25 ก.ย. 2022 เวลา 15:31 • ไลฟ์สไตล์
ภาวะลื่นไหล (Flow)
บุคคลที่เรียนรู้จะควบคุมประสบการณ์ภายในของตนเอง จะสามารถกำหนดคุณภาพชีวิตของเขาได้
-Mihaly Csikszentmihalyi
คุณเคยหลงใหลกับอะไรบางอย่างจนลืมเวลาไหมครับ? คุณรู้สึกกำลังทำสิ่งที่ตนเองรักอยู่เเล้วจู่ๆ ก็เวลาผ่านไป 2-4 ชม. ราวกับวาปได้ไม่มีผิด
ภาวะที่จิตใจของเราเป็นหนึ่งอันเดียวกับกิจกรรมที่เราชอบเรียกว่า "ภาวะลื่นไหล" (Flow)
มิฮาย ซิกเซนต์มิฮาย นักวิจัยผู้เชี่ยวชาญด้านภาวะลื่นไหล ได้ทำการสัมภาษณ์เเละเก็บข้อมูลคนจากทั่วทุกมุมโลก ทุกช่วงอายุเเล้วดูว่าพวกเขาทำกิจกรรมอะไรเเล้วเกิดภาวะลื่นไหลขึ้นบ้าง
คำตอบก็คือ กิจกรรมตั้งเเต่การออกกำลังกาย,การมีเพศสัมพันธ์ไปจนถึงการคิดเชิงวิทยาศาสตร์หรือการเล่นดนตรีก็ล้วนเเล้วเเต่ทำให้เกิดภาวะลื่นไหลได้ทั้งนั้น
จุดสำคัญ คือ ภาวะลื่นไหลนี้เกิดกับคนทุกเพศ ทุกวัย ทุกระดับฐานะ ไม่จำกัดเลยครับ
ที่เป็นเช่นนี้เพราะว่า กิจกรรมที่ก่อให้เกิดภาวะลื่นไหลนั้นเเท้ที่จริงเเล้วมันมีเงื่อนไขทีเหมือนกันนั่นเอง โดยเงื่อนไขดังกล่าวได้เเก่
1.กิจกรรมที่ทำต้องใช้ทักษะของตนเองเท่ากับความท้าทาย พูดง่ายๆ คือ เป็นกิจกรรมที่ไม่ง่ายหรือยากเกินไป ถ้าง่ายไปก็จะเบื่อ ถ้ายากไปก็จะกังวล อย่างเเผนภาพด้านล่างนี้ครับ
เมื่อความท้าทายของกิจกรรมเท่ากับความสามารถก็จะทำให้เกิดภาวะลื่นไหลได้ เเต่ว่าเมื่อทักษะของเราพัมนาขึ้นอีก ก็ต้องเจอกับกิจกรรมที่มีความท้าทายมากขึ้นเรื่อยๆด้วย เพื่อให้เกิดความเท่าเทียมกัน
2.กิจกรรมที่เราทำอยู่ เราต้องทุ่มเทกับมัน มีสมาธิจดจ่อ มีความใส่ใจเเละไม่วอกเเวกไปเรื่องอื่นที่ไม่เกี่ยวข้อง
3. ต้องมีเป้าหมายที่ชัดเจน : นั่นคือเป้าหมายต้องระบุให้ชัดว่า เราทำอะไร? (what) ทำไปเพื่ออะไร? (when) ทำไปทำไม? (why)
4.นอกเหนือจากการมีเป้าหมายที่ชัดเจนเเล้ว ยังต้องมีผลตอบรับที่ชัดเจนด้วย จึงจะเข้าใจว่าสิ่งที่เรากำลังทำอยู่ในนั้นดีหรือไม่ดี กิจกรรมบางอย่างมีผลตอบรับที่ชัดเจนมาก เนื่องจากมีกติกาตายตัว อย่างเช่น การเล่นหมากรุก เเต่บางอย่างก็ไม่ชัดเจน อย่างเช่น การเขียนหนังสือ ถ้ากิจกรรมที่เราทำ มีผลตอบรับไม่ชัดเจน เราต้องสร้างขึ้นมาเอง เพื่อเป็นเกณฑ์วัดประเมินผล
5.มีจุดมุ่งหมายในตนเอง หมายถึงสิ่งที่ทำนั้นทำไปเพื่อตัวของมันเอง ไม่ใช่เเสวงหาผลตอบรับจากภายนอก อย่างเช่น ถ้าเราชอบอ่านหนังสือ เราก็อ่านหนังสือเพราะชอบอ่าน ไม่ใช่เพราะว่าเราอ่านเเล้วได้เงิน หรือถ้าชอบเล่นดนตรี เราชอบดนตรีเพราะมันสนุก เเต่ไม่ได้เล่นเพราะอยากได้ชื่อเสียง เป็นต้น
สรุปเเผนภาพของ Flow ดังนี้ครับ
เพื่อนๆลองนำขั้นตอนของ Flow ไปปรับใช้ในชีวิตประจำวันกันนะครับ ลองเริ่มจากสิ่งที่เราชอบทำอยู่เเล้วก่อน เสร็จเเล้วก็ลองปรับกิจกรรมให้สอดคล้องกับขั้นตอนของ Flow ดูครับ รับรองว่าชีวิตจะดีขึ้นเเละมีความสุขมากขึ้นจริงๆครับ
โฆษณา