิ้งปะปนรวมกับขยะมูลฝอยทั่วไป
ขยะพลาสติกถูกให้ความสำคัญมากขึ้นตั้งแต่ปี 2561 โดยประเทศไทยมีการออกโรดแมปการจัดการขยะพลาสติก พ.ศ. 2561 - 2573 โดยมีคณะกรรมการสิ่งแวดล้อมแห่งชาติ กรมควบคุมมลพิษเป็นผู้ดูแล ซึ่ง ณปัจจุบัน โรดแมปนี้มีอยู่ในขั้นแผนปฏิบัติการด้านการจัดการขยะพลาสติก ระยะที่ 1 (พ.ศ. 2563 - 2565)
โดยเน้นการป้องกันและแก้ไขปัญหาขยะพลาสติก ส่วนเกินที่มีผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อม และก้าวสู่การจัดการ พลาสติก ที่ ยั่งยืนด้วยเศรษฐกิจหมุนเวียน (Moving Towards Sustainable Plastic Management by Circular Economy)
ใจความสำคัญของแผนปฏิบัติการด้านการจัดการขยะพลาสติก ระยะที่ 1 สรุปคือ
📌 ยกเลิกการใช้พลาสติก 4 ประเภท แบบร้อยเปอร์เซ็นต์ ในปี 2565
คณะรัฐมนตรี มีมติให้มีการ ลด-เลิกใช้พลาสติกโดยใช้วัสดุทดแทนที่เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อม แบบ "ร้อยเปอร์เซ็นต์" หรือหมายถึงการยกเลิกใช้อย่างสิ้นเชิง ภายในปี 2565 สำหรับพลาสติก 4 ประเภทดังนี้
❌ ถุงพลาสติกหูหิ้ว แบบบาง ถุงพลาสติกหูหิ้ว ความหนาน้อยกว่า 36 ไมครอน
❌ กล่องโฟมบรรจุอาหาร กล่องโฟมบรรจุอาหาร ไม่รวมถึงโฟมที่ใช้กันกระแทกในภาคอุตสาหกรรม
❌ แก้วพลาสติกบาง แก้วพลาสติก ความหนาน้อยกว่า 100 ไมครอน
❌ หลอดพลาสติก ยกเว้นการใช้กรณีจำเป็น ได้แก่ การใช้ในเด็ก คนชรา ผู้ป่วย เป็นต้น
❌ นำพลาสติกกลับเข้าสู่ระบบเศรษฐกิจหมุนเวียน โดยนำพลาสติกกลับไปใช้ใหม่ ไม่น้อยกว่า 50% ในปี 2565 ประกอบด้วย
❌ ถุงพลาสติกหูหิ้วแบบหนา
❌ บรรจุภัณฑ์ฟิล์มพลาสติกชั้นเดียว
❌ ขวดพลาสติกทุกชนิด
❌ ฝาขวด
❌ แก้วพลาสติก
❌ ถาด และกล่องอาหาร
❌ ช้อน ส้อม มีดพลาสติก
โดยปี 2562 มีมาตรการยกเลิกพลาสติกไปแล้ว 3 ชนิด คือ พลาสติกหุ้มฝาขวด พลาสติกผสมสารอ็อกโซ่ไมโครบีด (Mictrobead)
ทั้งนี้ ตามแผนการดังกล่าว คาดว่า จะสามารถลดปริมาณขยะพลาสติกได้ 780,000 ล้านตัน / ปี และลดงบประมาณการกำจัดขยะมูลฝอย 3900 ล้านบาท/ปี รวมถึงประยัดพื้นที่ฝังกลบ และกำจัดขยะมูลฝอยพลาสติก 2,500 ไร่ และลดปริมาณปล่อยก๊าซเรือนกระจก เทียบเท่าคาร์บอนไดออกไซด์ 1.2 ล้านตัน
กราฟิก : ณัชชา พ่วงพี
ที่มา : คณะกรรมการสิ่งแวดล้อมแห่งชาติ กรมควบคุมมลพิษ , มติครม. 15 ก.พ.64
โฆษณา