1 ต.ค. 2022 เวลา 10:22
ผมมองจากหลากหลายมุมดังนี้ครับ
1) ผมเองไม่เคยทำธุรกิจมาก่อนจนถึงทุกวันนี้ แต่ผม “ชอบ” ที่จะเรียนรู้ “แนวคิด” ของ “self-made” ที่สร้างเนื้อสร้างตัวขึ้นมาด้วยตัวเองในลักษณะ “rags-to-riches” ซึ่งมีอยู่หลายท่าน
“John Paul DeJoria” คือหนึ่งใน founders ที่ผมชื่นชอบในการฟังบทสัมภาษณ์ของท่านมากที่สุด
ท่านหนึ่ง
ท่านเคยเป็น “คนไร้บ้าน” (homeless) อย่างน้อยๆหนึ่งหนในชีวิตของท่าน
ท่านเริ่มจากการ “เดินเร่” ขายแชมพูที่ท่านกับเพื่อนร่วมกันผลิตเอง แล้วท่านก็หยิบขวดแชมพูจากท้ายรถของท่าน ตระเวนเดินเคาะประตูบ้านเพื่อขายแชมพูเหล่านั้นที่ละหลังๆ
แน่นอนว่ามีคนที่ไม่สนใจสินค้าของท่านและ “ปิดประตู” ใส่หน้าท่านเป็นจำนวนไม่น้อย แต่ท่านก็ไม่อนุญาตให้ “การถูกปฏิเสธ” เหล่านั้นทำให้ท่านสูญเสีย “พลัง” ในการขายแต่อย่างใด
จนกระทั่งผลิตภัณฑ์แชมพูที่ท่านเริ่มต้นลงทุนด้วยเงินเพียง $700 เหรียญ เติบโตกลายเป็น กิจการผลิตภัณฑ์ดูแลเส้นผมที่มียอดขายราว $900 ล้านเหรียญ ในปี 2010
คำกล่าวของท่านที่ผมจดจำได้ดีคือ
“I don’t care how good your idea is, no matter how unique it is, you’re going to get a lot of rejection,”
”You have to be able to knock on door number 100 and be just as enthusiastic at that door as you were on the first 100 doors that were slammed in your face.”
“You don’t want to be in the selling business. Instead, you want to be in the reorder business, where
your product or service is so good, people want to reorder it or reuse it.”
นั่นคือ การที่ลูกค้าหรือ “potential customers” ต้องการ “contact details” จากคุณ ก็อาจเป็นเพราะสินค้าและบริการของคุณสามารถตอบโจทย์ชีวิตของพวกเขาและเธอได้เป็นอย่างดีจน “การติดต่อสื่อสาร” ระหว่างคุณและลูกค้ากลายเป็นสิ่งที่ลูกค้าต้องการและขาดไม่ได้! ซึ่งก็อาจมีปัจจัยให้พิจารณาเพิ่มเติม เป็นต้นว่า
2) Are you selling “painkillers” or “vitamins” ?
“คุณกำลังขาย ยาแก้ปวด หรือ วิตามิน?”
painkillers -> need to have
vitamins -> nice to have
ถ้าให้ผมเปรียบเทียบ ผมขอเปรียบเทียบแบบนี้ครับ
painkillers: นำ้มันเชื้อเพลิง
vitamins: นำ้มันเครื่อง
painkillers: นำ้ยาแก้ผมร่วง
vitamins: นำ้ยานวดผม
3) ข้อคิดเกี่ยวกับการเป็นเจ้าของกิจการตามความคิดเห็นส่วนตัวของผม ได้รวบรวมไว้ให้แล้วใน posts เหล่านี้ของผมครับ
โฆษณา