18 ต.ค. 2022 เวลา 11:00 • หุ้น & เศรษฐกิจ
เมื่อเกิดเรื่องไม่คาดคิด ต้องจ่ายเงินฉุกเฉิน เช่น ค่ารักษาพยาบาล ค่าซ่อมแซมบ้าน ค่าซ่อมรถ ฯลฯ ถ้าหันมามองเงินในบัญชีแล้วไม่เพียงพอกับค่าใช้จ่ายที่เกิดขึ้นก็คงควักเงินจ่ายสบายๆ ไม่ต้องง้อใคร ....แต่ถ้าไม่มีเงินต้องทำไง จะยืมใครก็หนักใจที่จะพูดออกมา เรื่องเงินๆ ทองๆ เสียเพื่อนกันมานักต่อนักแล้ว
หลายคนที่หันไปพึ่งสินเชื่อนอกระบบ เพราะเห็นว่าได้ไว ได้ง่าย ขอบอกว่าให้คิดให้ดีอีกครั้ง! เพราะหนี้ก้อนนี้เป็นการปล่อยกู้โดยบุคคลทั่วไป ที่ไม่มีกฎหมายรับรอง มีลักษณะเป็นการยืมเงินปากเปล่า (หรืออาจมีการบันทึกข้อความ สัญญาไว้เป็นหลักฐานก็ได้)
ทั้งนี้สิ่งที่ผู้กู้มักจะพลาดในการเข้าสู่ระบบนี้คือ หนี้นอกระบบมักจะไม่มีการแจ้งอัตราดอกเบี้ย&เงื่อนไขที่ชัดเจน และมักคิดในอัตราที่สูงต่อเดือน ทำให้ต้องเสียเงินจ่ายหนี้มากกว่าที่กู้มาหลายเท่า และผ่อนไปแบบหนี้ทบต้น ทบดอก ไม่จบสิ้น โดยไม่สามารถประนอมหนี้ได้ และหากผิดนัดชำระหนี้ บางรายอาจมีอันตรายต่อชีวิตและทรัพย์สินของผู้กู้ได้!
อยากกู้ฉุกเฉินต้องทำไง?
แค่คิดก็แอบกลัว แต่เมื่อถึงคราวจำเป็น ใครเล่าจะรู้ว่าต้องทำไง?
หันมาพึ่งพาตัวเองแบบไม่เดือดร้อนใครจะดีที่สุด ตอนนี้แค่กดขอกู้ผ่านแอปพลิเคชันก็ทำได้ง่ายๆ แค่คลิก! ใช้เวลาพิจารณาไม่นานก็อนุมัติไวทันใจแน่นอน โดยก่อนคลิกกู้ เตรียมตัวให้พร้อมซักนิด ดังนี้
1.ศึกษาข้อมูล: ควรเช็ก ประเภทเงินกู้ ดอกเบี้ย เงื่อนไข คุณสมบัติ และรายละเอียดทุกอย่างให้ละเอียด เทียบดู 2-3 ราย ก่อนค่อยตัดสินใจ
2. เตรียมข้อมูลแหล่งรายได้ : เนื่องจากแหล่งรายได้เป็นข้อมูลสำคัญในการอนุมัติเงินกู้ ถ้าเรามีแหล่งรายได้ไม่ชัดเจน หรือไม่สม่ำเสมอ อาจมีผลต่อการอนุมัติได้ โดย
- พนักงานประจำ : จะใช้สลิปเงินเดือนยื่นกู้ได้เลย โดยถ้าเป็นพนักงานใหม่ต้องมีอายุงานอย่างน้อย 6 เดือน และผ่านการทดลองงานแล้ว
- อาชีพอิสระ : ใช้หลักฐานแสดงรายได้ เช่น เอกสารรับเงิน หลักฐานทางภาษี ฯลฯ หรือ ถ้ามีรายได้เป็นเงินสด ให้เตรียมหลักฐานการเดินบัญชี (Statement) โดยนำเงินที่ได้จากการทำงาน โอนเข้าบัญชี เพื่อบันทึก Statement ให้เห็นว่ามีรายได้เข้ามาอย่างต่อเนื่อง และมีศักยภาพในการชำระเงินคืน
3. เช็กความสามารถในการชำระหนี้ หรือ ภาระหนี้ ว่ายังกู้ไหวมั้ย มีเงินพอจ่ายหรือไม่ โดยธนาคารส่วนใหญ่จะปล่อยสินเชื่อเมื่อผู้ขอกู้มียอดผ่อนชำระหนี้เก่า + ใหม่แล้วไม่เกิน 60-70% ซึ่งหมายความว่าผู้ขอกู้ยังมีเหลือใช้ไม่น้อยกว่า 30% และยังสามารถใช้ชีวิตได้แม้มียอดสินเชื่อต้องจ่ายก็ตาม
4. ต้องมีประวัติชำระหนี้ที่ดี : การรักษาประวัติการชำระเงินที่ดีจะทำให้กู้เงินได้ง่าย ทั้งนี้หากมีประวัติค้างชำระหนี้ หรือผิดชำระหนี้บ่อยๆ จะมีการบันทึกประวัติในเครดิตบูโร ซึ่งถ้าค้างชำระเกิน 90 วัน ระบบจะบันทึกเป็นบัญชีหนี้เสีย และอาจส่งผลต่อการพิจารณาสินเชื่อในอนาคตได้
ทั้งนี้สิ่งสำคัญที่อยากบอกไว้อีกอย่างคือ การมีเงินออมฉุกเฉิน จะเป็นตัวช่วยป้องกันปัญหาทางการเงินได้ดีทีเดียว เพราะเงินก้อนนี้จะช่วยรองรับการใช้ชีวิตในช่วงที่ขาดรายได้ หรือมีค่าใช้จ่ายเพิ่มขึ้นอย่างที่ไม่ทันคาดคิด
ควรมีเงินออมฉุกเฉินจำนวนเท่าไหร่?
นักวางแผนการเงินแนะนำไว้ว่าควรมีเงินออมฉุกเฉินควรมีอย่างน้อย 6 เท่าของค่าใช้จ่ายต่อเดือน โดยการวางแผนเก็บเงินออมฉุกเฉิน จะพิจารณาตามปัจจัยต่างๆ เช่น
• ความมั่นคงของรายได้ ถ้าทำอาชีพที่รายได้ไม่แน่นอน ก็ควรมีเงินออมฉุกเฉินมากกว่าผู้ที่มีรายได้ประจำเช่น ฟรีแลนซ์ควรมีเงินออมฉุกเฉินสำรองไว้ > 6 เท่าของค่าใช้จ่ายต่อเดือน เพื่อเป็นเงินสำรองเผื่อกรณีมีปัญหาด้านการเงิน
• ค่าใช้จ่ายในแต่ละเดือน ต้องครอบคลุมค่าใช้จ่ายที่เกิดขึ้นในแต่ละเดือนทั้งของตนเองและครอบครัว
• สินทรัพย์อื่นที่มี สามารถเปลี่ยนมาเป็นเงินฉุกเฉินได้เช่นกัน เช่น กองทุน หุ้น หรือแม้กระทั่งกรมธรรม์ประกันชีวิตก็มีมูลค่าเงินสดให้เวนคืนได้ แต่ก็ต้องดูสภาพคล่องของสินทรัพย์ที่มีด้วยว่าสามารถแปลงเป็นเงินได้ทันใจมากน้อยแค่ไหน คุ้มที่จะนำออกมาใช้? เพราะอาจทำให้ผิดแผนในระยะยาวที่วางไว้ก็เป็นได้
• อื่นๆ หากเป็นเสาหลักก็ต้องมีเงินฉุกเฉินเผื่อคนอื่นในครอบครัวเผื่อไว้ด้วย
เหตุฉุกเฉินอาจเกิดขึ้นได้เสมอ เราต้องเตรียมตัวให้พร้อมรับมือกับเรื่องไม่คาดฝันไว้ล่วงหน้า แม้ท้ายที่สุดแล้วการกู้คือทางออก แต่ก็ต้องรู้จักใช้และบริหารให้เป็น จะได้ผ่านพ้นช่วงวิกฤตและใช้ชีวิตได้อย่างมีความสุขต่อไป
ดูคลิปเต็มกู้สตอรี่ EP8 : เกิดเหตุฉุกเฉินต้องใช้เงินด่วนจะทำไงดี? ได้ที่ >>
กดสมัครของสินเชื่อด้วยตนเองได้ง่ายๆ ผ่านแอป SCB EASY >>
ที่มา : รายการกู้สตอรี่ EP8 : เกิดเหตุฉุกเฉินต้องใช้เงินด่วนจะทำไงดี? โดยโค้ชหนุ่ม จักรพงษ์ เมษพันธุ์ ออกอากาศวันที่ 27 กันยายน 2565
โฆษณา