2 ต.ค. 2022 เวลา 05:09 • ประวัติศาสตร์
ในช่วงเวลานี้กบฏชาวนามีพลังขับเคลื่อนด้วยคำขวัญ “ให้ผู้ดีกับไพร่ คนจนกับคนรวย เสมอภาคเท่าเทียมกัน และยังมีกระแสลัทธิชาตินิยมที่ผลักดันให้เกิดความต้องการขับไล่ชาวมองโกลออกไปจากประเทศจีน
ค.ศ. 1368 กองทัพจูหยวนจางบุกประชิดเมืองต้าตู พระเจ้าหยวนซุ่นตี้หนีไปยังเมืองซ่างตู (ในมองโกเลียใน) ราชวงศ์หยวนล่มสลาย แต่คนในราชวงศ์ที่หนีไปได้ ได้ก่อตั้งอาณาจักรแห่งใหม่เรียกว่า ราชวงศ์เป่ยหยวน หรือหยวนเหนือ บริเวณมองโกเลียในและมองโกเลีย ในปัจจุบัน
สมัยราชวงศ์หมิง (ค.ศ.1368-1644) และราชวงศ์ชิง (ค.ศ.1636-1911)
ราชวงศ์หมิง (ค.ศ.1368-1644)
ค.ศ. 1368 จูหยวนจางขึ้นครองราชย์เป็นจักรพรรดิ (ค.ศ. 1368-1398) ใช้ต้าหมิงเป็นชื่อราชวงศ์ ใช้พระ นาม “พระเจ้าหญิงไท่จู่” (หงอู่)
ราชวงศ์หมิงทำการปกครองด้วยระบบอัตตาธิปไตยและทำให้ลัทธิเผด็จการพัฒนาไปถึงขีดสุด มีการใช้ องค์กรทางทหารและองค์กรเฉพาะกิจมาควบคุมและตรวจตราเหล่าข้าราชการชั้นต่างๆ อย่างเข้มงวด และไม่อนุญาตให้ใครมาวิพากษ์วิจารณ์พระองค์ อีกด้านหนึ่งคือ
มีการรื้อฟื้นลัทธิขงจื๊อ โดยนำไปใช้ปรับปรุงระบบการสอบข้าราชการและทหาร
ลัทธิเต๋าได้รับการฟื้นฟูและมีความสำคัญเพิ่มขึ้นเรื่อยๆ ในสมัยพระเจ้าหมิงเฉิงจู่ (ค.ศ. 1402-1425) ทรงมีศรัทธาในนักบวชเต๋า ทำให้รัชสมัยนี้มีการสร้างวัดเต๋าที่สง่างามขึ้นหลายแห่ง
ส่วนพุทธศาสนา ยุครุ่งเรืองของพุทธศาสนาได้ยุติลงแล้ว
เมื่อผู้ปกครองใช้อำนาจเผด็จการ ทำให้การเข่นฆ่าทำร้ายฝ่ายตรงข้ามอย่างไร้ความปราณี เป็นไปได้
ค.ศ. 1405 พระเจ้าหมิงเฉิงจู่ (ค.ศ. 1402-1425) ให้ขันทีชื่อ “เจิ้งเหอ” นำทหาร กะลาสีเรือและคนอื่นๆ รวม 27,800 คน แยกกันลงเรือเป่าฉวน จำนวน 62 ลำ เดินทางไปเป็นทูตที่ยุโรปตะวันตก (ในเวลานั้นให้ น่านน้ำที่อยู่ทางตะวันตกของมะละกาเป็นยุโรปตะวันตก) เป็นครั้งแรก
เจิีงเหอ แม่ทัพเรือจีนหรือเทพเจ้าซำปอกง
ค.ศ. 1421 พระเจ้าหมิงเฉิงจู่ ประกาศย้ายเมืองหลวง โดยสถาปนา เมืองปักกิ่ง เป็นเมืองหลวงใหม่
พระเจ้าหมิงเสวียนจง (ค.ศ.1425-1435) ทรงได้ชื่อว่าเป็นผู้ให้การอุปถัมภ์ศิลปกรรมอย่างแข็งขัน
กษัตริย์หมิงต่อๆ มาไม่สนใจออกว่าราชการ ทรงปล่อยให้ขันทีบ้าง พระญาติบ้าง พระสนมบ้าง เหล่าพ่อมด หมอผีบ้าง เรืองอำนาจทำการฉ้อฉลและฮึกเหิมเที่ยวรังแกประชาชน ส่งผลให้ราชวงศ์หมิงต้องตกอยู่ในภาวะเสื่อมโทรม การคลังอัตคัดขัดสน เกิดการต่อต้านและการต่อสู้ของชาวนาอย่างต่อเนื่อง รวมทั้งยังมี การปะทุของวิกฤติการณ์ในบริเวณชายแดน
ค.ศ. 1464 กลุ่มภิกษุสามเณรจากวัดไห่ซีชื่อ มณฑลซื่อชวน (เสฉวน) ปลุกระดมประชาชนกลุ่มต่างๆ ประมาณ 4 หมื่นคนลุกฮือก่อการจลาจลทำร้ายเจ้าหน้าที่แต่ก็ถูกปราบปรามอย่างรุนแรง และต้องยอม จํานนอย่างไม่มีทางสู้
ค.ศ. 1466 ม็อบนักบวชที่ถูกปราบปรามไปเมื่อสองปีก่อนซ่องสุมกำลังกลับขึ้นมาใหม่ แต่ก็ถูกปราบปราม จนสลายตัวไปอีก
• รัชสมัยพระเจ้าซื่อจง (ค.ศ.1521-1566) ค.ศ.1541 พระนางจางไทเฮาผู้ครองอำนาจมา 2 รัชสมัย สิ้นพระชนม์ หมิงซื่อจงสั่งแบบสายฟ้าแลบจับพระญาติตระกูลจางสำเร็จโทษจนหมดสิ้น
● ค.ศ. 1542 เหยียนซง ได้ขึ้นเป็นอัครเสนาบดี เขาฝักใฝ่ลัทธิเต๋าและใช้นโยบายสร้างสิ่งก่อสร้างเป็นการใหญ่ ก่อให้เกิดภัยพิบัติทางการเมือง
(ยังมีต่อ)
024
โฆษณา