4 ต.ค. 2022 เวลา 06:00
สิ่งที่เป็นแรงจูงใจในการทำงานอันดับต้นๆ ของพนักงานออฟฟิศคือ เงินเดือนที่มากพอ แล้วทีนี้เราจะรู้ได้อย่างไรว่าเงินเดือนที่ได้อยู่ตอนนี้เหมาะสมหรือต่ำกว่าค่าเฉลี่ยหรือไม่? แล้วถ้าคำตอบคือ ‘ไม่’ จะขอขึ้นเงินเดือนอย่างไรดี?
🟥 วิธีเช็กเงินเดือนว่าเหมาะสมหรือไม่
ปกติแล้วเงินเดือนจะถูกคำนวณจากประสบการณ์ ทักษะ และความต้องการของตลาด ซึ่งในอดีตการจะหาข้อมูลฐานเงินเดือนของอุตสาหกรรมต่างๆ คงไม่ใช่เรื่องง่าย แต่ปัจจุบันมีวิธีเช็กเงินเดือนว่าต่ำกว่าค่าเฉลี่ยได้ง่ายๆ แค่เพียงปลายนิ้วสัมผัส ผ่านเว็บไซต์ : https://bit.ly/SalaryGuidebyJobsDB
โดยภายในเว็บไซต์จะมีให้เลือกหัวข้อดังนี้:
👉 ประเภทงาน
👉 ประสบการณ์
👉 ประเภทอุตสาหกรรม
👉 ฐานเงินเดือน
หลังกรอกข้อมูลเสร็จ เราก็จะรู้ได้ว่าเงินเดือนที่ได้อยู่ปัจจุบันเหมาะสมหรือไม่ พร้อมบอกว่าเราควรได้เงินเดือนเท่าไหร่ แล้วทีนี้ถ้ารู้แล้วว่าเงินเดือนที่ได้ไม่เหมาะสม จะขอขึ้นเงินเดือนอย่างไรดี?
🟥 วิธีการขอขึ้นเงินเดือนเมื่อรู้ว่าได้รับค่าจ้างต่ำ
คำถามแรกที่หลายคนอาจสงสัยคือ ช่วงเวลาที่ดีที่ควรขอขึ้นเงินเดือนคือช่วงไหน? ช่วงที่ดีที่สุดมีอยู่ทั้งหมด 4 ช่วง ได้แก่ ช่วงที่มีการตกลงกันไว้ ช่วงผ่านการโปร ช่วงผลงานเป็นที่น่าประทับใจ และช่วงปรับตำแหน่งใหม่ เมื่อรู้ช่วงเวลาแล้วก็มาดูวิธีการขอขึ้นเงินเดือนกัน
👉 ขั้นตอนที่ 1: นัดพูดคุยกับเจ้านาย
เมื่อถึงช่วงเวลาดังกล่าวให้นัดพูดคุยกับเจ้านายแบบตรงไปตรงมาว่าทำไมถึงอยากขึ้นเงินเดือน พร้อมเหตุผลว่าทำไมเขาถึงควรขึ้นเงินเดือนให้กับเรา
👉 ขั้นตอนที่ 2: เตรียมพร้อมเรื่องข้อมูล
การพูดเพียงแค่ว่า “ผม/ดิฉันรู้สึกว่าได้เงินเดือนน้อยเกินไป” อาจดูมีน้ำหนักไม่มากพอที่จะทำให้เจ้านายขึ้นเงินเดือนให้ หากเราคาดหวังให้เจ้านายเพิ่มเงินเดือนให้ เราต้องแสดงหลักฐานที่เป็นรูปธรรมเพื่อสนับสนุนความคิดเห็นของตัวเองด้วย เช่น นำข้อมูลจากแหล่งต่างๆ ที่เจอมารวบรวมไว้ พร้อมแนบลิงก์ต้นทางที่สามารถเข้าไปเช็กได้
👉 ขั้นตอนที่ 3: โน้มน้าวด้วยความสำเร็จของตัวเอง
อีกวิธีที่จะสามารถโน้มน้าวใจเจ้านายได้คือ การอธิบายว่าทำไมเราถึงสมควรได้รับค่าจ้างเพิ่มขึ้น ผ่านการเน้นว่าเรามีส่วนร่วมทำให้ผลกำไรของบริษัทเพิ่มขึ้นอย่างไร โดยการยกตัวอย่างโปรเจกต์ที่สำคัญที่สุด และอธิบายว่าโปรเจกต์นั้นส่งผลกระทบอย่างไรต่อองค์กร ถ้าใส่ตัวเลขที่ทำสำเร็จแบบเฉพาะเจาะจงได้ก็จะดีมาก
👉 ขั้นตอนที่ 4: เตรียมตัวเตรียมใจรับความผิดหวัง
ลองค้นหาข้อมูลดูว่ามีเหตุผลอะไรบ้างที่นายจ้างจะปฏิเสธการขอขึ้นเงินเดือน และหาวิธีการรับมือกับความผิดหวังนั้น เช่น เราอาจจะขอสวัสดิการอื่นๆ อย่างการทำงานที่บ้านหรือขอให้เขาทบทวนเรื่องการขึ้นเงินเดือนในอีก 3 เดือนข้างหน้าแทน
สุดท้ายแล้วหากผลลัพธ์ไม่เป็นอย่างที่หวัง อีกสิ่งหนึ่งที่ควรคำนึงถึงคือ ให้รู้ว่ายังมีอีกหลายบริษัทที่ยอมจ่ายมากกว่า เพียงแค่เราต้องตามหาให้เจอ ที่ไหนไม่ใช่ที่ของเราก็แค่เดินออกมา อย่าลืมว่าเราก็มีสิทธิ์เลือกเช่นกัน
อ่านบทความได้ที่ : https://bit.ly/3RDNxA4
มาร่วม CONNEXT THE DOT ก้าวสู่โลกการทำงานอย่างมั่นใจไปด้วยกัน

ดูเพิ่มเติมในซีรีส์

โฆษณา