2 ต.ค. 2022 เวลา 09:10 • ประวัติศาสตร์
พระวิษณุกรรม โรงเรียนเพาะช่าง
หนึ่งเดียวในสยามที่ทรงศิราภรณ์กุหลาบ
โดยมากที่พบเห็นรูปปั้นพระวิษณุกรรมของสถาบันต่างๆ
เราจะพบว่าลักษณะองค์ของท่านจะถอดแบบเครื่องทรงมาจากลักษณะเทวดาผู้ชาย(รูปพระ)
แบบศิลปะไทยนิยม
มีเพียงพระวิษณุกรรมโรงเรียนเพาะช่างที่พบเพียงแห่งเดียวในสยามที่เครื่องทรงเป็นการประดิษฐ์ลวดลายดัดแปลงเป็นการนำลักษณะของดอกกุหลาบมาเป็นส่วนประกอบในการปั้นเครื่องทรงซึ่งไม่เหมือนที่ใดๆ ทำให้พระวิษณุกรรมโรงเรียนเพาะช่างมีความแตกต่างไปจากศิลปะแบบประเพณีนิยมและมีความทันสมัย
จนถึงปัจจุบัน
ประวัติงานประติมากรรมพระวิษณุกรรม
โรงเรียนเพาะช่าง
ขอขอบคุณข้อมูลและภาพถ่าย
จาก เพจประวัติโรงเรียนเพาะช่าง
ประติมากรรมพระวิษณุกรรมองค์แรก
สร้างราวปีพศ.2456 เมื่อครั้งเปิดโรงเรียนเพาะช่าง
ปั้นโดยประติมากรถึง 3 ท่านได้แก่
ส่วนพระเศียร ปั้นโดย ครูหมอ เดิมท่านเป็นช่างปั้นอยู่ใน
วังกรมสรรพสาสตร์สุภกิจ(กรมวังนอก)
ส่วนลำตัว ปั้นโดย ครูขุนศรีศุภหัตถ์(นึก สิทธิเพียร)
ส่วนด้านล่างและประกอบภาพรวม
ปั้นโดย ครูหลวงวิศาลศิลปกรรม(เชื้อ ปัทมจินดา)
โดยลักษณะพระวิษณุกรรมองค์แรกปั้นด้วยปูนผสม ประทับในท่านั่ง อยู่บนแท่นก่ออิฐถือปูน เมื่อปั้นเสร็จมีการทาพระวรกายพระวิษณุกรรมเป็นสีเขียว เครื่องทรงศิราภรณ์เป็นการปั้นปูนเป็นช่อกุหลาบลงทอง ส่วนแท่นทาด้วยสีครีมตั้งอยู่บนเนินดินเล็กๆ
*หมายเหตุ พระวิษณุองค์แรกปัจจุบันประดิษฐานบริเวณ
ฝั่งซ้ายประตูทางเข้าฝั่งที่ติดกับโรงเรียนสวนกุหลาบในปัจจุบัน ปัจจุบันทาสีลงทองทั้งองค์
พระวิษณุกรรมองค์ที่ 2
เป็นการถอดแบบจำลองงานปั้นจากองค์แรก
ราวปีพศ.2462
องค์ที่2เป็นงานปั้นปิดทองทั้งองค์
ปัจจุบันประดิษฐานบริเวณฝั่งขวาของอาคารกลางเสา6ต้นใกล้กับอาคารออกแบบในปีจจุบัน
หนึ่งในประติมากรรมพระวิษณุกรรมที่มีความสวยงาม
และมีแตกต่างๆแสดงให้เห็นถึงงานครูช่างชั้นครูและยังเป็น
ศูนย์รวมจิตใจของชาวเพาะช่างจนถึงปัจจุบัน
โฆษณา