7 พ.ย. 2022 เวลา 14:00 • ไลฟ์สไตล์
ทำไม ‘หมูกระทะ’ ถึงเป็นอาหารแห่งการเฉลิมฉลองในสังคมที่ทำงาน?
หมูทะป่ะ?, ปิ้งย่างไหม?, ร่างกายต้องการหมูกระทะ และอีกหลายบทสนทนาคล้ายๆกันนี้ น่าจะเคยเกิดขึ้นในอีกหลายบริษัท
ทำไม ‘หมูกระทะ’ ถึงเป็นอาหารแห่งการเฉลิมฉลองในสังคมที่ทำงาน?
ไม่ว่าจะในเลี้ยงต้อนรับ, เลี้ยงลาจาก, เงินเดือนออก, เงินเดือนใกล้หมด ฯลฯ หมูกระทะคือเมนูอาหารแรกๆที่พนักงานออฟฟิศมักนึกถึง เป็นเมนูที่ทั้งติดปาก และเป็นทางรอดในยามที่ไม่รู้จะเฉลิมฉลองด้วยวิธีใด
1
เหตุผลหนึ่งที่ “หมูกระทะ” ได้รับความนิยมในสังคมไทย โดยเฉพาะในสังคมคนทำงาน เป็นเพราะวิธีการกินของอาหารประเภทปิ้งย่างต้อง “ล้อมวง” รวมกันเป็นกลุ่ม โดยคนไทยและชาวเอเชียผูกพันกับวิถีเช่นนี้มานับตั้งแต่จำความได้ และแม้จะแตกต่างกันในรายละเอียดแต่การกินอาหารร่วมกันล้วนมีหัวใจคือ “สายสัมพันธ์” ที่ค่อยๆ เติบโตขึ้นกลางวงอาหาร และวิถีเช่นนี้ก็ไม่ต่างอะไรจากการมีวงน้ำชา, วงกาแฟ. วงเหล้า ที่มักใช้เป็นที่พูดคุย ปรับทุกข์ บอกเล่าเรื่องราวแบบที่บรรยากาศบนโต๊ะประชุมให้ไม่ได้
2
หมูกระทะ ยังเป็นทางเลือกที่หลากหลายสำหรับสมาชิกในทีม และเป็นข้อตกลงร่วมที่หาทางออกได้ง่ายที่สุด เพราะบางคนไม่กินผัก บางคนไม่กินเนื้อ บางคนชอบไส้กรอก การที่เตาหมูกระทะสามารถย่างก็ได้ ต้มก็ได้ และมีวัตถุดิบหลากหลาย ทำให้หมูกระทะตอบโจทย์คนทุกกลุ่ม
1
ถึงเช่นนั้นสิ่งที่ทำให้หมูกระทะอยู่ยงคงกะพัน และเป็นวัฒนธรรมของทุกกลุ่มการทำงานมานานนับสิบปี คือเรื่องของการวางราคา และการใช้กลยุทธ์แบบ Buffet ที่ทำให้ผู้บริโภคสามารถจำกัดงบประมาณในการกินได้
1
“ร้านบุฟเฟต์” หรือ One price ราคาเดียวนั้น เกิดขึ้นในช่วงภาวะเศรษฐกิจถดถอย ทรงตัว และยังไม่เฟื่องฟูมากนัก จึงทำให้ผู้บริโภคระมัดระวังการใช้จ่าย และการทำบุฟเฟต์ก็ช่วยทำให้ผู้บริโภคคาดเดาได้ว่าจะต้องจ่ายเท่าไหน การจำกัดราคาด้วยหลักการ Buffet หรือ All you can eat ไม่ว่าจะเป็น 199,299,399,599 บาทต่อหนึ่งอิ่ม
นั่นหมายความว่าทุกคนรับรู้กติการ่ววมกัน สามารถวางแผนได้ล่วงหน้า ทั้งยังสามารถจำกัดงบประมาณในกรณีที่ต้องเลี้ยงรับน้องใหม่ หรือเลี้ยงส่งเพื่อนได้ ต่างจากการกินแบบ A La Carte ที่เจ้ามือต้องอกสั่นหวั่นไหวเพราะไม่แน่ใจผลลัพธ์ราคา
ถึงวันนี้ไม่มีหลักฐานแน่ชัดว่าหมูกระทะมาจากไหนกันแน่ เนื่องด้วยวัฒนธรรมการกินถูกปรับไปตามพื้นที่ หลักฐานหมูกระทะในไทย อยู่ในช่วงปี 2500 ซึ่งเสิร์ฟในภัตตาคาร ใช้ชื่อว่า “เนื้อย่างเจงกิสข่าน” และในปี 2501 ในภาคอีสานมีร้านเนื้อย่างเกาหลี จนกลายมาเป็นหมูกระทะ และบุฟเฟ่ต์ในที่สุด ปัจจุบันหมูกระทะนับเป็น Soft Power หนึ่งของไทย มีคนเอาคอนเซ็ปต์ไปเปิดในต่างประเทศ และบางธุรกิจเช่นที่โรงแรมพัก แคมป์ปิ้ง ก็เอาหมูกระทะไปใส่ในแผนการท่องเที่ยว
1
โมเดล ของการกำหนดราคาอาหารประเภทปิ้งย่างนี้ ได้รับความโด่งดังมากในยุคหนึ่ง และส่งผลต่อเนื่องในปัจจุบัน ที่พูดถึงกันมากคือโมเดล ร้าน “ไดโดมอน” ซึ่งใครหลายคนนิยามว่า เป็นอะไรที่ฮิตมากในยุค ’90 –2000s ที่นี่เป็นร้านขวัญใจของนักเรียนนักศึกษา และกลุ่ม First Jobber ที่มาสังสรรค์
2
ทำให้ปิ้งย่างบุฟเฟต์มีภาพลักษณ์ของการกินได้เยอะ ราคาไม่สูงมาก สนุกสนาน อีกทั้งในความทรงจำของผู้คนยังจำเสียงโหวกเหวกโวยวายกันลั่นร้าน เอกลักษณ์ของข้าวผัดกระเทียม น้ำจิ้ม และ นั่นก็เหมือนเป็นจุดแรกๆที่การกินปิ้งย่างไม่ต่างอะไรจากการประชุม มีทติ้ง อย่างไม่เป็นทางการของหนุ่มสาวคนทำงาน
1
หรือกระทั่งปัจจุบัน การทำตลาดของแต่ละแบรนด์ เช่น “บาร์บีคิวพลาซ่า” ก็เป็นอะไรที่ถูกพูดถึงกันมาก ซึ่งทุกครั้งที่บาร์บีคิว พลาซ่า ออกมาลุยบุฟเฟ่ต์ จะเห็นกระแสตอบรับจากกลุ่มเป้าหมายดีมาก แต่ละวันแต่ละสาขาจจะมีคนเข้าคิว กันเป็นจำนวนมาก
1
การบริโภคหมูกระทะของชาวออฟฟิศ ยังเชื่อมโยงกับการเกิดขึ้นของไลฟ์สไตล์มอลล์ โดยที่บริษัท-สำนักงานเองก็ขยายตัวออกนอกเมืองมากขึ้น ซึ่งนั่นก็เป็นไปตามแนวโน้มที่อยู่อาศัยในปัจจุบัน ซึ่งเมื่อชุมชนเหล่านี้เป็นชุมชนที่มีผู้ที่อาศัยเริ่มจะหนาแน่น ห้างสรรพสินค้า ไลฟ์สไตล์มอลล์ ก็เกิดขึ้นตาม ยิ่งผนวกกับเวลาเปิดปิด ที่จอดรถ บรรยากาศ การตกแต่ง ร้านค้า ร้านอาหารภายในศูนย์ นี่จึงเป็นตัวเลือกแรกๆหากต้องหาพื้นที่เป็นแหล่งสังสรรค์กัน
ปัจจุบันคาดการณ์กันว่า มูลค่าตลาดปิ้งย่างในไทยรวม 7,000-9,000 ล้านบาทต่อปี และหลังโควิด-19 ก็ยังมีโอกาสเติบโตอีกมาก และสำหรับในกลุ่มมนุษย์เงินเดือน การกิน “หมูกระทะ” มีความหมายมากกว่าการกินอาหารทั่วไป แต่เป็นการสร้างโอกาสพิเศษ เป็นการกินอาหารที่แฝงไปด้วยความสนุกสนาน สร้างความสามัคคี และหาพื้นที่ “เปิดใจ” ในคราวเดียวกัน
2
โฆษณา