Blockdit Logo
Blockdit Logo (Mobile)
สำรวจ
ลงทุน
คำถาม
เข้าสู่ระบบ
มีบัญชีอยู่แล้ว?
เข้าสู่ระบบ
หรือ
ลงทะเบียน
DoctorWantTime
•
ติดตาม
29 ก.ย. 2022 เวลา 09:30 • หุ้น & เศรษฐกิจ
ทำไมตลาดหุ้นลง เมื่อ Bond yield สูงขึ้น??
ในช่วงที่ผ่านมาหลายคนน่าจะได้ยินข่าวว่า bond yield มีการปรับตัวเพิ่มขึ้น ซึ่งส่งผลกับตลาดหุ้นได้ มารู้จักกันว่า bond yield คืออะไร ทำไมส่งผลถึงตลาดหุ้นได้
Yield คือ อัตราผลตอบแทนที่ได้รับจากการลงทุน คิดจาก ผลตอบแทนที่ได้รับ หารด้วย เงินลงทุนที่เราลงทุนไป ดังนั้น yield จะสูงคือ ได้ผลตอบแทนแทนออกมามาก หรือซื้อมาถูก(ใช้เงินลงทุนน้อย)
Bond Yield คือ อัตราผลตอบแทนของพันธบัตร คิดจาก ผลตอบแทนที่ได้รับจากพันธบัตร หารด้วย ราคาพันธบัตร ดังนั้นอัตราผลตอบแทน นอกจากอัตราดอกเบี้ยที่ระบุไว้ ยังเปลี่ยนแปลงขึ้นลงได้จากราคาพันธบัตรที่เปลี่ยนแปลง
คนที่ถือตราสารหนี้นั้นๆ ก็ไม่ได้จำเป็นต้องถือจนครบกำหนดอายุของตราสารก็ได้ สามารถนำมาซื้อขายแลกเปลี่ยนมือกันได้ในตลาดตราสารหนี้ ซึ่งเมื่อมีการซื้อขายก็จะส่งผลต่อราคา คล้ายๆ กับหุ้น
เมื่ออัตราผลตอบแทนจากสินทรัพย์ไม่เสี่ยงอย่างตราสารหนี้เพิ่มสูงขึ้น จึงทำให้ตลาดหุ้นมีความน่าสนใจน้อยลงได้ อธิบายให้ชัดขึ้นด้วยเรื่องของ Earning Yield Gap
Earning Yield ของหุ้น จะคิดมาจาก กำไรหารด้วยราคา หรือก็คือ E/P นั่นเอง ซึ่งก็คือส่วนกลับของ P/E ratio (P/E ratio คือ ราคาหารด้วยกำไร)
1
Earning Yield Gap = Earning Yield – Bond Yield
1
จะเห็นว่า ถ้านักลงทุนต้องการ Earning Yield Gap เท่าเดิมในการที่เข้ามาลงทุนในตลาดหุ้น ขณะที่ Bond yield หรืออัตราผลตอบแทนของพันธบัตรหรือตราสารหนี้เพิ่ม ก็คือการที่ตลาดหุ้นต้องมี Earning Yield ที่เพิ่ม เพื่อให้ Earning Yield Gap เท่าเดิม
และก็อย่างที่เล่าไปว่า earning yield คือ ส่วนกลับของ P/E ดังนั้น P/E ของหุ้นก็ควรลดลง ซึ่งการที่ P/E จะลดได้ก็เป็นได้จาก บริษัททำกำไรได้มากขึ้น หรือ ราคาหุ้นต้องถูกลง
นอกจากนั้นเมื่ออัตราดอกเบี้ยในตลาดเพิ่ม จะส่งผลต่อต้นทุนทางการเงินในการกู้ยืม ซึ่งส่งผลต่อผลกำไรของบริษัทได้
#yield #EarningYieldGap #bondyield #อัตราผลตอบแทน #ลงทุน #หุ้น #พันธบัตร #พันธบัตรรัฐบาล #หมอยุ่งอยากมีเวลา #ตราสารหนี้
ลงทุน
หุ้น
พันธบัตร
3 บันทึก
5
3
3
5
3
โฆษณา
ดาวน์โหลดแอปพลิเคชัน
© 2025 Blockdit
เกี่ยวกับ
ช่วยเหลือ
คำถามที่พบบ่อย
นโยบายการโฆษณาและบูสต์โพสต์
นโยบายความเป็นส่วนตัว
แนวทางการใช้แบรนด์ Blockdit
Blockdit เพื่อธุรกิจ
ไทย