โดยเหตุการณ์นี้จะทำให้จำนวนการเดิมพันในระบบเพิ่มขึ้นและค่าทำให้ OI เพิ่มขึ้น เป็นต้น ดังนั้น การเปลี่ยนแปลงของ OI จึงสามารถใช้ประโยชน์ได้ค่อนข้างมาก ทั้งการมองความแข็งแกร่งของทิศทางเมื่อคนที่ถูกทางเข้าเปิดสถานะเพิ่ม แต่สำหรับวันนี้เราจะนำเสนอในมุมมอง “ความเสี่ยง” เพราะการที่ OI เพิ่มขึ้นก็เปรียบเสมือนลูกโป่งที่กำลังพองเรื่อย ๆ และมีโอกาสแตกในที่สุด
ผู้แพ้จะมีภาระผูกผัน ให้กลับฝั่งในทันที
ในสมรภูมิทั่วไปฝ่ายพ่ายแพ้อาจจบลงที่การสูญเสียของตัวเองเท่านั้น แต่สำหรับ TFEX คนที่แพ้ยังสร้างภาระให้กับคนอื่นได้อย่างต่อเนื่อง เพราะเมื่อเขาขาดทุนจนยื้อสถานะไว้ไม่ไหว กฎการ Call Margin/Force Close จะบังคับให้เขาต้องปิดสถานะ “โดยการทำตรงข้ามกับตอนเปิด” (Long ไว้ต้อง Short กลับ หรือ Short ไว้ต้อง Long กลับ) มันจึงเป็นการซ้ำเติมฝั่งเดิมที่กำลังทนอยู่ และแตกพ่ายกันไปเป็นทอด ๆ
ซึ่งนี่จึงเป็นเหตผลที่ทำให้ตลาดหุ้นมัก Panic ต่อทุกครั้งเมื่อเห็นการปรับตัวลงแรงหรือขึ้นแรง โดยยิ่งมี OI ที่เกิดจากนักลงทุนหน้าใหม่ที่ไม่ค่อยวางเงินเผื่อ ก็จะยิ่งทำให้ปฏิกิริยาลูกโซ่ที่เกิดขึ้นง่ายและเร็วขึ้น ซึ่งจากประวัติที่ผ่านมา OI กับการเคลื่อนไหวของตลาดล้วนแล้วแต่สอดคล้องกันมาโดยตลอด ทุกท่านสามารถดูได้จากหลักฐานตามตัวอย่างดังนี้
รูปแสดงการเคลื่อนไหวของดัชนี SET และ OI SET50 Futures ปี 2020
ค่า OI ลดลงทุกครั้งที่ตลาดมีเทรน(ทั้งขึ้นและลง) และจะเพิ่มขึ้นเมื่อตลาด Sideway
จากรูปจะเห็นว่าช่วงต้นปี 2020 (ก.พ.-มี.ค.) ที่ตลาดหุ้นไทย Panic ลงหนักจาก 1600 มาแตะระดับ 1000 จุด สอดคล้องกับค่า OI ที่ลดลงจาก 400,000 สัญญามาแตะเหลือเพียง 200,000 สัญญา ซึ่งถือเป็นชัยชนะของคนถือสถานะ Short ที่ได้กำไรและบีบบังคับให้คนที่ Long ไว้ต้อง Close Position ออกจากตลาดเสริมแรงขายในตลาดช่วงนั้นจนเกิด Circuit Breaker ไปถึง 3 หน
จากนั้นพอทุกอย่างสงบลง นักลงทุนก็เริ่มสะสมสถานะเดิมพันกันอีกครั้งจน OI ขึ้นไปยืนเหนือระดับ 400,000 สัญญา และในช่วงปลายปีก็ได้เกิดเหตุการณ์แบบเดิม แต่คราวนี้กลับเป็นชัยชนะของฝั่ง Long Position เนื่องจากตลาดปรับตัวเป็นขาขึ้น ส่งผลให้พวกคนที่ Short ไว้ต้อง Close Position ทำให้ OI ลดลงเหลือ 300,000 สัญญา ผลักดันให้เดือน พ.ย.ดัชนี SET บวกไปถึง 200 จุด สร้างความงุนงงให้กับนักลงทุนทั้งประเทศในขณะนั้นตามกระทู้ที่เราเลยตั้งไว้
สรุปแล้วเรื่องของ OI ในตลาด TFEX เป็นทั้งวัฏจักรและเป็นทั้งเครื่องมือที่กระตุ้นให้ตลาดและเจ้ามือใช้สร้างจังหวะการขึ้น-ลงของตลาดหุ้นไทย โดยในช่วงนี้ก็เป็นช่วงที่ค่า OI พีคขึ้นมาถึงจุดสูงสุด และเข้าใกล้สิ้นปีที่มักจะมีรอบของการทำกำไร(ขาดทุน)ใหญ่ๆ