4 ต.ค. 2022 เวลา 03:30 • หุ้น & เศรษฐกิจ
ย้อนอดีต “ฮ่องกง” ปราบ จอร์จ โซรอส ได้อย่างไร
6
เมื่อพูดถึงชื่อ จอร์จ โซรอส หลายคน อาจจะวาดภาพเขา
เป็นปีศาจร้ายที่ทำลาย ค่าเงินปอนด์สเตอร์ลิงของอังกฤษ ในปี 1992
ก่อนจะเข้าโจมตีค่าเงินบาท ในปี 1997 จนนำไปสู่วิกฤติต้มยำกุ้ง
8
แต่รู้หรือไม่ว่า หลังจากนั้นแล้ว โซรอส ที่ดูเหมือนจะไร้เทียมทาน
กลับถูกสยบได้ด้วย ดินแดนเล็ก ๆ อย่าง “ฮ่องกง”
4
ซึ่งถ้าหากคุณสงสัย ว่าฮ่องกงทำอย่างไร ถึงทำให้ โซรอส พ่ายแพ้ในครั้งนี้ ?
BillionMoney จะย่อยให้เข้าใจ
3
ก่อนอื่นเราต้องทราบก่อนว่า เป้าหมายอัตราแลกเปลี่ยนของฮ่องกงนั้น เป็นอย่างไร
โดยฮ่องกงนั้น ใช้เป้าหมายอัตราแลกเปลี่ยนแบบคงที่ ซึ่งกำหนดให้
7.8 ดอลลาร์ฮ่องกง เท่ากับ 1 ดอลลาร์สหรัฐ
2
เป้าหมายอัตราแลกเปลี่ยนนี้ ถูกใช้มาอย่างยาวนาน ตั้งแต่ปี 1983
3
แต่รู้หรือไม่ว่า ก่อนหน้านั้น ฮ่องกงใช้นโยบายอัตราแลกเปลี่ยนแบบลอยตัว
โดยเหตุการณ์ที่ทำให้ฮ่องกง ต้องเปลี่ยนนโยบายอัตราแลกเปลี่ยน
ก็เนื่องจากกรณีที่ ฮ่องกง กำลังจะกลับสู่อ้อมอกของประเทศจีนในเวลานั้น
4
ก็ได้ทำให้ผู้คนสูญเสียความเชื่อมั่น ในค่าเงินของฮ่องกง เนื่องจากตอนนั้นไม่มีใครรู้ว่า
จีนจะใช้การปกครองแบบ 1 ประเทศ 2 ระบบ อย่างที่เป็นอยู่ในปัจจุบัน
7
ส่งผลให้เพียงแค่ 2 วัน ค่าเงินดอลลาร์ฮ่องกง อ่อนค่าลงถึง 13%
ในเดือนกันยายน ปี 1983 จากแรงเทขายของผู้คน และนักลงทุนต่าง ๆ
พร้อมกับนักเก็งกำไร ที่เข้ามาผสมโรงด้วย
6
เมื่อเหตุการณ์เป็นเช่นนี้ ทางรัฐบาลของฮ่องกง ณ ขณะนั้น
จึงต้องตัดสินใจ เปลี่ยนเป้าหมายอัตราแลกเปลี่ยน จากแบบลอยตัว
ให้กลายเป็นแบบคงที่ ในเดือนตุลาคมของปีนั้น โดยกำหนดอัตราแลกเปลี่ยน
ไว้ที่ 7.8 ดอลลาร์ฮ่องกง เท่ากับ 1 ดอลลาร์สหรัฐ ที่ยังคงอยู่จนถึงปัจจุบัน
5
ผู้ที่ทำการดูแลอัตราแลกเปลี่ยนของฮ่องกง คือ องค์การเงินตราฮ่องกง (Hong Kong Monetary Authority)
ซึ่งทำหน้าที่เป็นเหมือน ธนาคารกลางของฮ่องกง แต่ไม่ได้ชื่อว่าเป็น ธนาคารกลาง
เนื่องจากฮ่องกง ไม่ใช่ประเทศ แต่เป็นเพียงเขตปกครองตนเอง เท่านั้น
7
วิธีการที่องค์การเงินตราฮ่องกง ดูแลอัตราแลกเปลี่ยนนั้น ค่อนข้างแตกต่าง
กับประเทศอื่น ที่ใช้เป้าหมายอัตราแลกเปลี่ยนคงที่ เช่นเดียวกันอยู่มาก
3
เพราะโดยปกติแล้ว การทำให้อัตราแลกเปลี่ยนคงที่ ยกตัวอย่างเช่น
ประเทศไทย ช่วงก่อนเกิดวิกฤติต้มยำกุ้ง ถ้าหากเงินบาทอ่อนค่า
ธนาคารแห่งประเทศไทย ก็จะนำทุนสำรองระหว่างประเทศ มาซื้อเงินบาท
แต่ถ้าเงินบาทแข็งค่า ก็จะนำเงินบาท ไปซื้อเงินดอลลาร์สหรัฐ เป็นต้น
7
แต่ด้วยการที่ฮ่องกงมีทุนสำรองระหว่างประเทศ เป็นดอลลาร์สหรัฐจำนวนมาก
จนถ้านำปริมาณเงินดอลลาร์ฮ่องกงทั้งหมด ที่ไหลเวียนอยู่ในระบบเศรษฐกิจของฮ่องกงนั้น
ก็สามารถนำมาแลก เป็นเงินดอลลาร์สหรัฐได้ทั้งหมด ในอัตรา
7.8 ดอลลาร์ฮ่องกง ต่อ 1 ดอลลาร์สหรัฐ
8
ทำให้องค์การเงินตราฮ่องกง ทำการควบคุมอัตราแลกเปลี่ยน ด้วยวิธีที่แตกต่างออกไป
1
โดยถ้าหากดอลลาร์ฮ่องกง อ่อนค่าไปถึง 7.85 ดอลลาร์ฮ่องกงต่อดอลลาร์สหรัฐ
องค์การเงินตราฮ่องกง จะนำเงินดอลลาร์สหรัฐ มาแลกกับเงินดอลลาร์ฮ่องกง
ที่อยู่ในธนาคารทั่วฮ่องกง ทำให้ปริมาณเงินดอลลาร์ฮ่องกง ในระบบเศรษฐกิจ ลดน้อยลง
 
ซึ่งการที่ธนาคารมีเงินน้อยลง ก็จะทำให้ธนาคารต่าง ๆ จำเป็นต้องขึ้นอัตราดอกเบี้ย
เนื่องจากเหลือเงินที่จะปล่อยกู้น้อยลง และต้องการดึงให้ผู้คนมาฝากเงินเพิ่มขึ้น
ส่งผลให้เงินทุนไหลเข้ามายังฮ่องกง และทำให้เงินกลับมาแข็งค่าขึ้นได้ในที่สุด
17
และในทางตรงกันข้าม ถ้าหากดอลลาร์ฮ่องกง แข็งค่าไปถึง 7.75 ดอลลาร์ฮ่องกงต่อดอลลาร์สหรัฐ
องค์การเงินตราฮ่องกง จะนำเงินดอลลาร์ฮ่องกง มาแลกกับเงินดอลลาร์สหรัฐ ในธนาคาร
ส่งผลให้ปริมาณเงินดอลลาร์ฮ่องกง ในระบบเศรษฐกิจ เพิ่มขึ้น ซึ่งจะทำให้ธนาคาร
ต้องลดอัตราดอกเบี้ยลง จนทำให้เงินทุนไหลออก และนำไปสู่ค่าเงินที่อ่อนลง
7
ระบบนี้ได้ถูกใช้เรื่อยมา จนกระทั่งฮ่องกง ต้องพบกับบททดสอบครั้งใหญ่
หลังจากที่อังกฤษ ส่งมอบฮ่องกงให้แก่จีน ในวันที่ 1 กรกฎาคม 1997
ประเทศไทยก็ประกาศลอยตัวค่าเงินบาท ในวันต่อมา ซึ่งกลายเป็นจุดเริ่มต้นของ วิกฤติต้มยำกุ้ง
9
จอร์จ โซรอส เจ้าของกองทุน Quantum ก็ได้กำไรเป็นกอบเป็นกำ ในตอนนั้น
จากการขายชอร์ตเงินบาท ด้วยการกู้ยืมเงินบาทมาขาย แลกเป็นดอลลาร์สหรัฐ
และรอให้ไทยปล่อยลอยตัวค่าเงิน ก่อนจะนำเงินดอลลาร์สหรัฐ มาแลกเป็นเงินบาท
แล้วจ่ายคืนเงินกู้ พร้อมกับทำกำไรจากส่วนต่างนั้น
7
เหตุการณ์นี้บวกกับการที่เขาชนะ ในการเก็งกำไรค่าเงินปอนด์สเตอร์ลิง จนทำให้ธนาคารอังกฤษ
แทบจะพังพินาศ ในปี 1992 ส่งผลให้ โซรอส มีความมั่นใจในฝีมือของตัวเองเป็นอย่างมาก
ซึ่งฮ่องกงในตอนนั้น ดูจะเป็นเป้าหมายที่ดี สำหรับ โซรอส
8
เพราะฮ่องกงยังไม่มีเสถียรภาพมากนัก จากการที่กำลังปรับตัว กับการเข้าไปรวมกับจีนอีกครั้ง
อีกทั้งยังใช้เป้าหมายอัตราแลกเปลี่ยนแบบคงที่ เหมือนกับประเทศไทย ที่เขาเพิ่งจัดการมา
โซรอส จึงไม่รอช้า ที่จะเริ่มแผนโจมตีค่าเงินของฮ่องกงทันที
6
โดยแผนของ โซรอส ก็คือการขายชอร์ต เงินดอลลาร์ฮ่องกง
แบบเดียวกันกับที่ทำกับเงินบาท และเขาก็รู้ว่าฮ่องกงนั้น
จะต้องขึ้นอัตราดอกเบี้ย เพื่อป้องกันค่าเงิน ซึ่งน่าจะทำให้หุ้นตก
เขาจึงทำการขายชอร์ตตลาดหุ้นฮ่องกงด้วย เพื่อจะทำกำไร ในทั้งสองตลาด
3
โซรอส เริ่มโจมตีค่าเงินของฮ่องกงมาเรื่อย ๆ ตั้งแต่เดือนกรกฎาคม ปี 1997
และเริ่มรุกหนักขึ้นเรื่อย ๆ ในช่วงเดือนกันยายน ปีเดียวกัน
5
ซึ่งองค์การเงินตราฮ่องกง ก็ได้ตอบโต้ด้วยการนำเงินดอลลาร์สหรัฐ มาซื้อเงินดอลลาร์ฮ่องกง
ในระบบเป็นจำนวนมาก จนอัตราดอกเบี้ยเงินกู้ พุ่งไปถึง 280% ในเดือนตุลาคม
เนื่องจากธนาคารแทบไม่มีเงินดอลลาร์ฮ่องกง เหลือให้ปล่อยกู้แล้ว
10
แน่นอนว่าดอกเบี้ย ที่สูงมากขนาดนี้ จะทำให้ โซรอส ต้องจ่ายคืนหนี้ที่มากขึ้น
เนื่องจากเงินที่เขากู้มาขายชอร์ต ถูกคิดดอกเบี้ยเพิ่มอย่างมหาศาล
จนทำให้ โซรอส อาจไม่เหลือกำไรเลย แม้ฮ่องกงจะปล่อยลอยตัวค่าเงิน
11
แต่ถึงอย่างนั้น การที่อัตราดอกเบี้ย เพิ่มขึ้นมากขนาดนี้ ก็ได้ทำให้
ตลาดหุ้นของฮ่องกง ปรับตัวลงอย่างหนัก โดยในเดือนตุลาคม
ตลาดหุ้นฮ่องกง ก็ติดลบมากถึง 29%
5
ซึ่งนั่นก็ทำให้ โซรอส ยังคงมีโอกาสได้กำไร จากการขายชอร์ตตลาดหุ้น
มาชดเชยการขาดทุน จากการโจมตีค่าเงิน ส่งผลให้ โซรอส
ขายชอร์ตตลาดหุ้นของฮ่องกง เรื่อยมาตั้งแต่ตอนนั้น
3
จนทำให้ตลาดหุ้นฮ่องกง ในวันที่ 13 สิงหาคม 1998
ติดลบมากถึง 60% เมื่อเทียบกับปีก่อน
5
แต่สิ่งที่เขาไม่รู้คือ..
เงินดอลลาร์ฮ่องกง ที่ถูกซื้อออกไปจากระบบนั้น
กำลังจะไหลกลับเข้าสู่ตลาดหุ้น ที่เขากำลังทำการขายชอร์ตไว้อยู่
เพื่อปิดฉาก การต่อสู้ในสงครามค่าเงิน ระหว่างเขา และฮ่องกง
7
โดยในวันที่ 14 สิงหาคม 1998 ทางการของฮ่องกง ได้นำเงิน
มูลค่ากว่า 79,000 ล้านดอลลาร์ฮ่องกง (ประมาณ 425,000 ล้านบาท ในปัจจุบัน)
มาเข้าซื้อหุ้น รวมถึงสัญญาซื้อขายล่วงหน้าต่าง ๆ จนเดือนต่อมา
ตลาดหุ้นฮ่องกง บวกมากถึง 15% และฟื้นตัวขึ้นเรื่อย ๆ
9
ด้วยการแทรกแซงตลาดหุ้นของฮ่องกง และรัฐบาลจีน
ได้ออกมาประกาศว่า พร้อมใช้ทุนสำรองระหว่างประเทศ
ที่มีอยู่อย่างมหาศาลของจีน เพื่อช่วยค่าเงินของฮ่องกงอย่างไม่อั้น
ก็ได้ทำให้ โซรอส ต้องขาดทุน และจำใจยอมรับความพ่ายแพ้แต่โดยดี
11
และนั่นก็ทำให้ฮ่องกง รอดพ้นจากวิกฤติมาได้ และยังสามารถรักษาสถานะ
การเป็นศูนย์กลางทางการเงิน ที่สำคัญของโลกอีกแห่งหนึ่ง มาจวบจนถึงปัจจุบัน..
5
ปิดท้ายด้วยข้อมูลที่น่าสนใจ
ปัจจุบัน ฮ่องกง มีทุนสำรองระหว่างประเทศ มากที่สุดเป็นอันดับที่ 7 ของโลก
โดยคิดเป็นมูลค่ามากถึง 19 ล้านล้านบาท และคิดเป็นอัตราส่วนมากถึง 122.6% ต่อ GDP
3
โฆษณา