27 ก.ย. 2022 เวลา 12:00 • ประวัติศาสตร์
#เรื่องอื้อฉาวเกี่ยวกับสร้อยคอเพชร 15 ล้านของ Marie Antoinette
เรื่องสร้อยคอเพชร อ่านเหมือนเป็นเรื่องตลก แต่ความจริงกลับกลายเป็นฟางเส้นสุดท้ายที่นำไปสู่การเรียกร้องศีรษะของราชินี
ยิ่งกว่านิยาย
เรื่องนี้เป็นเรื่องอื้อฉาวที่น่าเหลือเชื่อมาก จนดูเหมือนเป็นการประดิษฐ์งานวรรณกรรมที่แสนดุเดือดเสียไม่ปราณ นอกจากนี้เรื่องสร้อยคอเพชรยังเป็นเรื่องที่ทำให้ Marie Antoinette ราชินีองค์สุดท้ายของฝรั่งเศสก่อนการปฏิวัติฝรั่งเศส ต้องรับผิดชอบด้วยการประหารชีวิต
บางทีที่น่าตกใจที่สุดคือราชินีไม่ทราบถึงการหลอกลวงที่ซับซ้อนนี้เลย
ทุกอย่างเริ่มต้นขึ้นจาก "เคาน์เตส" Jeanne de Valois-Saint-Rémy - "Comtesse de la Motte" ผู้มีสไตล์แต่งตัวเป็นของตัวเอง ซึ่งล่วงลับไปแล้วในฐานะทายาทของราชวงศ์ฝรั่งเศสในอดีตคือ Valois เคาน์เตส มีความเชื่อมโยงกับขุนนางที่ค่อนข้างน่าสงสัย
โดยหลายคนตระหนักว่ารายได้เพียงเล็กน้อยของสามีเธอ ไม่น่าจะเพียงพอต่อการซื้อชุดและเครื่องประดับไลฟ์สไตล์ฟุ่มเฟือยตามแบบที่เธอต้องการได้ ในช่วงนั้น La Motte คิดว่าเธอสามารถชนะใจราชินีได้ด้วยการนำแฟชั่นแบบนี้ ทว่าราชินีเมื่อได้ยินถึงภูมิหลังของ La Motte ก็ปฏิเสธที่จะพบเธอ และเหตุการณ์นี้ก็สร้างความไม่พอใจให้กับเธอเป็นอย่างมาก
Jeanne de Valois-Saint-Rémy, Countess de La Motte. DeAgostini/Getty Images
ในปี 1783 La Motte กลายเป็นผู้หญิงของพระคาร์ดินัลเดอโรฮัน อันทรงเกียรติ พระคาร์ดินัล ซึ่งเคยเป็นเอกอัครราชทูตฝรั่งเศสประจำกรุงเวียนนา เพราะช่วงสองสามปีก่อน La Motte ได้ทำผิดต่อพระมารดาของมารี อองตัวแนตต์ จักรพรรดินีมาเรีย เทเรซา และด้วยโอกาสที่เธอมองเห็นจึงตัดสินใจเริ่มต้นเส้นทางใหม่ในชีวิตด้วยเส้นทางนี้ โดยไม่ฟังความเห็นชอบจากราชวงศ์
ไม่นานจากนั้น La Motte ก็ค้นพบว่าช่างเพชรพลอย Charles Auguste Boehmer และ Paul Bassange กำลังพยายามขายสร้อยคอราคาแพง ซึ่งเดิมทีได้รับการออกแบบขึ้นเพื่อ Madame du Barry ผู้เป็นที่รักของอดีตกษัตริย์ Louis XV สร้อยคอเส้นนี้มีมูลค่าประมาณ 2,000,000 ลีฟ (หรือประมาณ 15 ล้านดอลลาร์ในปัจจุบัน)
ทว่าหลังจากการสิ้นพระชนม์ของกษัตริย์ สร้อยคอเส้นนี้ก็ไม่ได้รับการชำระเงินตามที่ตกลงไว้ ทำให้ช่างเพชรพลอยต้องเผชิญกับการล้มละลาย ดังนั้นพวกเขาจึงพยายามขายมันให้กับพระเจ้าหลุยส์ที่ 16 กษัตริย์องค์ปัจจุบัน ทว่าในตอนนั้นพวกเขาถูกปฏิเสธ โดยพระองค์ทรงตรัสว่า “เราต้องการเรือสำราญเจ็ดสิบสี่ลำมากกว่าสร้อยคอเส้นนี้”
Antoine-François Callet - Louis XVI, roi de France et de Navarre (1754-1793), revêtu du grand costume royal en 1779 - Google Art Project
La Motte ที่ได้ทราบข่าวจึงพยายามเกลี้ยกล่อมพระคาร์ดินัล ด้วยการพูดทำนองว่าเธอรู้ความโปรดปรานอันเป็นความลับของพระราชินี และเมื่อได้ยินเรื่องนี้ พระคาร์ดินัล จึงตัดสินใจใช้เธอเพื่อทำให้ความปรารถนาของราชินีเป็นจริง La Motte จึงเริ่มสนับสนุนให้พระคาร์ดินัลเขียนจดหมายถึงพระราชินี และเธอจะทำหน้าที่ไปส่งให้
 
ในความเป็นจริง La Motte เขียนคำตอบของเธอเอง แทน "ราชินี" ร่วมกับคนรักอีกคนของเธอ วิลเล็ตต์ ซึ่งเป็นนักปลอมแปลงหลักในภารกิจสร้างจดหมายปลอมครั้งนี้ และเขียนตอบในนาม ราชินี
“ตรัสถึงความปรารถนาอยากจะครอบครองสร้อยคอเส้นนี้ แต่เนื่องจากรู้ว่ากษัตริย์ไม่เต็มใจที่จะซื้อสร้อยคอนี้ให้ เพราะสถานการณ์ทางการเงินในประเทศกำลังย่ำแย่” จากนั้นก็ส่งกลับไปให้ พระคาร์ดินัล
Cardinal de Rohan
La Motte ที่ทราบถึงความสัมพันธ์ที่ดีต่อกันเสมอมาของ พระคาร์ดินัล กับราชินี เธอจึงหวังว่าพระคาร์ดินัลจะให้เงินแก่ ราชินี หลังจากอ่านจดหมายที่เธอปลอมขึ้น
หลังจากที่ พระคาร์ดินัล
ได้อ่านเขาก็เชื่อทันทีว่าจดหมายนี้เป็นของจริงทั้งยังตกลงที่จะซื้อสร้อยคอชิ้นนั้นให้กับพระราชินีด้วยตัวเอง ทำให้การประสานงานลับ ๆ ในช่วงกลางดึก ณ สวนของพระราชวังแวร์ซายเริ่มต้นขึ้น ซึ่งพระคาร์ดินัลได้แอบนัดพบกับ “ราชินี”
แต่ในความเป็นจริง La Motte ส่งโสเภณี Nicole le Guay d'Oliva ที่มีลักษณะคล้ายกับราชินี เข้าไปแทนด้วยข้อตกลงว่า “หากเธอยินยอมทำงานนี้ La Motte จะรับประกันว่าหลังจากจบงาน เธอจะไม่มีโทษติดตัวอีก” ตอนนั้นพระคาร์ดินัลได้ติดต่อกับบรรดานักอัญมณีและตกลงที่จะจ่ายเงินสำหรับสร้อยคอเป็นงวด ๆ
"The Queen's necklace", reconstruction, Château de Breteuil, France
ต่อมาช่างอัญมณีได้รับคำสั่งให้มอบสร้อยคอเส้นนี้กับ La Motte ซึ่งนางจะส่งต่อให้สามีเอง หลังจากนั้นนางก็เริ่มขายเพชรแต่ละเม็ดในลอนดอนทันที จนในที่สุดการหลอกลวงนี้ก็ถูกเปิดเผยขึ้น หลังจากที่ช่างเพชรพลอยไม่ได้รับเงินงวดแรกจากพระคาร์ดินัล และด้วยความโกรธนักอัญมณีจึงเดินทางเข้าไปบ่นต่อพระราชินีเกี่ยวกับเรื่องนี้ ทำให้พระราชินี้ได้รู้เรื่องราวทั้งหมด
พระคาร์ดินัลถูกจับพร้อมกับ La Motte, นักปลอมแปลง Villette, โสเภณี d'Oliva และ Count Cagliostro หนึ่งในลูกค้าของพระคาร์ดินัลซึ่ง La Motte กล่าวหาว่าเขาเป็นคนเตรียมการทั้งหมด
แม้ในตอนท้ายพระคาร์ดินัลจะพ้นผิดและถูกเนรเทศไปทางตอนใต้ของฝรั่งเศส ส่วน Rétaux de Villette ถูกตัดสินว่ามีความผิดฐานปลอมแปลงและถูกเนรเทศ Nicole d'Oliva พ้นผิดถูกเนรเทศออกจากฝรั่งเศสตามคำสั่งของกษัตริย์เช่นกัน
Jeanne de la Motte ถูกตัดสินว่ามีความผิด ถูกพิพากษาให้ถูกเฆี่ยนตี ตราหน้า และจำคุกตลอดชีวิตใน Salpêtrière เรือนจำที่มีชื่อเสียงสำหรับขังโสเภณี อย่างไรก็ตาม เธอพยายามหลบหนีด้วยการปลอมตัวเป็นเด็กผู้ชายและเดินทางไปยังลอนดอน
Marie Antoinette's Execution on 16 October 1793
ในปี 1789 เธอได้ตีพิมพ์บันทึกความทรงจำของเธอ และได้ตำหนิราชินี Marie Antoinette ว่าเป็นต้นเหตุของเรื่องราวทั้งหมด
พระเจ้าหลุยส์ที่ 16 และราชินี Marie Antoinette แม้จะไม่รู้เรื่องกลโกงที่เกิดขึ้น ก็จำต้องถูกตัดสินและถูกดำเนินคดีต่อหน้าสาธารณชนเพื่อปกป้องเกียรติของตน ทว่าน่าเสียดายที่สิ่งที่เกิดขึ้นกลับมีผลตรงกันข้าม
หลังจากผลตัดสินออก หลายคนที่ได้เห็นจึงต่างดีใจเพราะทุกคนล้วนเชื่อว่าได้แก้แค้นให้ La Motte แล้ว ทั้งยังส่งผลต่อ พระคาร์ดินัล ทำให้ราชวงศ์บูร์บงเสื่อมเสียในสายตาของประชาชนไปอย่างสิ้นเชิง และชื่อเสียงของพระราชินีก็จบสิ้นลงจากเหตุการณ์ดังกล่าวด้วยเช่นกัน
เพียงไม่กี่ปีต่อมา ราชินีถูกตัดสินโทษด้วยเครื่องกิโยติน สัญลักษณ์ของการทุจริตในระบบการปกครองแบบโบราณ และจากโลกนี้ไป
“คนเลวที่แสดงตัว ไม่น่ากลัวเท่าคนชั่วที่สวมหน้ากากแสร้งเป็นคนดี”
1
ติดตามเรื่องเล่าจากดาวนี้เพิ่มเติมได้ที่
1
หากชื่นชอบก็อย่าลืมกด Like กด Share เพื่อเป็นกำลังใจให้กันด้วยนะคะ สามารถแชร์แนวคิด มุมมองดีๆได้ใน Comments นี้เลย
#เรื่องเล่าจากดาวนี้
โฆษณา