3 ต.ค. 2022 เวลา 04:54 • หุ้น & เศรษฐกิจ
BBLAM Weekly Investment Insights 3 - 7 ตุลาคม 2022
INVESTMENT STRATEGY
BBLAM ส่งสัญญาณมาตลอดหลายเดือนที่ผ่านมาว่า "เงินเฟ้อสูง ดอกเบี้ยสูง และตลาดหมี จะยังดำเนินต่อไป" สำหรับพอร์ตลงทุน ไม่ว่าจะเป็นการลงทุนในกองทุนทั่วไป กองทุน RMF และกองทุน SSF จำเป็นที่จะต้องปรับพอร์ตเพิ่มกองทุนที่ลงทุนหุ้นโครงสร้างพื้นฐาน ด้วยโครงสร้างรายได้จะสามารถสู้เงินเฟ้อได้ และเหมาะสมกับสถานการณ์ R.I.S.K.
การประชุมนโยบายการเงินสหรัฐฯ (FOMC) ครั้งล่าสุด ประธานเฟดยืนยันหนักแน่นที่จะต้องดึงเงินเฟ้อลงมาให้ได้ ไม่ว่าเศรษฐกิจสหรัฐฯจะกระทบอย่างไร ซึ่งคำยืนยันนี้ถือว่าดับความหวังของนักลงทุนที่ก่อนหน้านี้มองว่า ถ้าเงินเฟ้อไม่ได้มีแนวโน้มจะขึ้นแล้ว เฟดจะหันมามองว่าเศรษฐกิจจะมีปัญหา และหยุดขึ้นดอกเบี้ย ซึ่งถ้าจำกันได้ในช่วง 2-3 เดือนที่ผ่านมา มีบางช่วงที่ตลาดปรับขึ้นมาแรงเพราะความหวัง
อย่างไรก็ตาม BBLAM ส่งสัญญาณมาตลอดหลายเดือนว่า "เงินเฟ้อสูง ดอกเบี้ยสูง และตลาดหมี จะยังดำเนินต่อไป" สำหรับพอร์ตลงทุน ไม่ว่าจะเป็นการลงทุนในกองทุนทั่วไป กองทุน RMF และกองทุน SSF จำเป็นที่จะต้องปรับพอร์ตเพิ่มกองทุนที่ลงทุนหุ้นโครงสร้างพื้นฐาน ด้วยโครงสร้างรายได้จะสามารถสู้เงินเฟ้อได้
แนะนำกองทุนใหม่ B-GLOB-INFRARMF และ B-GLOB-INFRASSF
Market & Economy
USA
เมื่อ Fed น็อครอบดอกเบี้ยนโยบาย ค่าเงินจึงกลายเป็นเรื่องสำคัญ
ดร.มิ่งขวัญ ทองพฤกษา Chief Economist จาก BBLAM พูดถึงการประชุมนโยบายการเงินสหรัฐฯ (FOMC) ครั้งล่าสุด ประธานธนาคารกลางสหรัฐฯ หรือ Fed ส่งสัญญาณหนักหน่วงว่า "มื้อนี้ ต้องเอาเงินเฟ้อลงให้ได้ แม้ว่า เศรษฐกิจสหรัฐฯ จะสู่ขิตก็ยอมแลก"
เล่นเอาหลายๆ ประเทศอกสั่นขวัญแขวนค่ะ
เพราะไม่ว่า Fed จะสามารถพิชิตภารกิจนี้ได้ไหม แต่ที่แน่ๆ การที่ Fed ดีดนิ้วหนึ่งครั้ง เท่ากับ น็อครอบธนาคารกลางอื่นไปแล้วสามรอบ
ก็ Fed ขึ้นดอกเบี้ยครั้งละ 75 ตัง ทั้งที่ประเทศอื่นปรับขึ้นครั้งละ 25 ตัง และเมื่อ Fed มีความมุ่งมั่นเช่นนี้
ดอกเบี้ยของสหรัฐฯ ก็ดีดนำประเทศชาติบ้านอื่นให้ส่วนต่างระหว่างกันกว้างขึ้นไปอีก
น็อครอบประเทศอื่นไปหลายรอบสนามเลย
เดือดร้อนญี่ปุ่น ต้องออกมาตรการมาป้องกันค่าเงินเยนที่อ่อนสุดโต่ง และเมื่อมีคนหนึ่งทำ อีกคนต้องทำตาม นั่นคือ เวียดนาม และประเทศกลุ่ม EM อื่น ๆ ตาม ๆ กันมา
เลยได้รับคำถามว่า จากนี้ไป ต่อไปจะมีประเด็นด้านค่าเงินอะไรให้ติดตามบ้าง
ส่วนตัว มองว่า เราจะเริ่มเห็นธนาคารกลางประเทศต่างๆ (หมายถึงธนาคารกลางประเทศอื่นที่ไม่ใช่ Fed) ทยอยออกมาตรการเพื่อสร้างเสถียรภาพของค่าเงินดังนี้ค่ะ
ข้อแรก ธนาคารกลางอาจจะขอความร่วมมือผู้ส่งออกอย่าเพิ่งแลกดอลลาร์ฯ ให้นำรายได้ส่งออกที่ได้มา มาฝากไว้ในบัญชีที่เราเรียกว่า Foreign Currency Deposit หรือ FCD ก่อนสักระยะเวลาหนึ่ง
ข้อสอง ธนาคารกลางอาจจะขอให้ผู้นำเข้าชำระสินค้าด้วยค่าเงินสกุลอื่นที่ไม่ใช่ดอลลาร์ฯ เพื่อลดแรงกดดันความต้องการของดอลลาร์ฯ ไปก่อน เช่น ถ้าค้ากับจีนก็จ่ายหยวน อย่าจ่ายดอลลาร์ฯ เป็นต้น
ข้อสาม ธนาคารกลางอาจจะนำเกณฑ์ว่าด้วยการเคลื่อนย้ายเงินทุนมาพิจารณาใหม่ เช่น แต่เดิม จากที่เคยลดหย่อนเกณฑ์การนำเงินออกนอกประเทศได้ง่าย ก็อาจจะลดความใจดีลงและอาจจะกำหนดเงื่อนไขการเคลื่อนย้ายเงินทุนที่รัดกุมมากขึ้น เพื่อไม่ให้นักลงทุนเอา Local Currencies ไปแลกดอลลาร์ฯ แล้วออกไปลงทุนต่างประเทศ
ข้อสี่ ธนาคารกลางอาจจะขอความร่วมมือกับหน่วยงานของรัฐบาลว่า ช่วยให้สิทธิพิเศษทางภาษีกับนักลงทุนที่จะเข้ามาลงทุน FDI เพื่อจะได้มี Flow ของเงินดอลลาร์ฯ เข้ามาแบบอยู่นานๆ​​​​​​​
ข้อห้า ถ้าบังคับสี่ข้อข้างต้นไม่ได้ ก็อาจจะกลับไปทำ Capital Control กล่าวคือ หากมีนักลงทุนต่างประเทศเข้ามาลงทุนในประเทศ ก็อาจจะกำหนดให้ก็จะให้ฝากเงินไว้ในประเทศก่อน เช่น อาจจะให้ฝากเงินไว้สัก 30% แล้วที่เหลืออีก 70% จึงจะสามารถลงทุนได้​​​​​​​
ข้อหก ถ้าทำห้าข้อไม่ได้จริงๆ ธนาคารกลางอาจจะต้องใช้กลไกด้านนโยบายการเงินในช่องทางของการป้องกันค่าเงินผ่านการใช้ทุนสำรองฯ หรืออาจจะจำเป็นต้องขึ้นดอกเบี้ย อาจารย์ที่ปรึกษาสมัยเรียนปริญญาเอก แกเคยเล่าให้ฟังว่า ธนาคารกลางส่วนใหญ่โดยเฉพาะกลุ่มตลาดเกิดใหม่ที่ใช้เงินเฟ้อเป็นเป้าหมายการดำเนินนโยบายการเงิน
แต่เอาเข้าจริงก็ต้องบริหารเสถียรภาพของค่าเงินเช่นกัน ตราบใดก็ตามรายได้ของหลายๆ ประเทศมาจากการส่งออกนำเข้า จะไม่บริหารค่าเงินเลยคงเป็นไปได้ยาก แต่การป้องกันค่าเงินมากไปก็ไม่ใช่เรื่องดี ใครที่ทันยุค 90s คงจะจำมหากาพย์สงครามค่าเงินกันได้
ประเด็นด้านค่าเงิน ถือว่า เป็นประเด็นเชิงเศรษฐกิจมหภาคที่นักลงทุนจะต้องให้ความสนใจค่อนข้างมาก หากเทียบกับประเด็นเรื่องเงินเฟ้อ เศรษฐกิจโตช้าก็สำคัญ แต่เมื่อมีประเด็นเรื่องค่าเงินขึ้นมา เรื่องอื่นๆ ก็ดูจะเบาไปเลย ส่วนตัวจึงมองว่า นักลงทุนควรให้ความระมัดระวังและนำประเด็นด้านค่าเงินเข้ามาประมวลผลประกอบการตัดสินใจในการลงทุนในช่วงนี้ด้วยค่ะ
ENGLAND
BoE ประกาศเข้าซื้อพันธบัตรระยะยาวเป็นการชั่วคราว หวังลดความผันผวนของตลาด หลังปอนด์อ่อนค่าแรง อัตราผลตอบแทนพันธบัตรรัฐบาลพุ่งสูง
ธนาคารกลางอังกฤษ (Bank of England: BoE) เตรียมเข้ามาพยุงตลาดเงินตลาดทุนให้มีเสถียรภาพมากขึ้น หลังจากที่ก่อนหน้านี้นักลงทุนหมดความเชื่อมั่นในเงินปอนด์ และพันธบัตรรัฐบาลอังกฤษ เห็นได้จากการอ่อนค่าอย่างรวดเร็วของปอนด์จนอยู่ในระดับที่น้อยที่สุดในรอบ 37 ปีเมื่อเทียบกับดอลลาร์สหรัฐฯ
ขณะเดียวกันก็เกิดแรงเทขายในพันธบัตร ทำให้อัตราผลตอบแทนพันธบัตรรัฐบาลอังกฤษ (Gilt) ปรับตัวขึ้นสูง จนอัตราผลตอบแทนพันธบัตรอายุ 5 ปี สูงเกินกว่าของอิตาลี และกรีซ ทั้งหมดนี้สืบเนื่องมาจากแผนการกระตุ้นเศรษฐกิจของรัฐบาลภายใต้นายกรัฐมนตรีคนใหม่ที่ใช้งบประมาณขนาดใหญ่
อาทิ นโยบายลดภาษีครั้งใหญ่ที่สุดตั้งแต่ปี 1972 จนทำให้ผู้คนต่างกลัวว่าจะกระทบกับสถานะทางการคลังของอังกฤษ รวมทั้งมาตรการดังกล่าวยังทำให้เงินเฟ้อยิ่งเพิ่มสูงขึ้นจากที่ตอนนี้ก็แตะ 10% YoY แล้ว นักลงทุนจึงกังวลว่า BoE จะต้องขึ้นดอกเบี้ยนโยบายแรง ๆ อย่างต่อเนื่องเพื่อต่อสู้กับเงินเฟ้อ และนำไปสู่ภาวะเศรษฐกิจถดถอยอย่างรุนแรง
นอกจากนี้แล้ว นักลงทุนยังจับตาดูแผนการรักษาเสถียรภาพทางการคลังของรัฐบาลว่ามีความน่าเชื่อถือมากแค่ไหน โดยหากมองว่าทำได้ยาก ก็ยังเป็นปัจจัยกดดันความเชื่อมั่นทางเศรษฐกิจอยู่ รวมทั้งทิศทางการแข็งค่าของดอลลาร์ฯ ก็ยังคงเป็นแรงกดดันต่อค่าเงินปอนด์อยู่ จนเราอาจจะได้เห็น ปอนด์ในระดับเดียวกับดอลลาร์สหรัฐฯ ที่ 1 ดอลลาร์สหรัฐฯต่อปอนด์ในเร็ว ๆ นี้ก็เป็นได้
Equity
INNOVATION
BBLAM X Fidelity International
ผู้จัดการกองทุน ยังคงเชื่อมั่นในหุ้นกลุ่มเทคโนโลยีแม้ว่าภาพรวมเศรษฐกิจจะมีความไม่แน่นอนสูง พร้อมทั้งขยายการลงทุนไปในธีมที่มีแนวโน้มที่จะเติบโต เช่น Gaming, Digital advertising & ecommerce และ Digitization
...อ่านเพิ่มเติมได้ที่ https://www.bblam.co.th/.../bblam-investment.../3-7-2022
USA
BBLAM X JP Morgan
ผู้จัดการกองทุนถือเงินสดเพิ่มขึ้นตั้งแต่ไตรมาสที่ 2 เพื่อเตรียมหาโอกาสลงทุนที่เหมาะสม และมีมุมมองที่ดีต่อกลุ่มสินค้าจำเป็น และกลุ่มสถาบันการเงิน
ผู้จัดการกองทุน JPMorgan Funds - US Growth Fund ซึ่งเป็นกองทุนหลักของ B-USALPHA ให้มุมมองต่อตลาดสหรัฐฯ ว่ายังคงเน้นค้นหาหุ้นเติบโตใหม่ ๆ ซึ่งมี แนวโน้มเติบโต กระแสเงินสดแข็งแกร่ง แลโอกาสที่จะมีผลการดำเนินงานมากกว่าที่ตลาดคาดการณ์ ซึ่งหุ้นที่ผู้จัดการกองทุนสนใจมี 3 ลักษณะเด่น ได้แก่
ธุรกิจที่มีตลาดขนาดใหญ่
มีความได้เปรียบในการแข่งขันอย่างยั่งยืน และมีการดำเนินธุรกิจแข็งแกร่ง และ
มีราคาหุ้นที่น่าสนใจ
...อ่านเพิ่มเติมได้ที่ https://www.bblam.co.th/.../bblam-investment.../3-7-2022
GOLD
ราคาทองผันผวนรอปัจจัยบวกจะมาจากความต้องการลงทุน และดอลลาร์สหรัฐฯมีสัญญาณชะลอการแข็งค่าเงิน
ราคาทองคำในยังคงผันผวน ถูกกดดันจากการแข็งค่าขึ้นของค่าเงินดอลลาร์สหรัฐฯเป็นหลัก ทั้งนี้ทองคำยังคงเผชิญแรงขายจากนักลงทุนทั้งฝั่งที่เป็นสินทรัพย์เพื่อการลงทุน เช่น ETF และ Hedge Fund ในขณะที่ความต้องการทองคำที่เป็นสินทรัพย์จริง (Physical demand) ปรับตัวดีขึ้น แม้ว่าจะเป็นช่วงที่เป็น Low Season หลังจากที่ราคาได้ปรับตัวลงแรง
ประเด็นที่จะสนับสนุนราคาทองคำ คือ ความเสี่ยงทางด้านภูมิรัฐศาสตร์ที่จะช่วยให้การปรับตัวลงของราคาทองเป็นไปได้อย่างจำกัด อย่างไรก็ตาม ปัจจัยบวกที่น่าจะทำให้ราคาทองสามารถปรับตัวขึ้นอย่างยั่งยืน น่าจะมาจากความต้องการทางด้านการลงทุนหรือ Investment Demand รวมถึงการพักตัวของการแข็งค่าของค่าเงินดอลลาร์สหรัฐฯ ซึ่งปัจจุบันยังไม่เห็นปัจจัยเหล่านี้นัก
ติดตามข้อมูลลงทุนกองทุนทองคำของ BBLAM ได้ที่ BGOLD และ BGOLDRMF
"มาดูกันว่าเมื่อสถานการณ์ขึ้นดอกเบี้ยยังยืดเยื้อ BBLAM ก็มองว่า R.I.S.K เหล่านี้ก็จะยังอยู่ ดังนั้นตลาดก็จะยังเป็น Bear Market Rally แม้ว่าบางช่วงตลาดอาจจะปรับขึ้นให้เราดีใจบ้าง"
ท่านสามารถแจ้งสมัครรับข่าวสาร BBLAM Weekly Investment Insights ได้ที่ bblampr1@bblam.co.th
...อ่านเพิ่มเติมได้ที่ https://www.bblam.co.th/.../bblam-investment.../3-7-2022

ดูเพิ่มเติมในซีรีส์

โฆษณา