25 ก.ย. 2022 เวลา 04:03 • หุ้น & เศรษฐกิจ
GFPT อยู่ในอุตสาหกรรมไก่แปรรูปครบวงจร ปีนี้ได้เข้าสู่ปีที่ 41 แล้ว อยู่ในกลุ่มเกษตรและอาหาร
GFPT Vision and Mission เน้นผลิตไก่แปรรูปเพื่อการส่งออกเป็นหลัก โดยเป็นหนึ่งในบริษัทของประเทศไทยที่มีการแปรรูปครบวงจร
GFPT เป็นบริษัทแม่ ประกอบด้วย 5 subsidaries company และ 2 Joint Venture
5 Subsidaries ประกอบไปด้วย
KT ผลิตอาหารสัตว์บกและสัตว์น้ำ รวมไปถึงผลิตอาหารไก่เพื่อใช้ในเครือบริษัทด้วย
GP ฟาร์มเลี้ยงไก่ปู่ย่าพันธุ์
FKT ฟาร์มเลี้ยงไก่พ่อแม่พันธุ์
MKS ฟาร์มเลี้ยงไก่เนื้อ
GFF ผลิตลูกชิ้นไส้กรอก เพื่อขายในประเทศ
2 Joint Venture ประกอบไปด้วย ถือหุ้นบริษัทล่ะ 49%
Mckey หนึ่งใน Major Supplier ให้กับแมคโดนัลด์ในโซนเอเชียแปซิฟิก หลักๆจะเป็นญี่ปุ่น สิงคโปร์
GFN มีกลุ่มลูกค้าหลักๆคล้ายกับ Mckey
วงจรการผลิต
Materials/Sources มีวัตถุดิบหลัก 2 อย่าง ข้าวโพด(ซื้อจากในประเทศ) ถั่วเหลือง(นำเข้าจากต่างประเทศ) ในช่วงสองปีที่ผ่านมาวัตถุดิบทั้งสองมีราคาค่อนข้างสูง เป็นปัจจัยที่ทำให้ต้นทุนภาพรวมค่อนข้างสูง อย่างไรก็ตามในปัจจุบันทั้งธุรกิจ Feed Farm Food ได้มีการปรับราคาขายขึ้นแล้ว ทำให้ในแง่ของรายได้หรือกำไรขั้นต้นค่อนข้างดี เมื่อเทียบกับปีก่อนหน้าที่ยังไม่สามารถปรับราคาได้
Feed KT1 ผลิตอาหารสัตว์เพื่อขายภายนอก ไม่ว่าจะเป็นอาหารหมู, วัว, เป็ด, ปลา, กุ้ง
KT2 ผลิตอาหารให้กับไก่เนื้อและไก่พันธุ์ ส่งไปให้บริษัทใน FARM
Farm จะมีบริษัท MKS FKT GP ได้รับวัตถุดิบจาก KT2
Food GFPT บริษัทแม่จะเน้นผลิตเพื่อการส่งออก เน้นไปที่ไก่แปรรูปปรุงสุก เพราะมีราคาขายที่ดีและการแข่งขันในตลาดโลกค่อนข้างต่ำ ถ้าเทียบกับไก่ดิบที่ผลิตค่อนข้างง่าย และมีคู่แข่งอยู่ในตลาดโลกค่อนข้างเยอะ
Future Project เพิ่มโรงเชือดไก่แห่งใหม่มีกำลังการผลิต 150,000 ตัวต่อวัน คาดว่าสร้างเสร็จปีหน้า (ปัจจุบันบริษัทมีกำลังการผลิตอยู่ที่ 150,000 ตัวต่อวัน)
เมื่อสร้างโรงเชือดไก่เสร็จ ต่อมาจะไปสร้างโรงแปรรูปปรุงสุกขนาดกำลังการผลิต 24,000 ตันต่อปี(ปัจจุบันบริษัทมีกำลังการผลิตอยู่ที่ 24,000 ตันต่อปี)ใช้เวลาสร้าง 2 ปีโดยประมาณ
ลักษณะรายได้แต่ล่ะ Product
Feed อาหารสัตว์บก หลักๆจะเป็นอาหารหมู อาหารสัตว์น้ำหลักๆจะเป็นอาหารกุ้ง อาหารปลา ซึ่งช่วงที่ผ่านมายังมีการแข่งขันค่อนข้างสูง อย่างโรคระบาด ASF ในหมู กระทบโดยตรงกับอาหารสัตว์บก
Farm รายได้หลักๆมาจากการขายไก่เป็ดให้กับ GFN ที่เป็น Joint Venture แห่งที่2 รายได้ส่วนอื่นจะมีการขายลูกไก่ให้กับภายนอก
Food เป็นสัดส่วนธุรกิจที่คิดเป็นครึ่งหนึ่งของรายได้ทั้งหมดของบริษัท หลักๆจะเป็นไก่แปรรูปปรุงสุก ส่งออก แล้วก็มีไก่ดิบบางส่วน นอกจากนี้ภายในประเทศยังมีการขายผลพลอยได้จากไก่ เช่น ซี่โครง เครื่องใน ส่วนสุดท้ายจะเป็นไก่แปรรูป เช่น ลูกชิ้นไส้กรอก
ภาพรวมรายได้รวมปี 2021 ที่ผ่านมายังไม่ได้ดีมากนัก รายได้ตกลง5%เมื่อเทียบกับปี2020 เนื่องจากสถานการณ์โควิท โดยรายได้จาก Food คิดเป็น 53% Feed20% Farm27%
หากแตกรายได้ออกเป็นราย Product
Food 53% แจกแจงออกเป็นรายละเอียดด้านล่าง
Chicken export 22%
Chicken Indirect export 13% ส่วนใหญ่ขายให้บริษัท Mckey
Chicken Domestic 12%
Processed Food 6% เช่น ไส้กรอกที่ขายภายในประเทศ
Feed 20% แจกแจงออกเป็นรายละเอียดด้านล่าง
Animal Feed 9% เน้นเป็นอาหารหมู
Fish Feed 6%
Shrimp Feed 5%
Farm 27% แจกแจงออกเป็นรายละเอียดด้านล่าง
Live Chicken 25% ขายไก่เป็ดให้กับ GFN
Doc 2%
รายได้จากการขายภายในประเทศคิดเป็น 78% รายได้จากการขายต่างประเทศคิดเป็น 22%
รายได้จากค่าเงิน คิดเป็นเงินบาท 83% รายได้จากเงิน USD คิดเป็น 17% ทำให้ความเสียงค่าเงินยังไม่ได้สูง และมีการทำ Forward Contract อีกด้วย
อันดับในประเทศ
GFPT ผลิตไก่เป็นอับดับที่ 8 ของประเทศ (คิดเป็น5%ของการผลิตทั้งหมด) แต่ส่งออกเป็นอันดับ 2 ของประเทศ(คิดเป็น13%ของยอดส่งออกทั้งหมด) เป็นบริษัทที่เน้นการส่งออกเป็นหลักเพราะมีมาร์จิ้นที่ดีกว่าภายในประเทศ โดยไก่ดิบนั้นจะส่งออกไปที่ประเทศจีนและประเทศอื่นๆ ขณะที่ไก่ปรุงสุกจะถูกส่งออกไปที่ EU และญี่ปุ้น
2Q2022 Financial Result
รายได้รวมเติบโตต่อเนื่อง รายได้รวมเพิ่มขึ้น 13.6%YoY มาจากปริมาณการขายไก่ดีขึ้นและราคาเป็นไปในทิศทางเดียวกันกับตลาด ธุรกิจส่งออกมีกำลังการผลิตดีขึ้นอย่างชัดเจน จากเมื่อปลายปี2019 โรงงานไฟไหม้ทำให้กำลังการผลิตจาก2,000ตันเหลือ1,000ตันต่อเดือน สามารถกลับมาเข้าสู่กำลังการผลิตเดิมได้เมื่อQ4ปีที่แล้ว
และสินค้าผลพลอยได้จากไก่มีราคาสูงขึ้น ทำให้ภาพรวมผลประกอบการปีนี้ค่อนข้างดี อาหารสัตว์บกโดยเฉพาะหมูรายได้หายไปเยอะ เนื่องจากsupplier หมูหายไปพอสมควร ทำให้ลูกค้าต้องการซื้ออาหารลดลง ขณะที่อาหารสัตว์น้ำจะขึ้นๆลงๆตามแต่ล่ะไตรมาส
Gross profit margin อยู่ที่16.2% ดีกว่าปีที่แล้วที่อยู่ที่10.4%โดยประมาณ
SG&A อยู่ที่ 8.8% ลดลงมาบ้างเนื่องจากค่าขนส่งเรือที่ไปยุโรปลดลง
Net Profit Margin 10.8% ดีกว่าปีก่อนที่ 4.9%
ROA 8.3%
ROE 12.1%
DE ratio 0.44 เท่า
Y2022 Capital Expenditure อยู่ที่ประมาณ 1-1.2 พันล้านบาท โดยเป็นการขยายฟาร์มไก่เนื้อ ไก่พันธุ์ และขยายโรงเชือดไก่
ภาพรวมอุตสาหกรรม
ประเทศไทยเป็นผู้ผลิตไก่ อันดับที่ 6 ของโลก และส่งออกไก่เป็นอันดับที่ 4 โดยคู่แข่งที่สำคัญคือประเทศบราซิล โดยสัดส่วนส่งออกเทียบกับการผลิตใกล้เคียงกับประเทศไทย ที่ 28-29% ประเทศบราซิลจะเน้นไก่สดแช่แข็ง ประเทศไทยเน้นไก่แปรรูปปรุงสุก
ในช่วง 40 ปีที่ผ่านมาของอุตสาหกรรมไก่ เน้นส่งออกไก่สดแช่แข็งเป็นหลัก จนกระทั่งเกิดไข่หวัดนกปี 2004 ทำให้ภาพรวมอุตสาหกรรมเปลี่ยนมาเป็นไก่แปรรูปปรุงสุกจนถึงปัจจุบัน ค่อนข้างส่งผลบวกระยะยาวเพราะไม่มีคู่แข่งที่ชัดเจน เครื่องจักรและแรงงานของประเทศไทยมีคุณภาพทำให้สามารถแข่งขันได้ค่อนข้างดี การแข่งขันในตลาดโลกจึงค่อนข้างดีในหลายปีที่ผ่านมา
GFPT ได้ส่งออกไก่ไปยังประเทศญี่ปุ่น(อันดับ1) จีน(อันดับ3) อังกฤษ(อันดับ4) สหภาพยุโรป(อันดับ5) ต่างเป็นประเทศที่มีการนำเข้าติดอันดับ Top5 ของโลก นอกจากนี้การได้เปิดตลาดประเทศใหม่อย่างซาอุดิาอารเบียซึ่งมีการนำเข้าไก่เป็นอันดับ 6 ของโลก แต่อาจจะยังไม่เห็นตัวเลขที่ชัดเจนมากนัก เนื่องจากขั้นตอนทางเอกสารที่ค่อนข้างยุ่งยาก
ถั่วเหลือง กากถั่วเหลืองยังมีราคาลดลง ทำให้ต้นทุนน่าจะไม่สูงในช่วงครึ่งปีหลัง ขณะที่ราคาไก่ยังค่อนข้างดี อย่างไรก็ตามค่าเงินเยนที่อ่อนค่าในประเทศญี่ปุ่นทำให้ลูกค้าขอต่อรองราคาลดลง ซึ่งจะส่งผลให้รายได้ของ GFPT ลดลงเล็กน้อย
.
.
โอกาส
ค่าเงินบาทอ่อนค่า
Demand ที่เพิ่มขึ้นในการบริโภคไก่
Supply หมูลดลง
อังกฤษออกจากสหภาพยุโรป ทำให้ไม่ได้ติดโควต้าในการส่งออกอีกต่อไป
ความเสี่ยง
ราคาวัตถุดิบที่เคยสูงตั้งแต่ครึ่งปีแรก แต่มองว่าสะท้อนออกมาหมดแล้ว
โควิท 19 ยังไม่จบดี
ค่าระวางเรือยังค่อนข้างสูงอยู่
สินค้าไก่เป็นสินค้าควบคุม การปรับราคาทำได้ค่อนข้างลำบาก
ในประเทศอังกฤษติดปัญหาโควต้าการส่งออก
2022 Guidance
Revenue 15-20% growth from 2021 sales
Gross Profit Margin 14-15%
SG&A 9-9.5%
Financial Cost 1.5-2.5%
Effective Tax rate 13-15%
Capex 1-1.2 Billion baht
Q&A
1. เรามีส่งออกผลิตภัณฑ์ใดไปซาอุดิอารเบีย
ANS ปีนี้ในทางทฤษฏีอนุญาตให้ส่งออกได้แล้ว เนื่องจากโรงงานผ่านคุณภาพ แต่ปริมาณไก่บริษัทยังมีเท่าเดิม ขณะที่การส่งออกไปยังประเทศที่ญี่ปุ่นยุโรป ยังค่อนข้างดี ทำให้ยังไม่ได้ส่งออกให้แก่ซาอุดิอารเบีย แต่หากกำลังการผลิตกลับมาเพิ่มสูงกว่านี้ ซาอุดิอารเบียจะเป็นประเทศที่น่าจะเป็นตลาดใหม่ของกลุ่ม GFPT
2.ภัยแล้งจากต่างประเทศ จะทำให้ต้นทุนอาหารสัตว์สูงเพิ่มขึ้นมากแค่ไหน
ANS ราคาอาหารสัตว์ 2021 และ 2022 ครึ่งปีแรก สำหรับตลาดโลกวัตถุดิบราคาค่อนข้างสูง ประกอบกับสงครามระหว่างรัสเซียและยูเครนซึ่งเป็นผู้ผลิตข้าวโพดหลัก ดังนั้นผลกระทบจะยังคงอยู่แต่สัญญาณในช่วงไตรมาส 3 เริ่มดีขึ้น ไม่ว่าจะเป็นปริมาณการผลิตข้าวโพดหรือถั่วเหลืองสูงขึ้น สรุปว่าราคาก็น่าจะยกคงสูงอยู่สลับกับลดลงบ้าง ในช่วงที่ผลผลิตออกมาค่อนข้างเยอะ ราคาคงไม่ได้กลับไปต่ำเหมือนช่วง 5 ปีที่แล้ว
3. ค่าเงินเยนอ่อนมีผลต่อยอดขายหรือไม่
ANS ถ้าเป็นสกุลเงินที่ใช้โดยตรงเราใช้ US Dollar เป็นหลัก เงินเยนจึงไม่ได้มีผลกระทบโดยตรง แต่ประเทศผู้นำเข้าหลักอย่าง ญี่ปุ่น เวลาแปลงค่าเงินจะได้รับผลกระทบ ทำให้ราคาขายในญี่ปุ่นอาจจะลดลงมาบ้าง แต่ถ้าแยกเป็นรายประเทศญี่ปุ่นเป็นประเทศที่มียอดขายสูงสุด รวมไปถึงMarginดีมากที่สุด ดังนั้นการที่ลดราคาขายลงบ้างก็อาจจะไม่ได้รับผลกระทบอะไร อัตรากำไรอาจจะลดลงมาบ้าง แต่อัตรากำไรก็ยังถือว่าดีอยู่เมื่อเทียบกับประเทศอื่นๆ
4. แนวโน้มวัตถุดิบQ3 Q4 เป็นอย่างไรบ้าง
ANS วัตถุดิบในช่วง Q3 ยังมีของStockของเก่าที่ต้นทุนวัตถุดิบยังค่อนข้างสูงอยู่ แต่ไตรมาส4มีแนวโน้มที่จะค่อนข้างดีขึ้น ที่ราคาวัตถุดิบข้าวโพดและถั่วเหลืองเริ่มลดลงมาบ้าง
5. FTA กับทางซาอุเริ่มรับรู้รายได้หรือยัง
ANS ปัจจุบันยังไม่ได้ส่งออกไก่ไปยังซาอุ แต่ถ้ามีความพร้อมในการผลิตไปให้ซาอุดิอารเบียซึ่งเป็นไก่สดแช่แข็ง ไม่ตรงกับสินค้าของGFPTสักเท่าไหร่ที่เป็นไก่แปรรูปปรุงสุก แต่ถ้ามีจำนวนไก่ที่เพิ่มขึ้นในอนาคตเนี่ยก็น่าสนใจ ลูกค้าจากทางซาอุมีสอบถามเข้ามาเรื่อยๆ แต่เราก็ยังไม่ได้ส่งออกไป
6.หนี้สินของบริษัท ปัจจุบันมีต้นทุนดอกเบี้ยเฉลี่ยเท่าไหร่
ANS ปัจจุบันต้นทุนค่อนข้างต่ำ ช่วงปีที่ผ่านมาอยู่ที่ประมาณ 1.5-2.5% หนี้ส่วนใหญ่มาจากการกู้ยืมบุคคลที่เกี่ยวข้อง ทำให้มีความยืดหยุ่นค่อนข้างสูง เป็นอีกหนึ่งข้อดีของกลุ่มบริษัท
7.อีก2-3ปี เมื่อโรงงานขายไก่สร้างเสร็จ จะมีกำลังการผลิตทั้งไก่สดแช่แข็งและไก่แปรรูปปรุงสุกอย่างล่ะกี่ตัน
ANS โรงงานใหม่มีกำลังการผลิตใกล้เคียงเดิม ดังนั้นประมาณการเบื้องต้นก็คือเป็นเท่าตัวโดยประมาณ ในกรณีที่เราผลิตได้เต็มกำลังการผลิต แต่ตอนที่ผลิตเสร็จกำลังการผลิตน่าจะได้เพียงสักครึ่งเดียวก่อน
8.ต้นทุนส่วนใหญ่ของ GFPT เป็นอะไร
ANS ต้นทุนส่วนใหญ่จะเป็น ตัว Raw material ที่เป็นอาหารสัตว์ คิดเป็น70-75% เช่น ข้าวโพด ถั่วเหลือง ขณะที่ต้นทุนอื่นๆเป็นค่าแรง ค่าดำเนินการ
9.แนวโน้มรายได้ Q3 Q4 ดีขึ้นหรือไม่
ANS ถ้าเปรียบเทียบกับปีก่อนแน่นอนว่าดีขึ้น หากเปรียบกับครึ่งปีแรกที่มีรายได้ค่อนข้างดี ยังมองว่าสามารถเท่าเดิมหรืออาจจะดีขึ้นมากกว่าเดิม เนื่องจากQ3เป็นฤดูกาลส่งออก แล้วค่อยมาลดลงในQ4
โฆษณา