26 ก.ย. 2022 เวลา 03:12 • ปรัชญา
วิทยาศาตร์เป็นตัวอย่างของระบบแสวงหาความรู้ที่วางอยู่บนเหตุผล เมื่อเราต้องการให้เยาวชนของเราคิดอย่างมีเหตุผล จึงสอนวิทยาศาสตร์ในโรงเรียน
เครดิตภาพ : https://www.amarinbabyandkids.com
แต่ผลที้ได้ คนที่ใช้แอพพ์ดูดวง ฤกษ์ยามตรวจดวงชะตา โดยมากกลับเป็นผู้ที่ผ่านการศึกษาของรัฐมาแล้ว หลายคนอาจจบปริญญาตรี หรือสูงกว่านั้น
ยิ่งไปกว่านั้น นักพูด สร้างแรงบันดาลใจที่เรียกว่าไลฟ์โค้ช ที่มักนำพุทธพจน์ ยกหลักธรรมของพระพุทธเจ้า มานำเสนอจนโด่งดังมีชื่อเสียง ก็ยังเชียร์ ลูกหาบแฟนเพจ ใช้แอพพ์ดูดวงตรวจชะตา กันอย่างคึกคัก ซึ่งสิ่งที่นำเสนอทั้งสองอย่างที่ว่ามันหักล้างกันเอง...
เครดิตภาพ : https://www.shopback.co.th/blog
นั่นแสดงว่าเอาเข้าจริง "เหตุผล" ไม่ใช่สิ่งที่สามารถเอาชนะความเชื่อได้ วิทยาศาตร์อาจเข้าใจผิดก็ได้ว่า เหตุผลจะช่วยให้มนุษย์ ชนะทุกอย่าง เพราะสิ่งที่มีพลังรุนแรงที่สุดในตัวมนุษย์คือ "ความเชื่อ"
อริสโตเติล (Aristotle)เองก็คงต้องอาจกลับมาทบทวนคำพูด ที่บอกว่า มนุษย์เป็นสัตว์ที่มีเหตุผล (Humen being are rational) เพราะจะว่าไปแง่นี้ มนุษย์นั้นแหละไร้เหตุผลสิ้นดี
1
เครดิตภาพ : blog.sansiri com
วิทยาศาสตร์อาจมองศาสนา โหราศาสตร์ และไสยศาสตร์ ว่าเป็นเรื่องของความเชื่อ ส่วนวิทยาศาตร์เป็นความรู้ แต่ในขณะเดียวกัน เนื้อหาจำนวนมากของวิทยาศาสตร์สมัยใหม่ ก็อาจเรียกได้ว่าเป็นความเชื่อได้เหมือนกัน เช่น เชื่อกันว่า จักรวาลเกิดจากการระเบิดครั้งใหญ่ เชื่อว่าแสงเดินทางได้เร็วที่สุดไม่มีอะไรเร็วกว่านี้
เครดิตภาพ : https://my-best.in.th
ศาสนาเองก็มีเนื้อหาบางอย่างก็จัดเป็นความรู้ เช่น พระพุทธศาสนา สอนว่าถ้าเราทำดี เราก็จะสบายใจ ศาสนาคริสต์สอนว่า ความรักทำให้เรามีความสุข ซึ่งคำสอนทางศาสนาเหล่านี้เป็นความรู้ที่พิสูจน์ได้
หากมองศาสนาในแง่ของความเชื่อ ก็ไม่แปลกที่จะแรงทั้งในแง่ที่สร้างสรรค์และแง่ที่งมงาย แต่ถ้าเรามองถึงความเป็นมนุษย์ ไม่ได้มองอย่างที่เป็นศาสนิกของสังกัดใด ความเป็นคนในตัวเราเป็นคุณสมบัติพื้นฐานที่มีมาก่อนอะไรทั้งหมด
เพราะเราเป็นคน ก่อนที่จะมีเครื่องแบบยี่ห้อใดๆมาห่อหุ้มชีวิต
การเป็นชาวพุทธ คริสต์ มุสลิม หรือ ฮินดู เป็นสิ่งที่มีคุณค่า ไม่สามารถอธิบายระบบคุณค่านี้จากสายตาคนนอกได้
เครดิตภาพ : electron.rmutphysics.com
การมีศาสนา จึงช่วยให้เรามีหลักในการใช้ชีวิต นี่คือความจริงที่เถียงได้ยาก
และแม้ไม่มีอะไรชนะความเชื่อได้ แต่ความเชื่อเป็นสิ่งที่พัฒนาได้ และควรพัฒนาไปตลอดชีวิต โดยใช้ความเชื่อที่มีเพื่อพัฒนาตนเองซึ่งอาจได้ผลจริงจังกว่าการใช้เหตุผล เพราะความเชื่อไม่ใช่สิ่งที่เราต้องรังเกียจ
เครดิตภาพ : line to day
แต่อยู่ที่ว่า เราจะมีวิธีพัฒนาความเชื่อจากหยาบๆไปสู่ความละเอียดประณีตขึ้นอย่างไรนั่นเอง...
วิรุฬหก
โฆษณา