26 ก.ย. 2022 เวลา 10:00 • ยานยนต์
ทำไม "Toyota" ถึงยอมตกขบวน ไม่ผลิต EV ทั้งคันออกมาขาย?
2
ชวนอ่านเบื้องลึก! ทำไม "Toyota" เบอร์หนึ่งค่ายรถยนต์โลก ถึงยอมตกขบวน ไม่ผลิตรถ EV ทั้งคันออกมาขาย ทั้งที่กระแสรถยนต์ไฟฟ้า หรือ รถอีวี มาแรงสุดๆ
1
บทความโดย สุรินทร์​ เจน​พิทยา​ | Insight​ การเมือง​เศรษฐกิจ​โลก
1
ทำไม "Toyota" ถึงยอมตกขบวน ไม่ผลิต EV ทั้งคันออกมาขาย?
ท่ามกลางกระแส "EV" ที่ใครๆ ก็พูดถึง ค่ายรถทั้งรายเก่าและหน้าใหม่ตบเท้าลงสนามเพียบ แต่สำหรับ “Toyota” ค่ายรถที่มีส่วนแบ่งการตลาดสูงที่สุดในโลก ด้วยยอดขายสูงถึง 10.5 ล้านคัน ในปี 2021 กลับมีสัดส่วนการผลิตรถที่ใช้เชื้อเพลิงเดิม ซึ่งก็คือ "น้ำมัน" เป็น “ส่วนใหญ่”
4
หรือไม่ก็เป็น "รถไฮบริด" ลูกผสมระหว่างเชื้อเพลิงกับไฟฟ้า โดย EV หรือ “รถไฟฟ้า 100%” ที่เราเห็นจาก Toyota กลับมีเพียงแค่รุ่น bZ4X เท่านั้น ในขณะที่คู่แข่งกลับมีหลายรุ่นมากมาย อย่างค่าย GM วางเป้าหมายหยุดผลิตรถดีเซลเบนซินภายในปี 2035 และแทนที่ด้วยรถไฟฟ้าทั้งหมด บริษัท Cadillac กับ Buick ในเครือ GM ก็วางเป้าแทนที่ด้วยรถไฟฟ้าทั้งหมดในปี 2030 เช่นกัน
8
ด้วยเหตุนี้จึงเกิดคำถามตามมาว่า Toyota บริษัทรถยิ่งใหญ่ระดับโลก เหตุใดจึง “ตกขบวน” ไม่ผลิตรถ EV ทั้งคันออกมา ทั้งที่กระแสรักโลกก็มาแรง
5
..หรือนี่ คือ สิ่งที่ Toyota "เลือก" เอง?
ภาพเเสดงยอดขายรถ EV สูงขึ้นเรื่อยๆ (ภาพ:EV Volumes)
บทความนี้จะพาไปค้นหาเหตุผลกัน โดยเราได้พบว่ามีอยู่ 4 เหตุผลหลักที่ Toyota ไม่ผลิต EV ทั้งคันออกมา ดังนี้
1
1. รถไฟฟ้าไม่ได้รักโลกจริง
2
เรามักได้ยินกันว่าถ้าอยากรักโลก ให้ใช้รถ EV แต่ "อาคิโอะ โตโยดะ" ประธาน Toyata กลับมองว่า รถไฟฟ้าไม่ได้ช่วยโลกจริง เพราะเมื่อเราผลิตรถไฟฟ้าออกมามากขึ้นเท่าใด เราก็ต้องใช้พลังงานไฟฟ้ามากขึ้นเท่านั้น และพลังงานที่ว่านี้ก็มาจากถ่านหินและก๊าซธรรมชาติ อันเป็นตัวเร่งภาวะโลกร้อน
18
เนื่องจากก๊าซธรรมชาติ (Natural Gas) ถือเป็นเชื้อเพลิงฟอสซิลที่ปล่อยสารมีเทน และคาร์บอนไดออกไซด์ทำลายบรรยากาศโลกได้ ในขณะที่โรงไฟฟ้านิวเคลียร์ ที่แม้จะเป็นพลังงานสะอาดแต่ก็เสี่ยงรั่วไหล หากเกิดภัยพิบัติอย่างแผ่นดินไหว และสึนามิดังที่เคยเกิดขึ้นแล้วในวิกฤติโรงไฟฟ้านิวเคลียร์ฟุกุชิมะ ประเทศญี่ปุ่น เมื่อปี 2554
5
2. โครงสร้างพื้นฐานรถไฟฟ้าเสี่ยงภัยพิบัติและลงทุนสูง
7
ประธาน Toyota มองว่า ถ้าต้องวางโครงสร้างในญี่ปุ่นให้ผลิตไฟฟ้าเพียงพอสำหรับรถทุกคันที่เปลี่ยนเป็นพลังงานไฟฟ้า จะต้องใช้งบสูงถึง 14-37 ล้านล้านเยน (3.6 – 9.5 ล้านล้านบาท) อีกทั้งเมื่อเข้าสู่ฤดูร้อนที่ใช้ไฟมาก หรือเกิดภัยพิบัติต่อโรงไฟฟ้าไม่ว่าสึนามิหรือแผ่นดินไหว ก็จะกระทบต่อการจ่ายไฟโดยรวมได้ ด้วยเหตุนี้ทางโตโยดะ จึงผลิตรถแบบไฮบริดแทน เพื่อกระจายความเสี่ยงมาอยู่ที่เชื้อเพลิงเดิมด้วย
17
3. วัตถุดิบแบตเตอรี่ EV ต่อไปจะขาดแคลน
2
วัตถุดิบผลิตแบตเตอรี่ที่สำคัญมีอยู่ 3 อย่าง หากขาดไปจะผลิตแบตเตอรี่ไม่ได้เลย คือ 1.ลิเธียม 2.โคบอลต์ 3.นิกเกิล เหล่านี้เป็น “แร่ที่มีจำกัด และหมดไปได้”
12
แร่ตัวที่หนึ่ง ลิเธียม เป็นโลหะที่ไม่ใช่เหล็ก(Non-Ferrous Metal) หรือที่เรารู้จักกันว่า “ทองคำขาว” โดยสำนักงานพลังงานระหว่างประเทศ(IEA) คาดว่าจะเกิดความขาดแคลนลิเธียมภายในปี 2025
7
ความต้องการลิเธียมสูงขึ้นเรื่อยๆตามกระเเสโลก จนเสี่ยงที่อนาคตอันใกล้จะขาดเเคลน | ภาพ: Statista
แร่ตัวที่สอง โคบอลต์ โดยมากกว่า 70% ถูกผลิตในประเทศคองโก และสำนักงาน IEA ก็คาดว่ามีโอกาสจะขาดแคลนภายในปี 2030 อย่างเร็วคือในปี 2025
6
แร่ตัวที่สาม นิกเกิล ถูกผลิตมากที่สุดในอินโดนีเซีย (นี่เป็นเหตุผลว่า ทำไมอินโดฯถึงเนื้อหอมจน Tesla เข้ามาตั้งฐานผลิต EV และแบตเตอรี่ EV ในอินโดนีเซีย) โดยคาดกันว่า โลกจะขาดแคลนแร่นิกเกิล ภายในปี 2040
5
ดังนั้นแม้ว่าอนาคต ความต้องการรถ EV จะเพิ่มสูงขึ้นเรื่อยๆ แต่จะประสบปัญหาขาดแคลนวัตถุดิบผลิต ซึ่ง Toyata ไม่ต้องการเจอความเสี่ยงนี้ในระยะยาว อีกทั้งยิ่งมีผู้เล่น EV ในตลาดมาก การแย่งชิงทรัพยากรก็สูงขึ้นตามไปด้วย
3
4. Toyota ไม่ต้องการแข่งในสนาม Red Ocean
4
เราจะเห็นได้ว่ารถเกือบทุกค่ายต่างลงมาทำรถ EV นั่นจะทำให้การแข่งขันดุเดือดอย่างมาก อีกทั้งยังมีเจ้าดังอย่าง Tesla ครองตลาดอยู่ด้วย จึงย่อมไม่ใช่เรื่องดีต่อ Toyota นักที่จะแข่งในตลาด Red Ocean เช่นนี้ ดังนั้น Toyotaจึงหันมาลงตลาด Blue Ocean แทนที่ยังไม่ค่อยมีใครรู้จักกันอย่าง “รถไฮโดรเจน”
11
รถไฮโดรเจนยังมีผู้เล่นไม่กี่เจ้า หลักใหญ่มีเพียงเเค่ Hyundai กับ Toyota | ภาพ: SNE Research
รถไฮโดรเจน ก็คือรถที่ใช้เชื้อเพลิงไฮโดรเจน เป็นธาตุที่พบมากที่สุด สามารถสกัดได้จากน้ำ จึงไม่มีวันหมดสิ้นและเป็นพลังงานสะอาดอีกด้วย โดยรถไฮโดรเจนในตลาดปัจจุบันมีเพียง 2 เจ้าหลัก คือ Toyota Mirai และ Hyundai Nexo
7
ในปีนี้ 2022 Toyota เพิ่มการทุ่มพัฒนาถังเชื้อเพลิงไฮโดรเจนให้มีขนาดเล็กลงและมีประสิทธิภาพมากขึ้น
ภาพเเสดงเเนวโน้มความต้องการใช้ไฮโดรเจนในอุตสาหกรรมต่างๆ ที่จะเพิ่มขึ้นเรื่อยๆในอนาคต | ภาพ: Hydrogen Council
โดยสรุปแล้วก็คือ Toyota มองว่า การจะลงสนามผลิตรถ EV ในระยะยาวนั้น มีความเสี่ยงขาดแคลนวัตถุดิบทำแบตเตอรี่ การผลิตไฟฟ้าที่ไม่เพียงพอ อาจมีปัญหาเมื่อต้องเจอภัยพิบัติ และยังเป็นตลาดแข่งขันสูง ด้วยเหตุนี้ Toyota จึงไม่ทุ่มที่จะเปลี่ยนเป็นรถไฟฟ้าทั้งหมดตามกระแส แต่เลือกที่จะ “กระจายความเสี่ยง” ผลิตรถที่ใช้ทั้งน้ำมันสลับกับไฟฟ้าได้ พร้อมกับแสวงหาตลาดใหม่ที่ยังไม่ค่อยมีใครรู้จัก นั่นก็คือตลาดรถไฮโดรเจน!
11
อ้างอิง : cnbc(1) , nytimes , weforum , steelnews , cnbc(2) , japantimes
2
โฆษณา