29 ก.ย. 2022 เวลา 05:16
ห่างหายจากการเขียนเพจมานาน
กลับมารอบนี้อยากเอาความรู้ที่ได้เรียนเรื่องวางแผนการเงินมาแชร์ให้เพื่อนๆได้ทำความเข้าใจและนำไปปรับใช้กัน
เดี๋ยวนี้หลายสื่อก็มีความพยายามแนะนำให้เก็บเงิน ออมเงิน ลงทุนให้เงินงอกเงย ซึ่งอ้อมเองก็เห็นด้วยอย่างมาก
แต่ก่อนจะไปถึงตรงนั้นสิ่งแรกที่ต้องคิดก่อนคือ เรามีเงินแค่ไหนที่จะทำ
นั่นเป็นที่มาของการ...วางแผนสภาพคล่องทางการเงิน
การวางแผนสภาพคล่องทางการเงินก็คือการจัดสรรเงินในปริมาณที่เหมาะสม และวางอยู่ในจุดที่สามารถนำมาใช้ได้ในยามฉุกเฉิน
แล้วอะไรคือสินทรัพย์สภาพคล่อง
สินทรัพย์สภาพคล่องก็คือ เงินสดหรือสินทรัพย์อะไรก็ตามที่สามารถเปลี่ยนเป็นเงินสดได้รวดเร็วและมูลค่าไม่เปลี่ยนแปลงไปจากเดิม
ที่เห็นได้ชัดเจนที่สุดคือเงินสด เมื่อต้องการใช้ก็เอาออกมาใช้ได้เลย (ถ้ามีเพียงพอ)
แต่การจะรักษาสภาพคล่องเราไม่จำเป็นต้องมีแต่เงินสด
เพราะนอกจากเงินสดแล้วยังมี...
บัญชีเงินฝากประเภทต่างๆ เช่น ออมทรัพย์ ฝากประจำสั้นๆ ตั๋วแลกเงิน หรือใบรับฝากเงินที่เปลี่ยนมือได้
เมื่อเงินอยู่ในที่เหล่านี้ หากเกิดเหตุฉุกเฉินก็สามารถเอาออกมาใช้ได้ทันเวลา
แต่อะไรที่มากเกินไปหรือน้อยเกินไปก็ไม่ดี
สินทรัพย์สภาพคล่องก็เช่นกัน ข้อดีคือเราสามารถเปลี่ยนเป็นเงินสดได้ง่าย แต่ข้อเสียคือสินทรัพย์พวกนี้ให้ผลตอบแทนต่ำ ทำให้เสียโอกาสทางการเงิน
อ้าว...แล้วเท่าไหร่ที่เรียกว่า “เหมาะสม”??
ถึงตรงนี้ต้องมีการคำนวนกันนิดหน่อย
อ้อมเอาอัตราส่วนสภาพคล่องมาให้ดูกัน
①อัตราส่วนสภาพคล่อง : เพื่อดูว่าสภาพคล่องที่มีอยู่เพียงพอจ่ายหนี้ระยะสั้นได้หรือไม่ (อะไรคือหนี้ระยะสั้นหรือระยะยาว)
สินทรัพย์สภาพคล่อง/หนี้ระยะสั้น = <1เท่า
สินทรัพย์สภาพคล่องต้องมีมากกว่าหนี้สินระยะสั้นขั้นต่ำ 1 เท่าถึงจะเรียกว่าเหมาะสม
เช่น มีเงินสด 100 บาท หนี้สินระยะสั้น 50 บาท = 2 เท่า > เหมาะสม
มีเงินสด 100 บาท หนี้สินระยะสั้น 120 บาท = 0.83 เท่า > อันตรายเพราะสภาพคล่องไม่พอต่อการจ่ายหนี้ระยะสั้น
②สภาพคล่องพื้นฐาน : ดูว่าสภาพคล่องที่มีอยู่เพียงพอกับค่าใช้จ่ายประจำเดือนได้นานเท่าไหร่ หากไม่มีรายได้เข้ามา
อันนี้เห็นได้ชัดมากช่วงที่มีการปิดเมืองจากโควิด ถึงแม้ว่าหลายคนจะไม่มีหนี้สินแต่ขาดรายได้เข้ามา ถ้าหากมีสภาพคล่องที่เพียงพอก็จะสามารถใช้ชีวิตอยู่ได้ก่อนจะมีรายได้ใหม่มาทดแทน
สินทรัพย์สภาพคล่อง/กระแสเงินสดจ่ายต่อเดือน = 3 - 6 เดือน
(ถ้ามีรายได้ทางเดียวแนะนำให้มีสภาพคล่องพื้นฐานที่ 6 เดือน)
③สภาพคล่องต่อความมั่งคั่ง : ดูว่าสภาพคล่องที่มีอยู่เป็นสัดส่วนเท่าไหร่ของความมั่งคั่งที่มี (ความมั่งคั่งคืออะไร)
(สินทรัพย์สภาพคล่อง/ความมั่งคั่งสุทธิ)*100 = <15%
วันนี้เอามาฝาก 3 อัตราส่วนที่มีความใกล้ชิดกับชีวิตประจำวัน
เมื่อเตรียมสภาพคล่องเรียบร้อย ส่วนต่อไปก็จะได้รู้จักกับการวางแผนอื่นๆต่อไป
#darifreedomwealth #Fwdthiland #Finnomena #วางแผนการเงินส่วนบุคคล
โฆษณา