2. ประเภท B คือ เพลิงที่ไหม้ในของเหลวติดไฟและก๊าซติดไฟ เช่น น้ำมัน ก๊าซหุงต้ม จาระบี
3. ประเภท C คือ เพลิงที่ไหม้จากอุปกร์ไฟฟ้า ที่มีกระแสไฟฟ้าไหลอยู่ เช่น ไฟฟ้าลัดวงจร
4. ประเภท D คือ ประเภทวัตถุของแข็งหรือโลหะไวไฟ เช่น แมกนีเซียม ไตตาเนียม สำหรับแมกนีเซียมห้ามใช้น้ำดับเด็ดขาด ต้องใช้เกลือแกงหรือทราย
5. ประเภท K คือ เพลิงไหม้ที่เกิดจากน้ำมันที่ใช้ประกอบอาหาร ไขมันสัตว์
ชนิดผงเคมีแห้ง (Dry Chemical)
1. ชนิดผงเคมีแห้ง (Dry Chemical) สามารถดับไฟได้เกือบทุกประเภท A B C ยกเว้น CLASS Kราคาถูก หาซื้อง่าย แต่มีข้อเสียคือเมื่อฉีดออกมาจะฟุ้งกระจาย และเมื่อเราทำการฉีดแล้ว จะฉีดจนหมดหรือไม่หมดถัง แรงดันจะตก ไม่สามารถใช้งานได้อีกต้องส่งอัดบรรจุใหม่ทันที
1
ชนิดน้ำยาเหลวระเหย
2. ชนิดน้ำยาเหลวระเหย สามารถดับไฟได้เกือบทุกประเภท A B C ยกเว้น CLASS K ราคาถูกกว่าฮาโรตรอน หาซื้อง่าย
3. ชนิดก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ (CO2) สารเคมีภายในบรรจุก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ ก๊าซที่ฉีดออกมาจะเป็นไอเย็นจัด คล้ายน้ำแข็งแห้ง ลดความร้อนของไฟได้ ไม่ทิ้งคราบสกปรก สามารถดับไฟได้ประเภท B C เหมาะสำหรับการใช้งานในห้องเครื่องจักร Line การผลิต อุตสาหกรรมอาหาร ถังสีแดง ปลายกระบอกฉีดจะใหญ่เป็นพิเศษ
1
ชนิดโฟม สารเคมีภายในบรรจุโฟม
4. ชนิดโฟม สารเคมีภายในบรรจุโฟม เมื่อฉีดออกมาจะเป็นฟองโฟมคลุมผิวเชื้อเพลิงที่ลุกไหม้ จึงสามารถดับไฟได้ประเภท A B แต่ไม่สามารถนำไปดับไฟประเภท C ได้เพราะเป็นสื่อนำไฟฟ้า เหมาะสำหรับภาคอุตสาหกรรม ดับเชื้อเพลิงประเภททินเนอร์ และสารระเหยติดไฟ ถังแสตนเลส
1
ชนิดสูตรเคมีน้ำ
5. ชนิดสูตรเคมีน้ำ เป็นสารทดแทนสารฮาล่อน 1211 ได้ เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อม (Non-CFC) ดับไฟClass A B C และ K ได้ และ 10A40B สำหรับขนาด 15ปอนด์ โดยสถาบันวิจัยวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งประเทศไทย (TISTR) ไม่บดบังทัศนวิสัยขณะฉีดใช้งาน เนื่องจากไม่เป็นฝุ่นละออง ปลอดภัยสำหรับฉีเใช้งานกับอุปกรณ์ไฟฟ้า และอุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์ ผ่านการทดสอบและรับรองประสิทธิภาพในการดับเพลิง Fire Rating 10A20B สำหรับขนาด 10ปอนด์