4 ต.ค. 2022 เวลา 01:06
การดึงศักยภาพของคนได้ดีที่สุด คือให้ตัวบุคคลนั้นค้นหาด้วยตัวเอง
ชื่อหนังสือ : The Coaching Habit
พูดให้น้อย ถามให้มากและเลิกใช้วิธีการเป็นผู้นำแบบเดิมๆ
Michael Bungay Stanier (ไมเคิล บันเกย์ สเตเนียร์)
: ผู้เขียน
วุฒินันท์ ชุมภู : ผู้แปล
หนังสืออยากบอกอะไร
หนังสือแบ่งออกเป็น 2 ส่วน
ส่วนที่ 1 คือ Mindset ให้เข้าใจวิธีการ โค้ชชิ่งที่ถูกต้อง ค่อยๆปรับเปลี่ยนวิธีการเดิมๆ อย่างเช่นการให้คำแนะนำ การให้ความช่วยเหลือ ผู้ใต้บังคับบัญชา ในส่วนนี้ เน้นให้ผู้อ่านค่อยๆ ทลายกำแพงกรอบความคิดเดิม ๆ หันมาเรียนรู้และเข้าใจวิธีการใช้โค้ชชิ่งให้ได้ผลตามเครื่องมือในส่วนที่ 2
เครื่องมือในที่นี้ คือ ชุดคำถาม โดยร้อยเรียงให้เห็นภาพ หากเรามีผู้ใต้บังคับบัญชาที่เราอยากใช้โค้ชชิ่งในการช่วยดึงศักยภาพการทำงาน
คำถามแรกในการเปิดใจ ให้กระชับ และเข้าตรงประเด็นมากที่สุด
1.คำถามจุดประกาย
-คุณมีความในใจอะไรที่อยากเล่าให้ฟังบ้าง
2.คำถาม “มอม”
-มีอะไรอีกไหม
เพื่อค้นหาปัญหาที่แท้จริง หากคำถามแรกยังคลุมเครือและยังไม่แน่ชัดว่าอะไรคือสิ่งที่อยู่ในใจของเขา
3.คำถามพาเข้าประเด็น
คล้ายๆ กับคำถามใน ข้อที่ 2 ต่างกันเพียง เป็นการชี้ชัดให้ผู้ใต้บังคับบัญชาของเรามีโอกาสได้คิด และค้นหาคำตอบด้วยตัวเอง ว่า
-ปัญหาที่แท้จริงที่คุณกำลังเผชิญอยู่ ณ ตอนนี้คืออะไร
4.คำถามฐานราก
-คุณต้องการอะไร
5.คำถามสำหรับคนรักสบาย
-จะให้ช่วยอย่างไรดี
เป็นคำถามที่ให้ผู้ใต้บังคับบัญชามีหน้าที่คิดและบอกปัญหาที่แท้จริงในขณะที่ได้พูดคุยกัน
6.คำถามเชิงกลยุทธ์
-การที่คุณตอบตกลงว่าจะทำเรื่องนี้ ทำให้คุณต้องตอบปฏิเสธในเรื่องอะไรบ้าง
ขุดลึกถึงปัญหา ในขณะเดียวกันก็ทำให้เห็นภาพรวมการทำงานที่กว้างขึ้น
7.คำถามเพื่อการเรียนรู้
-ประโยชน์สูงสุดที่คุณได้รับจากเรื่องนี้คืออะไร
เป็นการโยนคำถามว่าการได้พูดคุยกันทั้ง 2 ฝ่ายเป็นไปในทิศทางเดียวกันหรือไม่ สะท้อนความสำเร็จของกันและกันอย่างสวยงาม
โฆษณา