29 ก.ย. 2022 เวลา 12:19 • หุ้น & เศรษฐกิจ
มันช่างเปราะบางเหลือเกิน! ท่อก๊าซ Nord Stream 2 รั่วดันราคาพลังงานยุโรปขึ้นอีกครั้ง
2
การรั่วไหลของก๊าซจากท่อ Nord Stream 2 ซึ่งทำให้ราคาพลังงานยุโรปพุ่งขึ้นสูงอย่างรวดเร็ว เป็นการตอกย้ำว่า สถานการณ์พลังงานในยุโรปยังคง “เปราะบางอย่างยิ่ง”
และเป็นสิ่งที่ประเทศสมาชิกจำต้องรวมหัวกันคิดหาทางออกที่จะแก้ปัญหานี้อย่างเด็ดขาด ไม่งั้นก็จะเป็นปัญหายุ่งเหยิงกับทุกคนต่อไปอย่างนี้ แต่ก็ต้องยอมรับว่า ปัญหานี้แก้ไขได้ไม่ง่ายเลย
📌 ท่อก๊าซเหล็กหนัก 24 ตันที่ยังไม่เคยใช้งานดันมารั่ว
เมื่อวันจันทร์ที่ผ่านมา ทางเจ้าหน้าที่ของประเทศสมาชิกยุโรปหลายประเทศรายงานถึงความผิดปกติของการทำงานของท่อ Nord Stream 2 ทั้งความดันที่เปลี่ยนแปลงไป และรายงานการระเบิดใต้น้ำ ซึ่งสุดท้ายก็พบว่า มีการรั่วไหลของท่อ Nord Stream 2
2
สาเหตุการรั่วไหลยังไม่แน่ชัด แต่เริ่มมีการสันนิษฐานกันแล้วว่า น่าจะเกิดมาจาก “ฝืมือของมนุษย์”
เพราะว่า ท่อก๊าซนั้นสร้างมาจากเหล็กหนา ซึ่งแต่ละส่วนนั้นมีน้ำหนักถึง 24 ตัน วางอยู่ที่ก้นทะเลความลึก 80-110 เมตร และที่สำคัญส่วนท่อ Nord Stream 2 ก็ยังเป็นท่อใหม่ที่ยังไม่เคยเปิดใช้งานจริงๆ มาก่อน
2
เมื่อประกอบกับการตรวจสอบว่า ไม่มีเหตุการณ์แผ่นดินเกิดขึ้นแล้ว ความคิดที่ว่า การรั่วไหลครั้งนี้เกิดจากความตั้งใจของมนุษย์ ก็ยิ่งดูสมเหตุสมผลมากขึ้น แต่ก็ต้องรอผลการสืบสวนอย่างเป็นทางการอีกครั้งหนึ่ง
เรื่องสาเหตุว่าหนักใจแล้ว เรื่องผลที่ตามมาก็น่าหนักใจไม่ยิ่งหย่อนไปกว่ากัน
อย่างแรก คือ ผลกระทบที่เกิดขึ้นกับทรัพยากรทางทะเล และผลกระทบต่อสภาวะโลกร้อน
1
โดยก๊าซมีเทนที่ถูกปล่อยออกมาเป็นตัวการสำคัญ ซึ่งตัวเลขสถิติความเสียหายที่ชัดเจนต้องรอประเมินกันอีกที แต่ภาพที่เห็นได้ด้วยตาบนพื้นผิวน้ำ “ที่มีฟองก๊าซขนาดเส้นผ่านศูนย์กลางใหญ่ถึง 1 กิโลเมตร” ก็น่าจะทำให้เราเห็นได้คร่าวๆ ถึงความใหญ่ของผลกระทบที่อาจจะเกิดขึ้น
อย่างต่อมา ที่เห็นกันชัดเจนอย่างรวดเร็ว คือ ราคาพลังงานในยุโรปที่ปรับตัวสูงขึ้นไปทันทีหลังจากมีความแก๊สรั่วออกมา
2
โดยดัชนีราคาอ้างอิงค่าก๊าซของยุโรปปรับขึ้นอย่างรวดเร็ว โดยภายในระยะเวลาไม่ถึงวัน ขึ้นไปมากกว่า 10% กลับขึ้นไปอยู่ระดับสูงกว่า 200 ยูโร/megawatt hour
1
ซึ่งแม้จะต่ำกว่าระดับสูงสุดของปีนี้ที่เคยขึ้นไปเกือบ 350 ยูโร แต่เมื่อเทียบกับเดือนกันยายนปีก่อนแล้ว ราคาก็ปรับขึ้นมามากกว่า 200% ทีเดียว
1
นอกจากนี้ ตามความจริงที่ว่า การที่ท่อส่งก๊าซที่ยังไม่เคยเปิดใช้เลยรั่วยังสามารถส่งผลต่อราคาพลังงานได้มากขนาดนี้ ก็สะท้อนให้เห็นถึง “ความเปราะบางของสถานการณ์พลังงานในยุโรปที่ยังอยู่ในระดับสูงยิ่ง”
1
📌 การถกเถียงเพื่อหาวิธีการแก้ไขปัญหาในเวทียุโรป
สถานการณ์ที่น่าปวดหัวเช่นนี้ ก็นำไปสู่การถกเถียงในเวทียุโรป ให้ประเทศสมาชิกมาช่วยกันหาทางออกจากปัญหา แต่ก็บอกได้เลยว่า ไม่ใช่งานที่ง่ายเลยแม้แต่นิด
เนื่องจากเมื่อเป็นปัญหาของหลายประเทศก็มีโอกาสที่แต่ละประเทศจะมีความเห็นแตกต่างกันได้
โดยประเด็นถกเถียงที่สำคัญสุดในตอนนี้ คือ “ประเด็นการกำหนดเพดานขั้นสูงของราคาพลังงานยุโรป”
ซึ่งมีข่าวว่า มีอย่างน้อย 13 ประเทศในยุโรป นำโดยประเทศอย่างอิตาลี สเปน กรีซ ได้เซ็นในจดหมายเรียกร้องให้มีการกำหนดเพดานราคาของพลังงาน เพื่อที่จะทำให้ราคาไม่แพงเกิน บรรเทาปัญหาค่าครองชีพของประชาชน
แต่ฝ่ายที่ไม่เห็นด้วยกับการกำหนดเพดานราคา นำโดยชาติเศรษฐกิจอันดับหนึ่งของยุโรปอย่างเยอรมัน ก็มีเหตุผลที่มีน้ำหนักไม่น้อยเช่นกัน
โดยฝ่ายที่ไม่เห็นด้วยมองว่า การตั้งนโยบายแบบนี้จะทำให้ประเทศผู้ผลิตก๊าซธรรมชาติจะอยากส่งออกก๊าซไปสู่ภูมิภาคอื่นซึ่งราคาก๊าซสูงกว่า แทนที่จะส่งมาให้ประเทศในยุโรป
ซึ่งผู้ผลิตที่ว่านี้ไม่ได้หมายถึงแค่ประเทศรัสเซียเท่านั้น แต่หมายรวมถึงคู่ค้าผู้ส่งออกก๊าซให้ยุโรปทุกคน
หากสถานการณ์แบบนั้นเกิดขึ้นจริง จากตอนแรกที่ปัญหาจะอยู่ระดับ“พลังงานราคาแพง” ก็อาจจะกลายเป็น “ขาดแคลนพลังงาน”
ทำให้แนวนโยบายตอนนี้ที่มีโอกาสสูงกว่าที่จะถูกประกาศใช้ จะเป็นเรื่องการควบคุมปริมาณการใช้ไฟฟ้าในช่วงพีคของวัน และการเก็บภาษีบริษัทปิโตรเลียมต่างๆ ที่ได้กำไรมากขึ้นในช่วงที่ผ่านมา
แต่ก็ต้องบอกว่า ทุกนโยบายยังมีความเป็นไปได้ทั้งหมด ซึ่งต้องรอผลประชุมของคณะกรรมการพลังงานที่จะเกิดขึ้นในวันที่ 30 กันยายน
เรื่องนี้ต้องติดตามกันอย่างใกล้ชิดต่อไป เพราะราคาพลังงานจะส่งผลต่อภาวะเศรษฐกิจของยุโรป ซึ่งเป็นผู้ซื้อรายใหญ่ของโลกอย่างมีนัยยะสำคัญ ซึ่งก็จะส่งผลต่อเนื่องไปถึงภาวะเศรษฐกิจของโลกและประเทศอื่นในปีนี้และปีหน้าอย่างหลีกเลี่ยงไม่ได้ด้วย
ผู้เขียน : ณัฐนันท์ รำเพย Economist, Bnomics
ภาพประกอบ : จินดาวรรณ อรรถมานะ Graphic Designer, Bnomics
▶️ ติดตามช่องทางของ Bnomics ได้ที่
Line OA : @Bnomics https://bit.ly/3eYkTJC
Bnomics - Bangkok Bank Economics
'Be an Economist for Everyone'
วิเคราะห์ เจาะทุกประเด็นเศรษฐกิจ ให้เป็นเรื่องง่ายสำหรับคุณ
References :
โฆษณา