2 ต.ค. 2022 เวลา 08:28 • ครอบครัว & เด็ก
📌ต่อมหมวกไต สำคัญไฉน ดูแลอย่างไรดี ?
📌ต่อมหมวกไต สำคัญไฉน ดูแลอย่างไรดี ?
ต่อมหมวกไตเป็นอวัยวะสำคัญอย่างหนึ่ง ทำหน้าที่หลั่งฮอร์โมนหลายชนิด ทั้งฮอร์โมนที่เกี่ยวข้องกับการควบคุมความดันโลหิตและระดับโซเดียมในเลือด รวมถึงฮอร์โมนเพศด้วย หากต่อมหมวกไตไม่แข็งแรงจะส่งผลอย่างไรต่อร่างกาย และจะทำอย่างไรเพื่อรักษาสุขภาพของต่อมหมวกไตให้แข็งแรงดี ศึกษาได้จากข้อมูลต่อไปนี้
📌ทำความรู้จักกับต่อมหมวกไต
ต่อมหมวกไตเป็นต่อมขนาดเล็กที่มีลักษณะคล้ายหมวกทรงสามเหลี่ยม ตั้งอยู่ที่ด้านบนของไตทั้ง 2 ข้าง ซึ่งต่อมหมวกไตแต่ละข้างแบ่งออกเป็น 2 ส่วน และแต่ละส่วนทำหน้าที่ผลิตฮอร์โมนแตกต่างกันไป ดังนี้
📌ต่อมหมวกไตส่วนนอก ทำหน้าที่ผลิตฮอร์โมนคอร์ติซอล (Cortisol) ที่ตอบสนองเมื่อร่างกายเข้าสู่ภาวะเครียดหรือภาวะฉุกเฉิน โดยช่วยควบคุมการทำงานของระบบเผาผลาญในร่างกาย ระดับน้ำตาลในเลือด รวมถึงระดับความดันโลหิต และผลิตฮอร์โมนอัลดอสเตอโรน (Aldosterone) ที่ช่วยควบคุมระดับความดันโลหิตด้วยการสร้างสมดุลของโพแทสเซียมและโซเดียมในร่างกาย
📌ต่อมหมวกไตส่วนใน ทำหน้าที่ผลิตฮอร์โมนอะดรีนาลีน (Adrenaline) ที่ช่วยกระตุ้นให้หัวใจทำงานหนักขึ้น ทำให้เลือดไหลเวียนได้ดีขึ้น ช่วยให้ร่างกายตื่นตัวตลอดเวลาเพื่อให้พร้อมรับมือสถานการณ์ฉุกเฉิน และเป็นสารสื่อประสาทด้วยเช่นกัน และยังผลิตฮอร์โมนนอร์อะดรีนาลีน (Noradrenaline) ที่มีหน้าที่คล้ายอะดรีนาลีน แต่นอร์อะดรีนาลีนสามารถทำให้หลอดเลือดหดตัวซึ่งส่งผลให้ความดันโลหิตสูงขึ้นได้
📌ปัญหาสุขภาพเกี่ยวกับต่อมหมวกไต
การทำงานของต่อมหมวกไตนั้นถูกควบคุมโดยต่อมใต้สมองและบางส่วนของต่อมไร้ท่อ หากต่อมใต้สมองไม่สามารถควบคุมการผลิตฮอร์โมนของต่อมหมวกไตได้ หรือมีเนื้องอกทั้งที่เป็นมะเร็งและไม่เป็นมะเร็งเกิดขึ้นที่ต่อมหมวกไต รวมทั้งเกิดการติดเชื้อที่ต่อมหมวกไต อาจส่งผลให้เกิดปัญหาสุขภาพที่เกี่ยวข้องกับต่อมหมวกไตได้ เช่น
- เนื้องอก ทั้งเนื้องอกแบบธรรมดา เนื้องอกที่เป็นเนื้อร้าย และเนื้องอกชนิดฟีโอโครโมไซโตมาที่จะส่งผลให้ร่างกายผลิตฮอร์โมนออกมามากเกินไป ซึ่งอาจทำให้ระดับความดันโลหิตเพิ่มสูงขึ้นได้
- ปัญหาของต่อมไร้ท่อ อาจเกิดขึ้นที่ต่อมหมวกไต หรือบริเวณอวัยวะอื่น ๆ อย่างต่อมไร้ท่อ ซึ่งอาจทำให้ต่อมหมวกไตทำงานมากหรือน้อยเกินไป จนส่งผลให้การผลิตฮอร์โมนในร่างกายขาดสมดุลและทำให้เกิดการเจ็บป่วยต่าง ๆ ตามมา
- ปัญหาในการผลิตฮอร์โมน อาจเป็นโรคแอดิสันที่เกิดขึ้นเมื่อต่อมหมวกไตไม่สามารถผลิตฮอร์โมนคอร์ติซอลหรืออัลดอสเตอโรนได้เพียงพอ ร่างกายจึงมีการทำลายเนื้อเยื่อต่อมหมวกไต ซึ่งเป็นโรคที่เกี่ยวกับระบบภูมิคุ้มกันที่พบได้ยาก หรืออาจเผชิญกลุ่มอาการคุชชิงที่เกิดขึ้นเมื่อต่อมหมวกไตผลิตฮอร์โมนคอร์ติซอลออกมามากเกินความจำเป็น นอกจากนี้ อาจเกิดจากโรคทางพันธุกรรมที่ชื่อว่า Congenital Adrenal Hyperplasia หรือ CAH ที่ส่งผลให้ต่อมหมวกไตผลิตฮอร์โมนผิดปกติ และอาจส่งผลต่อพัฒนาการของอวัยวะเพศชาย
📌การดูแลสุขภาพของต่อมหมวกไต
📌บริโภคอาหารที่ดี
สำหรับผู้ที่ต้องการเสริมสร้างสุขภาพของต่อมหมวกไต แพทย์จะแนะนำให้รับประทานอาหารที่มีสารอาหารครบถ้วน ให้ได้ปริมาณสารอาหารตามที่ร่างกายต้องการ ซึ่งมีโปรตีนในปริมาณที่พอเหมาะ มีไขมันชนิดที่ดี มีคาร์โบไฮเดรต และอาหารจำพวกผลไม้ เพื่อให้ร่างกายได้รับวิตามินและเกลือแร่ที่จำเป็น เช่น วิตามินซี วิตามินบี โดยเฉพาะวิตามินบี 5 และวิตามินบี 6 รวมถึงแมงกานีสที่จะช่วยส่งเสริมการทำงานของต่อมหมวกไต เป็นต้น
📌หลีกเลี่ยงอาหารที่เสี่ยง
ควรหลีกเลี่ยงการรับประทานอาหารและเครื่องดื่มที่มีส่วนผสมของน้ำตาลทรายขาว น้ำตาลเทียม เครื่องดื่มที่มีแอลกอฮอล์ โซดา หรือคาเฟอีน อาหารที่มีส่วนประกอบของไขมันชนิดที่ไม่ดี อาหารทอด อาหารแปรรูป และอาหารจานด่วน โดยทำควบคู่ไปกับการควบคุมระดับน้ำตาลในเลือด
📌ไปพบแพทย์เมื่อพบสัญญาณอันตราย
ควรไปพบแพทย์หากพบอาการที่บ่งบอกว่าต่อมหมวกไตมีปัญหาอย่างต่อเนื่อง เช่น วิงเวียนศีรษะเหนื่อยล้าอย่างมาก เหงื่อออกมากผิดปกติ คลื่นไส้ อาเจียน อยากรับประทานอาหารที่มีรสเค็ม ระดับน้ำตาลในเลือดต่ำ ความดันโลหิตต่ำ ประจำเดือนมาไม่ปกติ มีปื้นสีดำขึ้นตามผิวหนัง ปวดกล้ามเนื้อหรือปวดกระดูก น้ำหนักเพิ่มขึ้นหรือลดลง เป็นต้น
📌ข้อมูลจาก
พบแพทย์
📌สนใจสอบถามข้อมูลได้ที่ :
เมธวัจน์ อัศวกมลวิทย์ (ต้าร์)
มือถือ 097-195-1642
Line ID : smarttar
#ประกันสุขภาพผู้ป่วยนอกOPD
#ประกันสุขภาพเมืองไทยประกันชีวิต
#ตัวแทนเมืองไทยประกันชีวิต
#อยากทำประกันสุขภาพ
โฆษณา