25 ก.ย. 2022 เวลา 03:17 • สุขภาพ
"เบาหวานสามารถหายขาดได้จริงไหม" (Diabetes Remission)
"Can diabetes really be cured?"
เบาหวานสามารถหายขาดได้ (Diabetes Remission) ทำได้จริงหรือ ก่อนอื่นขออธิบายก่อนว่าเบาหวานนั้นมี 4 ประเภท คือ เบาหวานชนิดที่ 1 และ 2 (type 1 and type 2 diabetes), เบาหวานชนิดอื่นๆ และ เบาหวานขณะตั้งครรภ์ (Gestational diabetes/ GDM)
ส่วนใหญ่ผู้ป่วยมักจะเป็นเบาหวานชนิดที่ 1 หรือเบาหวานชนิดที่ 2 ดังนั้นในบทความนี้จะกล่าวถึงเบาหวาน 2 ชนิดนี้เป็นหลัก
ยังไม่มีคำว่าหายขาดจากเบาหวานอย่างแท้จริง แต่ก็เริ่มมีการใช้คำว่า หายขาดจากเบาหวาน โดยคำว่าหายขาดจากเบาหวาน (Diabetes remission) อาจหมายถึง การที่ผู้ป่วยสามารถควบคุมระดับน้ำตาลได้ตามเป้าหมายเช่นระดับน้ำตาลสะสมต่ำกว่า 7 % (HbA1c < 7%) เป็นเวลาต่อเนื่องอย่างน้อย 6 เดือน โดยใช้เพียงแค่การควบคุมอาหารและการออกกำลังกาย (lifestyle modification) และ/หรือ ใช้ยาเบาหวานเพียงแค่ metformin ชนิดเดียว ทั้งนี้ระดับน้ำตาลที่ควบคุมได้นี้ไม่ได้เกิดจากโรคอื่นๆ เช่่น ภาวะไตหรือตับวายเป็นต้น
นอกจากนี้หากผู้ป่วยสามารถควบคุมระดับน้ำตาลได้ตามเป้าหมายได้เกิน 5 ปี เราจะเรียกกลุ่มนี้ว่า "Prolonged diabetes remission"
เบาหวานชนิดที่จะเกิด diabetes remission นั้นคือเบาหวานชนิดที่ 2 โดยเบาหวานชนิดที่ 1 หรือ เบาหวานที่ต้องพึ่งอินซูลินไม่สามารถเกิด diabetes remission ได้แต่สามารถทำให้ระดับน้ำตาลสะสมอยู่ในเป้าหมายได้ เพื่อจะได้ไม่เกิดภาวะแทรกซ้อนจากเบาหวานในอนาคต
เบาหวานชนิดที่ 1 (Type 1 Diabetes) เกิดจากการที่ตับอ่อนไม่สามารถผลิตอินซูลินได้ ดังนั้น ผู้ป่วยจึงจำเป็นต้องได้ยาฉีดอินซูลินทั้งในรูปแบบของปากกา (insulin pen) หรือ ปั๊ม (insulin pump) ซึ่ง เบาหวานชนิดที่ 1 (Type 1 Diabetes) ในต่างประเทศจะมีการรักษาโดยการปลูกถ่ายอวัยวะทั้งในรูปแบบของการปลูกถ่ายตับอ่อน (pancreatic transplant) หรือเซลล์ของตับอ่อน (islet cell transplant) ซึ่งจะอาจเป็นแนวทางการรักษาที่สำคัญในอนาคตที่จะทำให้ผู้ป่วยเบาหวานชนิดที่ 1 หายขาดได้
เบาหวานชนิดที่ 2 (Type 2 Diabetes) เกิดจากการที่มีภาวะดื้ออินซูลิน (insulin resistance) ทำให้อินซูลินที่มีในร่างกายไม่สามารถจัดการระดับน้ำตาลในเลือดได้ มีสาเหตุจากพันธุกรรม (Genetic) การบริโภคหวานหรือแป้งมากเกินไป (Over carbohydrate eating) ขาดการออกกำลังกาย (Lack of exercise) ความอ้วน (Obesity or Overweight) ความเครียด (Stress) นอนหลับพักผ่อนไม่เพียงพอ (Lack or inadequate sleep) เป็นต้น โดยการรักษาหลักของ เบาหวานชนิดที่ 2 (Type 2 Diabetes) มี 3 วิธีคือ
1) การควบคุมอาหารและออกกำลังกาย ซึ่งเป็นวิธีที่สำคัญและเป็นพื้นฐานที่ผู้ป่วยเบาหวานทุกคนควรจะเรียนรู้และปฏิบัติตาม เพราะถ้าเราควบคุมอาหารอย่างถูกวิธีก็สามารถลดยาลงได้ จนอาจจะหยุดยากินหรือยาฉีดก็เป็นได้ ซึ่งก็เท่ากับว่าหายขาดจากเบาหวานหรือสามารถควบคุมระดับน้ำตาลโดยไม่่ต้องใช้ยาเบาหวาน แต่อย่างไรก็ตามก็ควรตรวจน้ำตาลสะสม (HbA1c) และระดับน้ำตาล (Fasting blood sugar/ FBS) ร่วมกับการตรวจตา (Eye examination) การตรวจเท้า (Monofilament testing) และตรวจปัสสาวะ (Urine microalbumin) เป็นประจำ
2) การใช้ยากินเพื่อรักษาเบาหวาน (Oral hypoglycemic agent) เช่น Metformin, Sulfonylurea (Gliplizide, Glimiperide), DDPIV inhibitor (Sitagliptin, linagliptin), SGLT2 inhibitor (Dapaglifozin/forxiga, Canaglifozin/jardiance) เป็นต้น
3) การใช้ยาฉีดเพื่อรักษาเบาหวาน เช่น Insulin (ชื่อการค้าเช่น Insulatard, Lantus, Tresiba) หรือ GLP-1 agonist (ชื่อการค้าเช่น Victoza, Trulicity, Ozempic, Wegovy) รวมทั้งยาผสมระหว่าง insulin และ GLP-1 agonist (ชื่อการค้า Xultophy) ปัจจุบันมีการพัฒนายากิน GLP-1 agonist (ชื่อการค้า Rybelsus)
โดยสรุปจะเห็นว่าการรักษาเบาหวานชนิดที่ 2 ให้หายขาดนั้น ประเด็นสำคัญที่สุดคือการควบคุมอาหารจำพวกคาร์โบไฮเดรต (Dieting) โดยควบคุมปริมาณคาร์โบไฮเดรตให้ไม่เกิน 10-12 ส่วนต่อวัน วิธีการนั้นไม่ได้ยากแต่ต้องศึกษาและเรียนรู้ ได้จากกินอย่างไร ให้ห่างไกลเบาหวาน (How to eat for prevent diabetes mellitus) อย่างอื่นที่ควรทำควบคู่ไปคือการออกกำลังกาย การลดความเครียด และการนอนหลับที่พอเพียง
นอกจากนี้การลดน้ำหนักก็เป็นสิ่งสำคัญในการควบคุมเบาหวานมีการศึกษาพบว่าการผ่าตัดลดความอ้วนหรือ Bariatric surgery สามารถทำให้เบาหวานหายได้ เพราะฉะนั้น การลดน้ำหนักที่ดีสามารถอ่านได้ตามบทความ ลดน้ำหนักด้วยตัวเอง
อย่างไรก็ตามเป้าหมายสำคัญของเบาหวานคือควบคุมระดับน้ำตาลได้ตามเป้าหมายและไม่มีภาวะแทรกซ้อนจากเบาหวาน
Diabetic Remission หรือ หายขาดจากเบาหวานก็ยังเป็นเป้าหมายที่ผู้ป่วยเบาหวาน แพทย์และนักวิจัยยังคงทำการศึกษาอย่างต่อเนื่อง ส่วนอาหารเสริมหรือสมุนไพรต่างๆ ยังไม่มีข้อมูลมากพอทั้งในแง่ของประสิทธฺภาพและความปลอดภัยในระยะยาว แต่การควบคุมอาหารนั้นไม่ได้มีโทษต่อร่างกายแต่ประการใด แต่ต้องอาศัยความรู้ความเข้าใจและความต่อเนื่องเป็นสำคัญเพราะเบาหวานเป็นโรคเรื้อรัง ดังนั้นความต่อเนื่อง ความสม่ำเสมอในการควบคุมอาหารจำพวกคาร์โบไฮเดรตจึงเป็นสิ่งจำเป็นอย่างยิ่ง
หายขาดจากเบาหวาน (Diabetes remission) อาจหมายถึง การที่ผู้ป่วยสามารถควบคุมระดับน้ำตาลได้ตามเป้าหมายเช่นระดับน้ำตาลสะสมต่ำกว่า 7 % (HbA1c < 7%) เป็นเวลาต่อเนื่องอย่างน้อย 6 เดือน โดยใช้เพียงแค่การควบคุมอาหารและการออกกำลังกาย (lifestyle modification) และ/หรือ ใช้ยาเบาหวานเพียงแค่ metformin ชนิดเดียว ทั้งนี้ระดับน้ำตาลที่ควบคุมได้นี้ไม่ได้เกิดจากโรคอื่นๆ เช่่น ภาวะไตหรือตับวายเป็นต้น
"Redefining type 2 diabetes remission"
หายขาดจากเบาหวาน
เรียบเรียงโดยหมอเบาหวาน
"เบาหวานหายได้ถ้าตั้งใจ"
อ้างอิง
1.Kalra S, Singal A, Lathia T. What’s in a name? Redefining type 2 diabetes remission. Diabetes Therapy. 2021 Mar;12(3):647-54.
2.Holst JJ, Madsbad S. What is diabetes remission?. Diabetes Therapy. 2021 Mar;12(3):641-6.
3.Wen W, Girl JZ. how much weight can you lose on ozempic (ozempic for weight loss only).
4.Lewis AL, McEntee N, Holland J, Patel A. Development and approval of rybelsus (oral semaglutide): ushering in a new era in peptide delivery. Drug delivery and translational research. 2022 Jan;12(1):1-6.
5.Singh G, Krauthamer M, Bjalme-Evans M. Wegovy (semaglutide): a new weight loss drug for chronic weight management. Journal of Investigative Medicine. 2022 Jan 1;70(1):5-13.
6.Elliott WT, Chan J. Dulaglutide Injection (Trulicity™). Internal Medicine Alert. 2014 Dec 1;36(23).
โฆษณา