27 ก.ย. 2022 เวลา 16:38 • สุขภาพ
🛸ยาคุมกำเนิด​ -​ Drug​ interactions
🙇‍♀️การใช้ยาเม็ดคุมกำเนิดร่วมกับยาบางชนิด อาจเกิดยาตีกันจนทำให้ประสิทธิภาพการคุมกำเนิดลดลง​ จนนำไปสู่การตั้งครรภ์โดยไม่ตั้งใจ
ในทางตรงกันข้ามการใช้ยาบางชนิด​ อาจทำให้ระดับยาฮอร์โมนในเลือดเพิ่มขึ้นจนเกิดอาการไม่พึงประสงค์ที่เป็นอันตรายได้
.
.
🔮การเปลี่ยนแปลงยาฮอร์โมนไปเป็นสารอื่นที่ไม่มีฤทธิ์ต้องอาศัยเอนไซม์หลายชนิด โดยเฉพาะเอนไซม์ CYP3A4 และเอนไซม์กลูคูโรนิล​ ทรานสเฟอเรส (glucuronyl transferase)
ซึ่ง​การใช้ยาที่เพิ่มการทำงานของเอนไซม์เหล่านี้ในการกำจัดยา​ จะทำให้ระดับยาฮอร์โมนในเลือดลดลง โดยหลังจากเริ่มใช้ยาต้นเหตุไปราว 2-3 วัน​ จะเริ่มชักนำให้สร้างเอนไซม์มากขึ้น​ และเกิดฤทธิ์สูงสุดในเวลา 2-3 สัปดาห์ โดยฤทธิ์ยังคงอยู่แม้หยุดใช้ยาที่เป็นต้นเหตุไปแล้ว โดยอาจอยู่ได้นานถึง 4 สัปดาห์หรือนานกว่านั้น
🚨ผู้ที่กินยาคุมกำเนิด​จึงต้องระมัดระวัง​เมื่อใช้ร่วมกับยาเหล่านี้ที่ทำให้ฤทธิ์​ในการคุมกำเนิดลดลง​ อาทิเช่น​
ยาฆ่าเชื้อแบคทีเรีย​ ไรแฟมพิซิน​ ไรฟาบูติน
ยากันชัก​ คาร์บามาซีปีน​ ฟีโนบาร์บิทัล ฟีนีทอยด์ อ็อกคาร์บาซีปีน​
สมุนไพร​ เซนต์จอห์นเวิร์ต​
🛸แนะนำให้ใช้การคุมกำเนิดวิธีอื่นร่วมด้วย​ เช่น​
ใช้ถุงยางอนามัย
ใส่ห่วงอนามัย​ หรือ
ฉีดยาคุม​ depot medroxyprogesterone acetate
ตลอดช่วงที่ใช้ยาและ​ต่อไปอีก 4-6 สัปดาห์หลังหยุดยา
ในกรณีที่​จำเป็นต้องใช้ยาคุมฉุกเฉิน​ จะต้องใช้ในขนาดที่เพิ่มเป็น2เท่า​ (levonorgestrel 3 mg หรือ​ ulipristal 30 mg)
🛑นอกจากนี้จะต้องระมัดระวังในการใช้ยาที่ลดการดูดซึมยาฮอร์โมนจากทางเดินอาหาร อาทิเช่น
(1) ยาต้านแบคทีเรียที่มีขอบเขตการออกฤทธิ์กว้างและถูกดูดซึมจากทางเดินอาหารได้ไม่ดี เช่น​ แอมพิซิลลิน (ampicillin) และนีโอไมซิน (neomycin) ซึ่งยาดังกล่าวฆ่าเชื้อแบคทีเรียในทางเดินอาหาร​ที่มีบทบาทสำคัญในการสร้าง​ เอทินิล​ เอสทราไดออล ในกระบวนการ enterohepatic recirculation ที่ทำให้เอทินิล​ เอสทราไดออลถูกดูดกลับเข้าสู่กระแสเลือดอีกครั้งหนึ่ง
(2) ยาที่ทำให้กระเพาะอาหารเคลื่อนไหวช้า ทำให้ลดการดูดซึมยาฮอร์โมนในลำไส้
(3) ยาที่ทำให้ฮอร์โมน​ถูกดูดซึมได้ไม่ดี
เช่น ยาลดกรดที่มีตัวยาเป็นสารประกอบพวกอะลูมินัม หรือยาที่ออกฤทธิ์จับกับน้ำดีในทางเดินอาหาร ซึ่งจะต้องกินยาเหล่านี้ห่างจากยาคุมกำเนิดไม่น้อยกว่า 2 ชั่วโมง​
(4) ยาที่มีผลข้างเคียงทำให้คลื่นไส้อาเจียน ​
(5) ยาที่ทำให้ลำไส้เคลื่อนไหวเร็วหรือเกิดอาการท้องเดิน จนทำให้ยาฮอร์โมนถูกดูดซึมเข้าสู่กระแสเลือดได้น้อย
ในกรณีที่​อาเจียนภายใน​ 3 ชั่วโมงหลังจากกินยา​คุมกำเนิด หรือท้องเสียรุนแรงนานกว่า​ 24​ ชั่วโมง​
การกินยาคุมแบบปกติให้ถือว่าเป็นการลืมกินไป1เม็ด​
ส่วนยาคุมฉุกเฉินให้กินซ้ำอีก1เม็ด
.
.
🏓ในทางตรงกันข้ามยาที่ยับยั้งเอนไซม์​ CYP3A4 จะทำให้ระดับยาฮอร์โมนในเลือดสูงขึ้น เพิ่มความเสี่ยงต่อการเกิดอาการไม่พึงประสงค์ของยาฮอร์โมน​ เช่น คลื่นไส้ คัดตึงเต้านม และที่สำคัญคือเพิ่มความเสี่ยงต่อการเกิดลิ่มเลือดอุดตันในหลอดเลือดดำ (venous thromboembolism) บริเวณขา เชิงกราน​ และปอด
โดยยาต้นเหตุสามารถออกฤทธิ์ยับยั้งเอนไซม์ได้อย่างรวดเร็วภายในเวลาไม่กี่ชั่วโมงหลังจากใช้ยา​ และฤทธิ์จะอยู่ไม่นานหลังจากหยุดใช้ยานั้น​
🛸ตัวอย่างยาที่เพิ่ม​ฤทธิ์​ของยาคุมกำเนิด​อาทิเช่น
ยาฆ่าเชื้อแบคทีเรีย​ คลาริโทรมัยซิน​ ​
ยารักษาความดันโลหิตสูง​ ดิลไทอะเซม เวอราปามิล
ยาฆ่าเชื้อรา​ ฟลูโคนาโซล​ ไอทราโคนาโซล
ยาต้าน​ HIV​ ริโทนาเวีย
ผลไม้​ เกรปฟรุต
.
.
.
.
😁ใช้ยาระวังพิษ​ รัก​ชีวิต​อย่า​คิด​ลอ​งยา​
มีปัญหา​เรื่อง​การ​ใช้​ยา​ เชิญ​ปรึกษา​เภสัชกร​
.
.
บทความอื่น
เปลี่ยนยาคุมกำเนิด ทำอย่างไรดี
ความรู้เรื่องยาคุมกำเนิด
ทำไมต้องกินยาคุม
ฮอร์โมน​สำหรับ​หญิงข้ามเพศ
ขูดมดลูก
POSTED 2022.09.27
โฆษณา