26 ก.ย. 2022 เวลา 10:51 • การศึกษา
แนวข้อสอบ ก.พ. (บทความสั้น)
1. ข้อใด ไม่ใช่ สาระที่ปรากฏในข้อความต่อไปนี้
"อารยธรรมของมนุษย์เราในทุกวันนี้ตั้งอยู่บนความย่อยยับของดินฟ้าอากาศ นี่ไม่เป็นเพียงข่าวเท่านั้น หากแต่สามารถรับรู้ได้จากการอ่านหนังสือ ดูโทรทัศน์ ฟังวิทยุ และฟังคนอื่นพูดกันในเชิงวิชาการ"
  • 1.
    สังคมโลกกำลังทำลายตนเองเพื่อสร้างความเจริญ
  • 2.
    สื่อต่าง ๆ บอกให้เรารู้ว่าอารยธรรมได้ทำลายดินฟ้าอากาศ
  • 3.
    สิ่งแวดล้อมถูกทำลายเพื่อให้มนุษย์เรามีความเป็นอยู่ที่ดีขึ้น
  • 4.
    ความก้าวหน้าทางวิทยาการและเทคโนโลยีมีความสัมพันธ์กับธรรมชาติ
ตอบ 1. สังคมโลกกำลังทำลายตนเองเพื่อสร้างความเจริญ
2. ข้อความต่อไปนี้มีสาระสำคัญตรงกับข้อใด
"อดีตเป็นสิ่งที่เราเปลี่ยนแปลงไม่ได้แล้ว แต่ช่วงขณะที่ยังเป็นปัจจุบัน เป็นความจริง และรอการกระทำของเรานั้น ทำไมจึงไม่ไตร่ตรองให้รอบคอบเสียก่อนแล้วค่อยทำลงไป มันอาจยากลำบากในขณะนั้น แต่ก็คุ้มค่าที่จะฝืนใจข่มใจ ฝึกดัด ให้ตัวเองเป็นคนรอบคอบต่อไปจะได้ไม่ต้องวกคิดถึงเรื่องที่ผ่านไปแล้ว ทำให้ใจมัวหมองและท้อแท้"
  • 1.
    ช้า ๆ ได้ พร้าสองเล่มงาม
  • 2.
    คิดใคร่ครวญก่อนลงมือทำ
  • 3.
    ไม่ควรคิดย้อนกลับถึงอดีต
  • 4.
    ลำบากก่อนจะสบายในภายหลัง
ตอบ 2. คิดใคร่ครวญก่อนลงมือทำ
3. "จากกระแสของการทะลักเข้ามาตลอดแนวชายแดน ทำให้มีปริมาณเพิ่มขึ้นอย่างน่ากลัวยิ่งไปกว่านั้นยังเป็นพาหนะนำโรคที่ประเทศไทยควบคุมได้แล้วกลับมาแพร่ระบาดใหม่อีกนับว่าเป็นปัญหาสำคัญของชาติทีเดียว"
ข้อความนี้สรุปได้อย่างไร
  • 1.
    ปัญหาโรคติดต่อ
  • 2.
    ปัญหาฝนตกน้ำท่วม
  • 3.
    ปัญหาแนวชายแดน
  • 4.
    ปัญหาลักลอบหลบหนีเข้าเมือง
ตอบ 1. ปัญหาโรคติดต่อ
4. "การกำหนดอัตราเงินเดือนของข้าราชการนั้น นอกจากจะต้องให้มีรายได้เพียงพอกับการยังชีพแล้วยังต้องคำนึงถึงศักดิ์ศรีและสถานภาพในสังคมตลอดจนอุดมการณ์และความรับผิดชอบในการใช้วิชาชีพในการปฏิบัติราชการให้มีประสิทธิภาพอีกด้วย"
สาระสำคัญของข้อความนี้คือข้อใด
  • 1.
    วิธีการกำหนดอัตราเงินเดือน
  • 2.
    ข้อพิจารณาในการกำหนดอัตราเงินเดือน
  • 3.
    ขั้นตอนในการกำหนดอัตราเงินเดือน
  • 4.
    ข้อจำกัดในการกำหนดอัตราเงินเดือน
ตอบ 2. เนื่องจาก ต้องคำนึงถึงรายได้ ศักดิ์ศรี สถานภาพในสังคม ฯลฯ โดยนำมาใช้ประกอบการพิจารณาอัตราเงินเดือน
5. "เนื่องจากพืชมีการสังเคราะห์แสงซึ่งสามารถใช้ก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์เปลี่ยนออกมาเป็นก๊าซออกซิเจนได้ ดังนั้น พืชจึงเป็นตัวการสำคัญที่สำคัญที่ทำให้เกิดความสมดุลของก๊าซทั้งสองในบรรยากาศ"
ข้อความนี้สรุปได้ว่าอย่างไร
  • 1.
    ความสมดุลของบรรยากาศเกิดขึ้นจากการสังเคราะห์แสงของพืช
  • 2.
    การสังเคราะห์แสงของพืชทำให้ก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์และก๊าซออกซิเจนมีจำนวนมากขึ้น
  • 3.
    ความสมดุลของก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์และก๊าซออกซิเจนในบรรยากาศเกิดจากการสังเคราะห์แสงของพืช
  • 4.
    กระบวนการสังเคราะห์แสงของพืชเกิดจากก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์และก๊าซออกซิเจนในบรรยากาศ
ตอบ 3. เนื่องจาก "พืชมีการสังเคราะห์แสงซึ่งสามารถใช้ก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์เปลี่ยนออกมาเป็น ก๊าซออกซิเจน ได้ ดังนั้น พืชจึงเป็นตัวการสำคัญที่ทำให้เกิดความสมดุลของก๊าซทั้งสองในบรรยากาศ"
6. "การใช้ฮอร์โมนเอสโตรเจนหรือยาสำหรับสตรีในวัยหมดระดูจำเป็นต้องได้รับคำแนะนำจากแพทย์ เนื่องจากอาจเกิดผลเสียหรืออันตรายได้ แพทย์จะต้องประเมินผลได้ผลเสียก่อนที่จะให้ฮอร์โมนเพศทดแทน"
ข้อความนี้สรุปได้ว่าอย่างไร
  • 1.
    ฮอร์โมนเอสโตรเจนอาจก่อให้เกิดผลเสียต่อสตรีวัยหมดระดู
  • 2.
    ฮอร์โมนเอสโตรเจนเป็นยาอันตรายต่อสตรีวัยหมดระดู
  • 3.
    สตรีวัยหมดระดูจะใช้ฮอร์โมนเอสโตรเจนได้ก็ต่อเมื่อแพทย์สั่ง
  • 4.
    ฮอร์โมนเอสโตรเจนจะต้องได้รับการวิเคราะห์จากแพทย์ก่อนนำไปใช้
ตอบ 1. "การใช้ฮอร์โมนเอสโตรเจนหรือยาสำหรับสตรีในวัยหมดระดูจำเป็นต้องได้รับคำแนะนำจากแพทย์ เนื่องจากอาจเกิดผลเสียหรืออันตรายได้ แพทย์จะต้องประเมินผลได้ผลเสียก่อนที่จะให้ฮอร์โมนเพศทดแทน" ดังนั้น ข้อ 2. ใช้คำว่า "เป็นยาอันตราย" จึงผิด ข้อ 3. ใช้คำว่า "เมื่อแพทย์สั่ง" จึงผิด ข้อ 4. ใช้คำว่า "วิเคราะห์" จึงผิด
7. "ประตูสามยอดเป็นประตูกำแพงเมืองซึ่งสร้างขึ้นในรัชกาลที่ 5 โดยสร้างให้มีประตูสามช่องและ มียอดทั้งสามช่อง นับตั้งแต่นั้นมาชาวบ้านก็พากันเรียกประตูนั้นว่า"
"ประตูสามยอด" ข้อความข้างต้นตีความได้อย่างไร
  • 1.
    "ประตูสามยอด" ได้ชื่อจากลักษณะของการสร้าง
  • 2.
    รัชกาลที่ 5 เป็นผู้สร้างประตูสามยอด
  • 3.
    กำแพงเมืองมักสร้างให้มีสามยอด
  • 4.
    ประตูสามยอดเป็นศิลปะสมัยอยุธยา
ตอบ 1.
ข้อ 2. ผิด เพราะจากบทความไม่บอกว่า รัชกาลที่ 5 เป็นผู้สร้างประตูสามยอด
ข้อ 3. ผิด เพราะจากบทความไม่บอกว่า กำแพงเมืองมักสร้างให้มีสามยอด
ข้อ 4. ผิด เพราะจากบทความไม่บอกว่า ประตูสามยอดเป็นศิลปะสมัยอยุธยา
8. "ในระบบเศรษฐกิจแบบทุนนิยม รัฐจะให้เอกชนมีเสรีภาพในกิจกรรมทางเศรษฐกิจอย่างกว้างขวาง และการกำหนดปริมาณการผลิตจะขึ้นอยู่กับกลไกแห่งราชอาณาจักร หรือขึ้นอยู่กับ ความต้องการซื้อและความต้องการขาย"
สาระสำคัญของข้อความข้างต้น คือ
  • 1.
    ระบบทุนนิยมกลไกการตลาดไม่ได้ขึ้นอยู่กับรัฐบาล
  • 2.
    ระบบทุนนิยมเป็นระบบเศรษฐกิจที่เอกชนต้องการ
  • 3.
    ปริมาณการผลิตในระบบทุนนิยมจะเป็นสิ่งที่กำหนดกลไกราคาตลาด
  • 4.
    ระบบทุนนิยมเหมาะสมกับระบบเศรษฐกิจที่เป็นการผลิต
ตอบ 1. จากประโยค "... ขึ้นอยู่กับกลไกแห่งราชอาณาจักร หรือขึ้นอยู่กับความต้องการซื้อและความต้องการขาย" ข้อ 1. จึงสอดคล้องที่สุด
9. "ตั้งแต่ปี พ.ศ. 2493 เป็นต้นมาจนถึงปัจจุบัน กล่าวได้ว่าประเทศไทยเป็นประเทศกำลังพัฒนา โดยมีเศรษฐกิจภาคเกษตรกรรมเป็นพื้นฐาน และกำลังพัฒนาตนเองไปสู่ประเทศอุตสาหกรรม"
สาระสำคัญของข้อความข้างต้น คือ
  • 1.
    ประเทศไทยเป็นประเทศกำลังพัฒนาทางอุตสาหกรรม โดยมีพื้นฐานทางด้านเกษตรกรรม
  • 2.
    ประเทศไทยเห็นว่าประเทศไม่สามารถพัฒนาด้วยเศรษฐกิจทางด้านภาคเกษตรกรรม
  • 3.
    เมื่อประเทศพัฒนาไปสู่ประเทศอุตสาหกรรมแล้ว จะได้ชื่อว่าเป็นประเทศที่พัฒนา
  • 4.
    การพัฒนาประเทศจะต้องทำควบคู่ทั้งภาคเกษตรและภาคอุตสาหกรรม
ตอบ 1. จากประโยค "... โดยมีเศรษฐกิจภาคเกษตรกรรมเป็นพื้นฐาน และกำลังพัฒนาตนเองไปสู้ประเทศอุตสาหกรรม" ข้อ 1. จึงสอดคล้องที่สุด
10. "โดยทั่วไปผักที่ขายตามท้องตลาดส่วนใหญ่ เกษตรกรมักใช้สารกำจัดศัตรูพืช หากไม่มีความรอบคอบในการใช้ จะทำให้เกิดสารตกค้าง ทำให้มีปัญหาต่อสุขภาพ ฉะนั้นเมื่อซื้อผักไปรับประทาน จึงควรล้างผักด้วยน้ำหลาย ๆ ครั้ง เพราะจะช่วยกำจัดสารตกค้างไปได้บ้าง บางคนอาจแช่ผักโดยใช้น้ำผสมโซเดียมไบคาร์บอเนตก็ได้ แต่อาจทำให้วิตามินลดลง"
จากบทความข้างต้น ใจความสำคัญคือข้อใด
  • 1.
    ผักที่ขายตามท้องตลาดส่วนใหญ่มีสารตกค้าง
  • 2.
    เกษตรกรส่วนใหญ่ใช้สารกำจัดศัตรูพืช
  • 3.
    ควรล้างผักด้วยน้ำหลาย ๆ ครั้ง ก่อนรับประทาน
  • 4.
    น้ำผสมโซเดียมคาร์บอเนต ทำให้วิตามินลดลง
ตอบ 3.
11. "อันกวีที่ดีย่อมพะวงถึงความพร้อมกับเสียงไพเราะ และกวีที่ดีถึงแม้จะใช้ถ้อยคำซึ่งมีความหมายที่คล้ายกันผูกเข้าด้วยกันแล้ว แต่ถ้าพิจารณาความหมายให้ดีแล้วจะเห็นว่ามีความหมายต่างกัน กวีชั้นรองลงมาเป็นผู้ที่ใช้คำที่ ฟุ่มเฟือย" ข้อความข้างต้นสรุปได้อย่างไร
  • 1.
    การใช้คำที่มีความหมายคล้ายกันในบทกวีถือได้ว่าเป็นการใช้คำที่ฟุ่มเฟือย
  • 2.
    การใช้คำที่มีความหมายที่คล้ายกันต้องเป็นคำที่มีเสียงที่ไพเราะ
  • 3.
    กวีที่ดีต้องสามารถใช้คำที่มีความหมายคล้ายคลึงกันให้เห็นต่างกันอย่างชัดเจน
  • 4.
    กวีที่ยังไม่มีความสามารถไม่ควรใช้คำที่มีความหมายคล้ายคลึงกันในงานของตน
ตอบ 3.
12. "ในประเทศอินเดียสมัยยุคแรกเริ่มมีหลักฐานปรากฏในคัมภีร์ไตรเทพว่า ภรรยามีความเสมอภาคกับสามีทุกสถานทั้งในด้านการปกครอง ครอบครัว เคหสถาน ทรัพย์สมบัติ ตลอดจนในพิธีบูชายัญ ถ้าไม่มีสตรีเข้าร่วมด้วยก็ไม่สามารถกระทำพิธีสมบูรณ์ได้" ข้อความข้างต้นสรุปได้อย่างไร
  • 1.
    ประเทศอินเดียในปัจจุบันขาดความเสมอภาคระหว่างสามีกับภรรยา ซึ่งต่างจากอดีตในยุคแรกเริ่ม
  • 2.
    พิธีการบูชายัญในประเทศอินเดีย หากขาดสตรีพิธีกรรมนั้นถือว่าขาดความสมบูรณ์
  • 3.
    ในประเทศอินเดีย การปกครอง ครอบครัว เคหสถาน ทรัพย์สมบัติ ตลอดจนพิธีบูชายัญจะขาดหญิงไม่ได้
  • 4.
    ประเทศอินเดียในอดีต หญิงและชายมีความเท่าเทียมกันในทุก ๆ เรื่อง
ตอบ 4.
แนวคิด อินเดียสมัยยุคแรกเริ่ม หมายถึง ประเทศอินเดียในอดีต ภรรยามีความเสมอภาคกับสามี
13. "แม้ศาลาเฉลิมไทยจะไม่ใช่โรงมหรสพแห่งแรกของประเทศไทย แต่กว่าที่โรงภาพยนตร์ศาลาเฉลิมไทยจะยืนหยัดรับใช้ผู้ชมมาจนถึงทุกวันนี้ ก็ต้องพบกับความผันผวนและโลดแล่นอยู่บนเส้นทางธุรกิจบันเทิงมาเป็นเวลานานเกือบครึ่งศตวรรษทีเดียว หากจะเปรียบเปรยศาลาเฉลิมไทยก็ผ่านชีวิตพบความสุขและอุปสรรคมาแล้วอย่างมากมาย" ข้อความข้างต้นสรุปได้อย่างไร
  • 1.
    ศาลาเฉลิมไทยสร้างขึ้นครั้งแรกเพื่อจุดประสงค์เป็นโรงภาพยนตร์
  • 2.
    ศาลาเฉลิมไทยได้สร้างและเปิดดำเนินธุรกิจบันเทิงมานานเกือบ 50 ปีแล้ว
  • 3.
    ศาลาเฉลิมไทยประสบความสำเร็จในธุรกิจบันเทิงมานานกว่าครึ่งศตวรรษ
  • 4.
    คนไทยในยุคครึ่งศตวรรษที่แล้วไม่นิยมการชมมหรสพประเภทภาพยนตร์
ตอบ 2.
แนวคิด ศาลาเฉลิมไทยได้โลดแล่นอยู่บนเส้นทางธุรกิจบันเทิงมานานเกือบครึ่งศตวรรษ
14. "พจนานุกรม เป็นหนังสือที่เขียนในลักษณะสั้นกะทัดรัดที่สุด โดยพยายามที่แยกถ้อยคำให้เด่นชัด พร้อมทั้งบอกความหมาย บอกเสียงอ่านของคำ และบอกแหล่งที่มาของคำนั้น ๆ ตลอดจนเป็นการรวบรวมข้อมูลของคำเหล่านั้นอย่างย่อที่สุด" ข้อความข้างต้นกล่าวถึงพจนานุกรมในด้านใด
  • 1.
    ความหมาย
  • 2.
    ประวัติศาสตร์
  • 3.
    วิธีการใช้
  • 4.
    ความสำคัญ
ตอบ 2.
แนวคิด กล่าวถึงประโยชน์ เช่น บอกความหมาย บอกเสียงอ่านของคำ แหล่งที่มา เป็นต้น
15. "การรุกรานทางวัฒนธรรมเป็นปรากฏการณ์ที่กำลังเกิดขึ้นในสังคม วัฒนธรรมที่มีกำลังแรงกว่าจะไหลบ่าเข้าสู่สังคมที่มีวัฒนธรรมต่ำกว่า" ข้อความข้างต้นตีความได้อย่างไร
  • 1.
    การรุกรานวัฒนธรรมเกิดขึ้นกับทุกสังคม
  • 2.
    วัฒนธรรมสมัยเก่าจะถูกแทนที่โดยวัฒนธรรมสมัยใหม่
  • 3.
    วัฒนธรรมที่ถูกรุกรานจะต้องเป็นวัฒนธรรมที่เกิดภายหลัง
  • 4.
    ปรากฏการณ์ในสังคมทำให้เกิดวัฒนธรรมใหม่ ๆ
ตอบ 2.
แนวคิด วัฒนธรรมที่มีกำแพงกว่าจะไหล่บ่าเข้าสู่สังคมที่มีวัฒนธรรมต่ำกว่า หมายถึง วัฒนธรรมเก่าจะถูกแทนที่วัฒนธรรม
16. "สหภาพโซเวียตเป็นอีกประเทศหนึ่งที่มองเห็นความสำคัญของพลังงานไฟฟ้านิวเคลียร์ และหวังพึ่งเชื้อเพลิงนิวเคลียร์เป็นเชื้อเพลิงพลังงานหลักของประเทศ" ข้อความข้างต้นตีความได้อย่างไร
  • 1.
    พลังงานไฟฟ้านิวเคลียร์ เป็นพลังงงานที่สำคัญซึ่งสหภาพโซเวียตใช้ในประเทศ
  • 2.
    การพัฒนาประเทศสหภาพโซเวียตขึ้นกับพลังงานไฟฟ้านิวเคลียร์
  • 3.
    สหภาพโซเวียตเป็นเพียงประเทศเดียวในปัจจุบันที่ให้ความสำคัญพลังงานไฟฟ้านิวเคลียร์
  • 4.
    ความสำคัญของพลังงานไฟฟ้านิวเคลียร์กับการพัฒนาประเทศโซเวียต
ตอบ 1.
แนวคิด สหภาพโซเวียต มองเห็นความสำคัญของพลังงานไฟฟ้านิวเคลียร์
17. "ธนาคารแห่งประเทศไทยเห็นด้วยในหลักการที่สมาคมธนาคารไทยได้เสนอให้พิจารณาเปลี่ยนแปลงอัตราส่วนของเงินกองทุนและเงินกู้จากร้อยละ 9 เป็นร้อยละ 8" ข้อความข้างต้นตีความได้อย่างไร
  • 1.
    ธนาคารแห่งประเทศไทยกำหนดอัตราส่วนเงินกองทุนและเงินกู้ซึ่งเท่ากับร้อยละ 8
  • 2.
    ธนาคารแห่งประเทศไทยไม่เห็นด้วยกับอัตราส่วนของเงินกองทุนและเงินกู้เท่ากับร้อยละ 9
  • 3.
    ธนาคารแห่งประเทศไทยพิจารณากับอัตราส่วนของเงินกองทุนและเงินกู้ซึ่งเท่ากับร้อยละ 9
  • 4.
    ธนาคารแห่งประเทศไทยไม่อนุมัติการเปลี่ยนแปลงอัตราส่วนเงินกองทุนและเงินกู้
ตอบ 2.
แนวคิด ธนาคารแห่งประเทศไทย เห็นด้วย เงินกู้จากร้อยละ 9 เป็นร้อยละ 8 หมายถึง ธนาคารแห่งประเทศไทยไม่เห็นด้วยกับเงินกู้ร้อยละ 9
18. "ในการวิเคราะห์ผลของบุญและบาป หนังสือไตรภูมิพระร่วงชี้แจงว่าจะต้องเอาบุญและบาปที่คนกระทำมาเทียบเคียงกันข้างใดหนักก็ไปนั้นก่อน เช่น ทำความชั่วมากทำความดีน้อยให้ไปรับโทษในนรกก่อนเสร็จแล้วจึงไปเสวยสุขในสวรรค์ แต่ถ้าความดีกับความชั่วเสมอกันให้ไปเกินในนรกและสรรค์ครั้งละ 10 วัน สลับกันไปจนกว่าจะสิ้นบาปและบุญ" ข้อความนี้สรุปได้อย่างไร
  • 1.
    หนังสือไตรภูมิพระร่วงมีหลักในการปฏิบัติเกี่ยวกับเรื่องบุญและบาปอย่างชัดเจน
  • 2.
    ผลของบุญหรือบาปดูได้จากความดีและความชั่วที่คนกระทำ
  • 3.
    การที่คนจะรับผลบุญหรือบาปก่อนนั้นต้องนำบุญและบาปมาเปรียบเทียบกัน
  • 4.
    การที่คนจะได้รับผลของบุญหรือบาปจะต้องพิจารณาจากกรรมเก่าที่กระทำ
ตอบ 3. การที่คนจะรับผลบุญหรือบาปก่อนนั้นต้องนำบุญและบาปมาเปรียบเทียบกัน
19. "ถ้าคุณมีเจ้านายที่เย่อหยิ่งและจองหอง ก็อาจจะเป็นการยากที่จะนึกถึงเขาหรือเธอในแง่ที่เป็นมนุษย์ผู้หญิงคนหนึ่งเคยบอกว่าเธอสามารถพูดคุยแบบธรรมชาติกับเจ้านายซึ่ง แต่งตัวสง่าหรือหรูหราได้จนกระทั่งภาพของเจ้านายนั่งอยู่ในห้องส้วมโดยที่กางเกงอยู่ที่ข้อเท้าผ่านแวบเข้าในสมองของเธอ" ข้อความนี้สรุปได้อย่างไร
  • 1.
    เจ้านายที่เย่อหยิ่งและจองหองทำให้ลูกน้องไม่กล้าเข้าใกล้
  • 2.
    เจ้านายก็เป็นมนุษย์ปุถุชนคนหนึ่ง
  • 3.
    ไม่ว่าจะเป็นเจ้านายหรือลูกน้องก็ต้องเข้าส้วมเหมือนกัน
  • 4.
    เจ้านายมีลักษณะพิเศษแตกต่างจากคนอื่น
ตอบ 2. เจ้านายก็เป็นมนุษย์ปุถุชนคนหนึ่ง
20. "ผู้ที่เป็นครูนั้นจะต้องมีวัฒนธรรม มีจิตใจเข้มแข็ง อารมณ์แน่นอน สุขภาพดี สติปัญญาดี มีบุคลิกภาพที่ดี มีการเสียสละเพื่ออาชีพ และรู้จักใช้วิธีสอนที่ดี รวมทั้งมีทัศนะที่ดีด้วย จึงจะนับว่าผู้นั้นมีคุณสมบัติของครูที่ดี" ข้อความนี้สรุปได้อย่างไร
  • 1.
    คุณสมบัติของครู
  • 2.
    ทัศนคติของครู
  • 3.
    บุคลิกภาพของครู
  • 4.
    ความเป็นอยู่ของครู
ตอบ 1. คุณสมบัติของครู
โฆษณา