30 ก.ย. 2022 เวลา 17:04 • สุขภาพ
"วางแผนเกษียณอายุไปทำไม จะได้ใช้เงินมั้ยก็ไม่รู้ ?"
  • จำเป็นแค่ไหนที่เราจะต้องวางแผนเกษียณอายุ
คุณอาจจะกำลังคิดว่า ตอนแก่ ไม่ได้ลำบากอะไรมาก ฉันอยู่ได้ด้วยเบี้ยคนชราจากรัฐบาล บัตรสวัสดิการแห่งรัฐ โครงการคนละครึ่ง และเข้าโรงพยาบาลเพื่อใช้สวัสดิการค่ารักษาพยาบาลที่รัฐบาลจัดให้ แต่ชีวิตตอนแก่ตัว มันง่ายขนาดนั้นจริงหรือ??
เราอยากให้คุณลองอ่านบทความนี้ต่อไป เพราะคุณอาจมีค่าใช้จ่ายอื่นที่ยังต้องเตรียมไว้ใช้อยู่ดี ค่ารถไปหาหมอ เงินอีกครึ่งที่ต้องเติมในแอพเป๋าตังค์ เงินเติมเงินมือถือ ค่า internet และค่าน้ำ ค่าไฟ ค่าซองผ้าป่า ค่าหวย ค่าไถ่ชีวิตโคกระบือ เงินซ่อมบ้าน และถ้ายังไม่หมดหนี้ ก็เงินใช้หนี้
สวัสดิการจากรัฐ มันพอจริงหรือ?
ประเทศไทยก้าวเข้าสู่สังคมสูงวัย (ageing society) ไปแล้วเมื่อปี 2548 และใช้ระยะเวลาเพียง 18 ปี สำหรับการก้าวเข้าสู่สังคมสูงวัยสมบูรณ์ (aged society) ซึ่งเร็วกว่าประเทศเจริญแล้วอย่างสหรัฐอเมริกาถึง 55 ปี และในปี 2574 ประเทศไทยจะเข้าสู่สังคมสูงวัยสูงสุด (super- aged society)
ไม่เพียงเท่านั้น สถิติเกี่ยวกับอายุของคนไทยบอกกับเราว่า ในปี 2568 คนไทยมีแนวโน้มที่จะมีอายุเฉลี่ยประมาณ 85 ปี จากปัจจุบันที่อายุเฉลี่ยประมาณ 75 ปี นั่นเท่ากับว่า เมื่อกลายเป็นสังคมสูงวัยแล้ว แนวโน้มประชากรคนทำงานก็จะน้อยลง ภาษีที่จัดเก็บจากผู้ที่ทำงานมีรายได้ก็จะลดลง การเติบโตของเศรษฐกิจในประเทศก็ชะลอตัวลงตามไปด้วย
นอกจากนี้ แนวโน้มเพิ่มขึ้นของอัตราเงินเฟ้อ ยังส่งผลต่อการเพิ่มขึ้นของอัตราค่าครองชีพด้วย ที่ผ่านมาถ้าเราคิดกันง่ายๆ ว่า ทุกระยะเวลา 10 ปี ของจะแพงขึ้น 2 เท่า (อัตราเงินเฟ้อประมาณ 4% ต่อปี) แต่ถ้าเราเห็นอัตราเงินเฟ้อวันนี้แล้ว ใน 10 ปีข้างหน้า ข้าวของไม่น่าจะแพงขึ้นแค่ 2 เท่าแล้วจริงมั้ย?
“เงินเฟ้อทำให้ของแพงขึ้นและทำให้มูลค่าเงินในกระเป๋าของเราลดลง ทุกวันทุกวัน”
  • เราจะเริ่มต้นวางแผนเกษียณอายุยังไงดี
เวลามีแบบสอบถามถามว่า “คุณคิดว่าจะมีอายุยืนยาวไปถึงเท่าไหร่?” หรือ “อยากเลิกทำงานตอนอายุเท่าไหร่?” หรือ “อยากทำอะไรตอนที่เกษียณอายุไปแล้ว?”
สิ่งที่เราคิดกันก็คือ คงจะมีอายุถึงสัก 80 หรือ 85 ปีล่ะมั้ง ไม่อยากอายุยืนยาวมาก กลัวไม่มีแรง ไม่มีเงินใช้ ส่วนใหญ่ก็ไม่มีใครอยากทำงานไปจนแก่ หรือถ้าทำงานก็ขอทำงานเพราะอยากทำ ทำแก้เหงาแก้เบื่อ ไม่ได้ทำเพื่อหาเงิน แต่ไม่ว่าจะอายุยืนแค่ไหนก็ขอให้มีเงินใช้และสุขภาพแข็งแรงก็พอ
ตอนเรานึกถึงชีวิตแบบนั้น เราจะคิดถึงเส้นทางที่เราสุขสบายที่สุด มีบ้าน มีรถ มีชีวิตที่ไม่ต้องตื่นมาเพื่อดิ้นรนทำงานอีก หรือไม่ก็อยากเกษียณตัวเองออกมาจากงานไวไวเลย อยากไปเที่ยว อยากนอนอ่านหนังสือ และขอให้มีเงินใช้ไปเรื่อยๆ ด้วย
ทั้งหมดที่ว่ามา เรามาขบคิดและวางแผนการจริงจัง ก็ตอนที่เราทำงานกันมาพักใหญ่ หรือไม่ก็ตอนที่มาเจอคำถามพวกนี้ บางคนคุยเรื่องเกษียณอายุกันตอนอายุ 40 แล้วก็มี ไม่ใช่เรื่องผิดหรือร้ายแรงอะไร เพราะกว่าเราจะเรียนรู้และเข้าใจอะไรต่างๆ ในชีวิต ก็ต้องผ่านปัญหาหรืออุปสรรคมากมายทั้งนั้น โลกเหวี่ยงเราไปมา...เราก็มึนงงเป็นธรรมดา
1
ข้อมูลจาก https://www.chula.ac.th/clipping/84815/
โรงเรียนหรือพ่อแม่ของหลายคน มักจะสอนให้เราเรียนเก่ง หางานที่ดีและมั่นคงทำ เงินเดือนจะได้เยอะๆ ไม่มีใครได้เรียนหลักสูตรที่สอนให้เราวางแผนการเงิน โรงเรียนหรือพ่อแม่ของเรามากที่สุดก็สอนให้เราประหยัด เก็บออม เอาเงินไปฝากธนาคาร ซึ่งดูเหมือนว่า เทรนสังคมของเราจะต้องการสอนให้เราเรียนจบและออกไปทำงาน เรื่องการใช้เงินใช้ชีวิตก็ให้โลกผลักเราไปมาและเรียนรู้แก้ปัญหาเอาเองเถิด
ที่สุดเราก็ก้มหน้าก้มตาทำงาน มีบ้าน มีรถ ผ่อนบ้าน ผ่อนรถ และใช้หนี้ไป 10 ปี หรือ 30 ปี บางคนโชคดีหน่อยอาจจะไม่ต้องผ่อนก็ได้
แต่เมื่อวันเวลาผ่านไป เราเงยหน้ามาจากงานที่ทำ พร้อมกับเริ่มคิดว่า เราจะทำงานแบบนี้ไปถึงเมื่อไหร่? ถ้าหยุดทำงานเงินที่มีจะพอใช้มั้ย? ธุรกิจที่มีถ้าปล่อยคนอื่นทำจะดีเท่าที่เราทำรึเปล่า หรือบางคนอาจจะคิดไปว่าลูกหลานจะมาเลี้ยงเรามั้ย? หวังว่าจะไม่มีใครคิดแบบหลังสุดกันนะ
บางทีบางคนมีคิดเอาไว้คร่าวๆ นิดหน่อยว่า จะไปอยู่บ้านพักคนชรา (nursing home) ไม่เหงา เพราะจะไปกับเพื่อน ไปหาเพื่อนเอาในนั้น หรือไม่ก็นอนชมสวน ต้นไม้ อยู่ในบ้านของตัวเองที่ต่างจังหวัด อากาศสบายๆ
  • คำถามคือแล้วจะมีชีวิตแบบนั้นได้ยังไง
สำหรับคนโสด หรือคนที่ยังไม่มีบ้านเป็นทรัพย์สินของตัวเอง และเลือกที่จะใช้ชีวิตวัยเกษียณในบ้านพักคนชรา (nursing home)
เรามาดูราคาที่ต้องจ่ายเพื่อเข้าไปอยู่ในสถานที่เหล่านั้นกัน ราคาเริ่มต้นอยู่ที่ประมาณ 18,000 บาทต่อปี สำหรับบ้านบางแค หรือราคาเริ่มต้นที่ 1.1 ล้านบาท สำหรับบ้านขนาด 55 ตารางเมตร ในโครงการ Supalai Wellness Valley หรือถ้าเช่าเป็นบ้าน (ส่วนใหญ่ระยะเวลาเช่า 30 ปี และขายคืนหรือเลือกเช่าต่อ) ราคาเริ่มต้นที่ 1.3 ล้านบาท สำหรับบ้านขนาด 55 ตารางเมตร ในโครงการ Supalai Wellness Valley เช่นกัน
ดังนั้น เงินเริ่มต้นที่เราเตรียมสำหรับการเลือกที่อยู่อาศัยในบ้านพักคนชราจะเริ่มต้นที่ประมาณ 540,000 ต่อปี อ้างอิงจากการเช่าบ้านบางแคเป็นเวลา 30 ปี
“ไม่มีใครอายุเพิ่มขึ้น แล้วจะแข็งแรงมากขึ้นจริงมั้ย?”
ข้อมูลจาก https://www.chula.ac.th/clipping/84815/
ความสามารถในการทำเงินของเราก็เช่นกัน เราอาจคิดว่า ถึงตอนนั้นเราก็จะมีเงินเดือนเยอะขึ้น หรือมีรายได้จากทางอื่นมากขึ้น เก็บเงินได้เยอะขึ้น แต่มีความจริงอยู่อย่างหนึ่งที่เราปฏิเสธไม่ได้ เพราะระหว่างที่เราใช้ชีวิต เงินที่มันเพิ่มมาทีละนิด ทำให้เราใช้จ่ายมากขึ้นแบบเนียนๆ ทั้งจากข้าวของที่แพงขึ้น บวกกับนิสัยการเอฟสินค้าของเราเองด้วย
ข้อมูลทางสถิติบอกว่า ปกติแล้วอัตราค่ารักษาพยาบาลจะเพิ่มขึ้นประมาณ 5 – 8% ต่อปี และเบี้ยประกันสุขภาพก็จะปรับขึ้นทุก 5 ปี ทำให้ค่าใช้จ่ายในการรักษาพยาบาลของผู้สูงอายุอยู่ที่ประมาณ 30,000 บาทต่อการเข้าโรงพยาบาลหนึ่งครั้ง ซึ่งสูงกว่าอัตราค่ารักษาพยาบาลของคนที่ไม่ใช่ผู้สูงอายุประมาณ 10,000 บาท
ดังนั้น สิ่งที่เราจะเจอในตอนที่เราแก่ตัวลง นอกจากการปวดคอ บ่า ไหล่ และหลังแล้ว เรายังต้องเจอกับค่าใช้จ่ายเรื่องการรักษาพยาบาลที่เพิ่มขึ้น ค่าใช้จ่ายสำหรับที่อยู่อาศัย ค่าใช้จ่ายในชีวิตประจำวัน และค่าใช้จ่ายในการทำศพ อีกอย่างคือ ค่าใช้จ่ายเกี่ยวกับหนี้สิน รวมไปถึงการเสี่ยงโชค (ถ้ามี)
ข้อมูลจาก https://www.chula.ac.th/clipping/84815/
มาถึงตรงนี้ บางคนคงนึกถึงเงินชราภาพจากประกันสังคม กองทุนสำรองเลี้ยงชีพ หรือกองทุนอะไรต่อมิอะไรที่พอจะมีเงินใส่เข้าไปบ้างเพื่อใช้สำหรับการเกษียณอายุ ซึ่งเราถูกที่ทำงานหรือนายจ้างหักเงินเข้าไปในกองทุนเหล่านั้น ไม่ก็เราบังเอิญซื้อกองทุนเอาไว้ลดหย่อนภาษีนิดหน่อย ส่วนผลตอบแทนก็ขาดทุนบ้าง กำไรบ้าง
สนใจไปดูบ้าง ปรับแผนบ้าง แผนไหนเพื่อนบอกว่าดีก็แผนนั้น ถึงวันเกษียณอายุจะได้เท่าไหร่...ก็เท่านั้น เดี๋ยวว่ากันอีกที แต่พอเห็นแนวโน้มค่าใช้จ่ายที่เราพูดไปแล้ว ก็คงเริ่มเอ๊ะในใจแล้วใช่มั้ยว่า เงินของเราที่อยู่ในกองอะไรต่อมิอะไรนั้น มันพอสำหรับชีวิตที่เราคิดไว้รึเปล่า?
  • ใครรู้ตัวก่อนคนนั้นจะเหนื่อยน้อยกว่า
เพราะการวางแผนเกษียณนอกจากจะยากและซับซ้อนแล้ว ยังเป็นการวางแผนเก็บเงินระยะยาวที่ผลตอบแทนขึ้นอยู่กับระยะเวลาในการเก็บเงิน และความสามารถในการหารายได้ของเราด้วย ยิ่งเริ่มเก็บตอนอายุน้อย เวลาในการเก็บเงินก็จะมาก ขณะที่จำนวนเงินที่ต้องเก็บแต่ละงวดจะน้อย แต่หากมาเริ่มเก็บตอนอายุมาก เวลาในการเก็บเงินก็จะน้อย จำนวนเงินที่ต้องเก็บแต่ละงวดก็จะมาก ลองคิดแบบง่ายๆ กันดูนะ
  • เราสมมติให้วันนี้ เราอายุ 40 ปี เหลือเวลาทำงาน 20 ปี (สมมติให้เกษียณตอนอายุ 60 นะ) ค่าใช้จ่ายทุกอย่าง 20,000 บาทต่อเดือน ตกปีละ 240,000 บาท โดยเราจะใช้เงินเท่านี้ไปเรื่อยๆ ตั้งแต่อายุ 60 ปี และเราคาดว่าเราจะเสียชีวิตแน่นอนตอนอายุ 85 ปี ก็คือมีเวลาใช้เงินเกษียณราว 25 ปี เราจะต้องมีเงินรองรับการมีชีวิตเกษียณนี้ประมาณ 6,000,000 บาท คิดแบบดิบๆ เลยนะ เราต้องเก็บเงินตั้งแต่ปีนี้ไปจนเกษียณอายุปีละ 300,000 บาท หรือตกเดือนละ 25,000 บาท
  • เอาใหม่ ให้เราทำงานตอนอายุ 22 ปี ถ้าเราสมมติให้เกษียณตอนอายุ 60 เท่ากับตัวอย่างแรก เราจะมีเวลาทำงานเพื่อเก็บเงิน 38 ปี ภายใต้เงื่อนไขการใช้เงินแบบเดียวกับตัวอย่างแรก ในตัวอย่างนี้เราจะต้องเก็บเงินปีละประมาณ 160,000 บาท หรือตกเดือนละแค่เกือบๆ 13,200 บาท
ถึงตรงนี้หลายคนอาจจะบอกว่า เราก็เก็บแล้วไงล่ะ เงินสะสมในประกันสังคมหรือกองทุนสำรองเลี้ยงชีพ ประเด็นคือ เราเก็บเงินในกองทุนพวกนั้นต่อเดือนเพียงพอแล้วหรือยัง ผลตอบแทนที่ได้รับในแต่ปีเข้าใกล้ตัวเลขในตัวอย่างข้างต้นแค่ไหน
และที่สำคัญเราต้องไม่ลืมว่า...ตัวเลขในตัวอย่าง และจำนวนเงินในกองทุนที่เรามองเห็นในวันนี้ ยังไม่รวมเงินเฟ้อ ไม่รวมค่ารักษาพยาบาลที่ยังไม่รู้ว่าเท่าไหร่แต่มีแน่ ๆ ไม่รวมภาระค่าใช้จ่ายของแต่ละคนด้วย เช่น ภาระหนี้สินที่ค้าง เบี้ยประกันสุขภาพที่ต้องชำระแบบปีต่อปี
ข้อมูลจาก https://www.chula.ac.th/clipping/84815/
ถ้าในความเป็นจริงเราอายุยืนเกิน 85 ปีขึ้นมาล่ะ? ตรงนี้แหละที่เราบอกว่า การเกษียณอายุเป็นการวางแผนระยะยาวที่ยากและซับซ้อน เพราะมีเหตุปัจจัยมากมายที่ส่งผลต่อการกำหนดจำนวนเงินที่ต้องการ เพื่อให้เพียงพอต่อการใช้ชีวิต และเป็นแผนที่หากเรารู้ตัวไว จะเหนื่อยน้อยกว่า เพราะเรามีเวลาเก็บเงิน นำเงินไปลงทุน และมีโอกาสรับความเสี่ยงจากการลงทุนได้มาก ซึ่งเราอาจได้รับผลตอบแทนที่มากไปด้วย (high risk, high return) ต้นทุนเรื่องเวลาจึงเป็นสิ่งที่มีค่ามาก สำหรับการวางแผนเกษียณอายุ
ข้อมูลจาก https://www.chula.ac.th/clipping/84815/
  • เงินแค่ไหนถึงจะพอใช้ตอนเกษียณ
อย่างที่บอกไปแล้วข้างต้น การวางแผนเกษียณเป็นการวางแผนที่ยากและซับซ้อน ดังนั้น จึงไม่มีใครรู้ว่าเงินจำนวนเท่าไหร่ถึงจะเพียงพอ เพราะปัจจัยการใช้จ่ายของแต่ละคนนั้นต่างกัน คำตอบจึงกลายเป็นว่า เราควรมีเงินให้มากที่สุดเท่าที่จะมากได้ และควรมีแผนลดความเสี่ยงจากปัจจัยต่างๆ ที่อาจมีขึ้นด้วย
ข้อมูลจาก https://www.chula.ac.th/clipping/84815/
  • เมื่อไหร่ที่ควรจะวางแผนเกษียณอายุ
เราควรเตรียมการวางแผนเกษียณอายุให้เร็วที่สุดเท่าที่เราจะสามารถทำได้ เพราะรู้ตัวก่อน เก็บก่อน เหนื่อยที่ไม่เหนื่อยแต่ที่แน่นอนคือไม่เหนื่อยตอนแก่ สำหรับใครที่ยังไม่เคยคิดถึงสิ่งนี้เลย และยังหาทางออกให้ตัวเองไม่เจอว่าจะทำยังไง เราแนะนำว่า รีบทำตั้งแต่วันนี้เลย วันที่คุณยังมีเวลาและมีรายได้ จำนวนเงินเท่าไหร่ยังไง เลือกให้ดีที่สุดต่อตัวเอง โดยเผื่อไว้สำหรับการวางแผนในด้านอื่นๆ ด้วย
A Holistic Framework for Life Cycle Financial Planning
  • เราจะวางแผนเกษียณอายุที่ไหนดี
ไม่ว่าคุณจะมีประกันสังคม กองทุนสำรองเลี้ยงชีพ หรือไม่มีแผนอะไรเลยก็ตาม เราขอแนะนำให้คุณรู้จักกับการสร้างระบบบำนาญให้กับตัวเอง ด้วยแผนบำนาญมั่นคง ลดหย่อนภาษีได้ (สูงสุด 200,000 บาท) เก็บเงินคงที่ การีนตีเงินคืนรายงวด ตั้งแต่คุณอายุ 60 ปี ไปจนถึงอายุ 85 ปี ผลตอบแทนสูงแบบตะโกน! มาลองดูตัวอย่างกันก่อนว่า การรู้ก่อน เก็บก่อน เหนื่อยที่ไม่เหนื่อย มันเป็นยังไง
จำตัวอย่างของเราที่อายุ 40 ปี และอยากมีเงินใช้เดือนละ 20,000 บาทได้มั้ย
เราสมมติให้วันนี้ เราอายุ 40 ปี และได้รู้จักกับแผนบำนาญมั่นคง เราไม่จำเป็นต้องเก็บเงินหลังคดหลังแข็งปีละ 240,000 บาทอีกต่อไป เพราะเราจะทำงานและเก็บเงิน 20 ปี แค่ปีละ 183,000 บาท ตกเดือนละ 15,250 บาท (มีทอน) และตอบโจทย์การมีเงินใช้เดือนละ 20,000 บาท สวยๆ จนอายุ 85 ปี
เก็บน้อยลงเกือบ 24% และผลตอบแทนเกือบ 6% นี่แหละที่บอกว่า รู้ก่อน เก็บก่อน การเหนื่อยที่ไม่เหนื่อย...อาศัยแค่ความมีวินัย เก็บเงินสม่ำเสมอทุกงวด แต่ถ้าสมมติเราเสียชีวิตขึ้นมา อยู่ไม่ถึงเกษียณอายุล่ะ ไม่เป็นไร เราไม่ได้ใช้ คนที่เรารักก็ได้ใช้ จ่ายคืนมาให้คนรักของเรา 105% ของเงินที่เราสะสมไว้หรือมากกว่ากรณีเราส่งมานานมากๆ
ในกรณีที่คุณมีประกันสังคมและกองทุนสำรองเลี้ยงชีพ แผนบำนาญมั่นคง จะกลายเป็นเครื่องทุ่นแรงของคุณทันที เพราะประกันสังคมและกองทุนสำรองเลี้ยงชีพการันตีว่าคุณมีเงินงอกออกมาแน่นอน แต่เท่าไหร่ ก็ขึ้นอยู่กับเงื่อนไขที่กำหนด
ส่วนแผนบำนาญมั่นคงจะให้เงินรายงวดที่แน่นอนกับคุณ คุณจะรู้จำนวนเงินต่อเดือนที่คุณมีตอนเกษียณตั้งแต่เริ่มต้นทำ โดยหน้าที่ของคุณหลังมีแผนบำนาญมั่นคง นอกจากคุณแค่ส่งเงินให้ครบตามแผนแล้ว เราขอให้คุณกลับไปทบทวนแผนการเก็บเงินในประกันสังคมหรือกองทุนสำรองเลี้ยงชีพที่คุณมี อย่าละเลยที่จะสำรวจเงื่อนไขต่างๆ หรือตรวจสอบความเสี่ยงที่คุณรับได้ เพื่อให้คุณไปถึงเป้าหมาย การมีเงินให้มากที่สุดเท่าที่จะมากได้ในวัยเกษียณ
เราต่างก็อยากมีชีวิตวัยเกษียณแบบสบาย ถ้าจะทำงาน ก็ทำเพราะอยากทำ ไม่ใช่ทำเพื่อเงิน จริงมั้ย?
วันนี้เราอยากให้คุณลองคิดถึงชีวิตวัยเกษียณของคุณแบบหลวม ๆ สำรวจการวางแผนการเงินของตัวเองว่า คุณมีความคุ้มครองความเสี่ยงในด้านต่าง ๆ ไม่ว่าจะเป็น ชีวิต ค่ารักษาพยาบาล โรคร้ายแรง อุบัติเหตุ หรือชดเชยรายได้ หากคุณอยากให้ใครสักคนช่วยสำรวจความคุ้มครองที่มีอยู่หรือขาดหายไปให้กับคุณ หรือใครสักคนที่คุณรัก เราอยากบอกกับคุณว่า ยินดีด้วยที่วันนี้เราได้พบกัน และยินดียิ่งที่คุณอ่านจนถึงบรรทัดนี้ เรายินดีที่จะช่วยคุณทำสิ่งต่างๆ เหล่านั้น
อย่าเพิ่งกังวลใจเรื่องเงินที่คุณต้องจ่าย
เราอยากชวนคุณมาฟังเรื่องราวที่เรากำลังทำอยู่ตอนนี้ เราจะใช้เวลาด้วยกันแค่เพียง 20 นาที ไม่เกิน 1 ชั่วโมง ผ่านมื้อกลางวันหรือมื้อเย็นในร้านดีดีที่ไหนสักแห่ง หรือผ่านช่องทางออนไลน์ในแบบที่คุณสบายใจ และหากคุณชอบกาแฟหรือขนมหวาน เรามีลิสต์ร้านที่น่าสนใจแนะนำด้วย
สนใจวางแผนเกษียณผ่านประกันบำนาญการันตีรายได้
กับเจ้าสำนัก #เซียมซีใบที่18
Facebook Page: เซียมซีใบที่ 18
โฆษณา