30 ก.ย. 2022 เวลา 10:00 • หุ้น & เศรษฐกิจ
ธปท. ชี้ คนไทยรุ่นใหม่เผชิญความท้าทายมากขึ้น และขาดความมั่นคง 3 ด้าน ด้านเศรษฐกิจ สังคม หนี้สูง ห่วงบั่นทอนเศรษฐกิจระยะยาว
4
ธปท. ชี้ คนไทยรุ่นใหม่เผชิญความท้าทายมากขึ้น
ดร.เศรษฐพุฒิ สุทธิวาทนฤพุฒิ ผู้ว่าการธนาคารแห่งประเทศไทย (ธปท.) กล่าวในงานสัมมนาวิชาการธนาคารแห่งประเทศไทย ประจำปี 2565 หัวข้อ ก้าวสู่ยุคใหม่เศรษฐกิจการเงินไทย Strengthening Economic and Financial Foundations for the Next Generation ว่า ปัจจุบัน เศรษฐกิจไทยยิ่ง ไม่เพียงแต่เรากำลังอยู่ในช่วงหัวเลี้ยวหัวต่อของการฟื้นตัวจากวิกฤติเศรษฐกิจที่รุนแรงจากการแพร่ระบาดของโควิด-19
1
แต่ประเทศไทยยังเผชิญกับความจำเป็นในการปรับตัวเพื่อรับมือกับการเปลี่ยนแปลงต่างๆ ที่เกิดขึ้นอย่างรวดเร็ว
1
ปัจจัยที่สำคัญที่สุดที่จะทำให้เศรษฐกิจไทยเติบโตอย่างมั่นคงและยั่งยืนต่อไปในอนาคตได้นั้นคือ คนรุ่นต่อไป (next generation) ไม่ว่าจะเป็นเด็กวัยเรียน คนวัยเริ่มทำงาน หรือคนที่กำลังสร้างเนื้อสร้างตัว
ซึ่งเป็นกลุ่มคนที่จะเป็นฟันเฟืองขับเคลื่อนเศรษฐกิจในอนาคต ดังนั้น การวาง “รากฐาน” (foundations) ของระบบเศรษฐกิจและการเงินที่เอื้อต่อการสร้างศักยภาพและความมีส่วนร่วมให้กับคนรุ่นใหม่จึงเป็นสิ่งจำเป็นต่อการพัฒนาเศรษฐกิจ ซึ่งเป็นที่มาของงานสัมมนาวิชาการธนาคารแห่งประเทศไทยในวันนี้ภายใต้หัวข้อ “ก้าวสู่ยุคใหม่เศรษฐกิจการเงินไทย Strengthening Economic and Financial Foundations for the Next Generation”
1
อย่างไรก็ตาม #คนรุ่นใหม่ เป็นกลุ่มคนที่มีพลัง กล้าคิดกล้าลอง อยากเรียนรู้ สนใจในโอกาสที่เพิ่มขึ้นจากโลกที่ไร้พรมแดนและนวัตกรรม
1
คนรุ่นใหม่จึงเต็มไปด้วยศักยภาพที่จะเป็นกำลังสำคัญในการพัฒนาประเทศอย่างไรก็ตาม เป็นเรื่องที่น่ากังวลว่าคนไทยรุ่นใหม่จำนวนมากยังขาดความมั่นคงในอนาคต (insecurity) ในหลายด้าน
2
ในด้านที่หนึ่งนั้น คนไทยรุ่นใหม่จำนวนมากขาดความมั่นคงทางเศรษฐกิจ (economic insecurity)
1
ประการแรก คนรุ่นใหม่กำลังเผชิญกับความท้าทายในการหาเลี้ยงชีพและการสร้างรายได้ที่มากขึ้นเมื่อเปรียบเทียบกับคนรุ่นก่อนๆ ที่สั่งสมความมั่งคั่งในช่วงเศรษฐกิจเฟื่องฟูในช่วงหลายทศวรรษที่ผ่านมา เศรษฐกิจไทยเติบโตช้าลงอย่างต่อเนื่อง จากอัตราการเจริญเติบโตเฉลี่ยที่สูงถึง 7.2%ต่อปีในช่วงทศวรรษ 1980s ลงเหลือ 3.6% ในช่วงทศวรรษ 2010s
2
ประการที่สอง การศึกษาและการพัฒนาทักษะของคนรุ่นใหม่ให้ทันสมัยอยู่เสมอทำได้ยากขึ้นกว่าคนรุ่นก่อน เนื่องจากบริบทโลกมีการเปลี่ยนแปลงที่รวดเร็วและความไม่แน่นอนในอนาคตที่สูงขึ้น
2
ทั้งจากความก้าวหน้าทางเทคโนโลยีอย่างก้าวกระโดด กระแสความยั่งยืนด้านสิ่งแวดล้อม สังคม และธรรมาภิบาล (ESG) ที่เข้มข้นขึ้นอย่างรวดเร็ว และการเปลี่ยนแปลงของภูมิรัฐศาสตร์โลกที่กระทบต่อเศรษฐกิจไทยอย่างหลีกเลี่ยงไม่ได้ การเปลี่ยนแปลงเหล่านี้สร้างคำถามต่อคนรุ่นใหม่
ไม่ว่าจะเป็นเด็กวัยเรียนหรือคนที่กำลังสร้างเนื้อสร้างตัวว่า ทักษะใดที่จะตอบโจทย์ความต้องการของโลกในอนาคต (skills for the future) งานและรูปแบบการทำงานจะเปลี่ยนไปอย่างไร อาชีพปัจจุบันจะอยู่รอดและเติบโตในอนาคตหรือไม่ (future of work)
ประการที่สาม คนรุ่นใหม่มีภาระหนี้ที่สูงกว่าคนรุ่นก่อนๆ คนไทยเริ่มเป็นหนี้เร็วขึ้น และเป็นหนี้เสียตั้งแต่อายุยังน้อย โดยครึ่งหนึ่งของคนอายุประมาณ 30 ปี มีหนี้จากสินเชื่ออุปโภคบริโภคหรือหนี้จากบัตรเครดิต ขณะที่หนึ่งในห้าของคนที่เป็นหนี้เสียกระจุกอยู่ในกลุ่มลูกหนี้ที่ช่วงอายุ 29 ปี ซึ่งเป็นกลุ่มคนวัยทำงานและอยู่ในช่วงสร้างรากฐานครอบครัว
4
โฆษณา