1 ต.ค. 2022 เวลา 13:45 • ไลฟ์สไตล์
สวัสดีค่ะ ช่วง"เมนี่มีเรื่องเล่า" วันนี้ขอเสนอเรื่อง...
Bone China
พอร์ซเลนที่เมนี่ชอบที่สุดก็คงหนีไม่พ้น Bone China และเมนี่ก็มันใจว่าหลายๆท่านก็หลงรักผลิตภัณฑ์พอร์ซเลนชนิดนี้เหมือนกัน...เนอะ
เป็นช่วงเวลาที่บ้าบอหนักมาก ชอบทุกอย่างที่เป็นCeramic
จริงๆแล้ว พอร์ซเลน แบ่งออกได้ 2ประเภทค่ะ คือ:
1. Hard-paste porcelain เป็นพอร์ซเลนที่ประกอบด้วยเคโอลิน (kaolin) ควอตซ์ (quartz) และแร่ฟันม้า (feldspar) และเผาที่อุณหภูมิสูงกว่า 1,350 องศาเซลเซียส
2. Soft-paste porcelain เป็นพอร์ซเลนที่ประกอบด้วยเคโอลิน ควอตซ์ แร่ฟันม้า หินเนฟิลีนไซอีไนต์ (nepheline syenite) กับแร่อื่น การเผาจะเผาที่อุณหภูมิต่ำกว่าฮาร์ด-เพซพอร์ซเลน
ซึ่ง Bone China จัดอยู่ในประเภท Soft-past porcelain ค่ะ
คุณสมบัติที่ทำให้ใครหลายๆคนตกหลุมรัก Bone China คงหนีไม่พ้น ความหรูหรา เรียบเนียน มันวาว บางเบา และคงทนในเวลาเดียวกัน
เสน่ห์ของ Bone China ไม่ได้มีแค่เฉพาะที่กล่าวไปเท่านั้นนะคะ แต่ยังมีคุณสมบัติ ขาวใส โปร่งแสง และเวลาเคาะเสียงกังวาลใส อีกด้วยค่ะ
แล้วทำไม่ต้อง China ล่ะ? ....มีใครสงสัยแบบเมนี่บ้างมั้ยคะ
คืองี้ค่ะ...
ก็ช่วงที่ชาวยุโรปฮิตสำรวจดินแดนใหม่ทางซีกโลกตะวันออก เค้าก็ได้ล่องเรือมาถึงประเทศจีน ละก็ได้พอร์ซเลนสวยๆติดไม้ติดมือกลับไป
ซึ่งด้วยความสวยของพอร์ซเลนจากประเทศจีนนี่แหละที่ทำให้ชาวตะวันตกพยามหาวิธีการต่างๆ เพื่อผลิตพอร์ซเลนให้สวยเหมือนพอร์ซเลนจากจีน
กระทั่งปี ค.ศ. 1748 ที่ประเทศอังกฤษ โทมัส ไฟรย์ (Thomas Frye) เป็นบุคคลแรกที่ถูกบันทึกว่า เป็นผู้ริเริ่มใช้เถ้ากระดูกเป็นส่วนผสมในการผลิตพอร์ซเลน และนี่คือจุดเริ่มต้นของผลิตภัณฑ์โบนไชนา โดยขณะนั้นเถ้ากระดูกถือเป็นส่วนผสมลับในการผลิตพอร์ซเลนของไฟรย์เลยทีเดียว
เรื่องก็มีอยู่ว่า โรงงานคุณไฟรย์เค้าอยู่ใกล้ตลาดค้าโค และโรงฆ่าสัตว์ ด้วยกระดูกที่ไม่มีใครต้องการ ไฟรย์เดินผ่านไปผ่านมาทุกวันก็ต้องคิดบ้างแหละว่าจะเอาไปทำประโยชน์อะไรได้บ้าง
เค้าเลยทดลองเอากระดูกมากำจัดเศษเนื้อ เอ็นที่ติดอยู่กับกระดูกออก แล้วนำไปเผา เมือเถ้ากระดูกเย็นตัวลงก็เอามาบดให้เป็นผง จากนั้นก็นำไปผสมลงในสูตรทำพอร์ซเลนของตัวเอง
คุณไฟร์ซเรียกพอร์ซเลนที่มีส่วนผสมของเถ้ากระดูกสัตว์ของเค้าว่า “fine porcelain”
ต่อมา โจเซียส สโปด (Josiah Spode) แทนทีจะใช้เถ้ากระดูอย่างเดียวแบบเฟร์ย เค้าได้ผสมแร่อย่างอื่นเข้าไปด้วย เช่น china stone, china clay จึงใช้ชื่อใหม่ว่า “Bone China”
ท๊าดา....จบ - -“
ไว้เมนี่มีเรื่อง จะมาเล่าให้ฟังอีกค่า
ขอบพระคุณมากเลยค่ะ
โฆษณา