7 ต.ค. 2022 เวลา 05:27 • ประวัติศาสตร์
โรงกษาปณ์สิทธิการ
ตึกหลังใหญ่ริมถนนเจ้าฟ้าที่ปัจจุบันเป็นหอศิลปแห่งชาตินั้น คนที่ผ่านไปมาเกือบจะลืมไปแล้วก็ได้ว่า แต่เดิมเป็นสถานที่ผลิตเงินเหรียญมาตั้งแต่สมัยรัชกาลที่5 ที่เรียกในสมัยนั้นว่า โรงกษาปณ์สิทธิการ
กษาปณ์ โดยทั่วไปหมายถึง เงินตรา โรงกษาปณ์จึงหมายถึง สถานที่ทำเงินตรา แต่เดิมเงินตราของไทยนั้นเป็นเงินพดด้วง ใช้มือทำจึงผลิตได้ช้า
ในสมัยรัชกาลที่4 พระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวโปรดให้สร้างโรงเครื่องจักรสำหรับทำเงินเหรียญ และพระราชทานนามว่า โรงกษาปณ์สิทธิการณ์ ซึ่งอยู่ในพระบรมมหาราชวัง
เหตุแห่งการสร้างโรงกษาปณ์ เริ่มตั้งแต่การทำหนังสือสัญญาทางพระราชไมตรีกับนานาประเทศในสมัยรัชกาลที่4 การค้าขายเจริญเติบเติบโตมากขึ้นจึงเกิดการแลกเปลี่ยนเงินบาท พระคลังมหาสมบัติ ทำเงินด้วยวิธีนี้ใช้มืออย่างเก่าไม่ทัน จึงให้นฝราชทูตนำเครื่องจักในการสร้างเหรียญกษาปณ์มาด้วย
ต่อมาในสมัยรัชกาลที่5 เครื่องจักรที่ใช้มาตั้งแต่สมัยรัชกาลที่4ชำรุดใช้การไม่ได้ จึงสั่งทำเครื่องจักรมาจากประเทศอังกฤษ และตั้งโรงกษาปณ์ใกล้โรงกษาปณ์เดิม เปิดทำการครั้งแรก เมื่อวันที่ 31 พฤษภาคม 2419
พ.ศ.2444 โปรดให้สร้างโรงกษาปณ์ ภายนอกพระราชวัง เป็นตึกใหญ่สวยงาม เครื่องจักรใช้กำลังจากไฟฟ้า เปิดใช้เป็นทางการเมื่อวันที่ 4 กุมภาพันธ์ 2445
แต่เดิมโรงกษาปณ์ ขึ้นอยู่กับพระคลังมหาสมบัติ แต่ในสมัยสมเด็จพระปกเกล้าเจ้าอยู่หัวโปรดให้ยกเลิกโรงกษาปณ์ ตั้งเป็นโรงงานฝิ่นแทน และปี 2476ยกให้มีกองกษาปณ์ โดยอยู่ในความดูแลของกรมธนารักษ์
25 สิงหาคม 2515 กรมธนารักษ์มอบตึกให้กรมศิลปากรเพื่อใช้เป็นหอศิลปแห่งชาติและขึ้นทะเบียนเป็นโบราณสถานแห่งชาติ
โรงกษาปณ์
โฆษณา