4 ต.ค. 2022 เวลา 05:24 • ประวัติศาสตร์
ประวัติศาสตร์เลสเบี้ยนในประวัติศาสตร์ญี่ปุ่นและในประวัติศาสตร์ไทย
ในสังคมญี่ปุ่นความสัมพันธ์ที่เกิดขึ้นระหว่างผู้หญิงกับผู้หญิงจะถูกมองว่าเป็นความไม่เหมาะสมแต่ไม่มีการลงโทษ เนื่องจากเห็นว่าเป็นความสัมพันธ์เชิงมิตรภาพเสียมากกว่า ต่างจากตะวันตกที่ความสัมพันธ์ที่เกิดขึ้นระหว่างผู้หญิงกับผู้หญิงจะถูกมองว่าผิดธรรมชาติและต้องถูกลงโทษ
หลักฐานทางประวัติศาสตร์ของผู้หญิงรักเพศเดียวกันในเอเชียโดยมาก มักถูกจัดประเภทให้อยู่ภายใต้ความสัมพันธ์ของการเป็นพี่สาวน้องสาวและเพื่อนผู้หญิงเสียมาก
ที่มาของภาพ : https://www.pinterest.es/pin/822962531887691453/
คำศัพท์เรียกการรักเพศเดียวกันระหว่างผู้หญิงกับผู้หญิงว่า doseiai คำศัพท์ดังกล่าวไม่ได้ตำหนิผู้หญิงรักเพศเดียวกัน โดยความปรารถนาของผู้หญิงที่รักเพศเดียวกันจะเป็นความปรารถนาในทางจิตวิญญาณมากกว่าความสัมพันธ์เชิงกายภาพ อีกทั้งให้ความสนใจไปยังมิตรภาพอันใกล้ชิดระหว่างผู้หญิงสองคนมากกว่าวิถีปฎิบัติในทางเพศของพวกเธอ
ในยุคสมัยอาณานิคมแนวคิดเรื่องเพศแบบตะวันตกได้เข้ามา มีบทบาทในญี่ปุ่นพบว่ามีคำศัพท์เรียกหญิงที่มีใจเป็นชาย กายเป็นหญิง ว่า danseiteki joshi
ประวัติศาสตร์ผู้หญิงรักเพศเดียวกันในไทย
ความสัมพันธ์รักร่วมเพศระหว่างผู้หญิงกับผู้หญิง เกิดขึ้นในสังคมไทยมาแต่โบราณ การลงโทษผู้ที่มีพฤติกรรมรักร่วมเพศอาจมีบ้าง แต่มิได้เป็นการลงโทษถึงแก่ชีวิตเหมือนในสังคมตะวันตก
คำศัพท์ที่ใช้เรียกผู้หญิงที่มีพฤติกรรมรักร่วมเพศ ก็คือ คำว่า เล่นเพื่อน
การเล่นเพื่อนในสมัยกรุงศรีอยุธยานั้นได้มีการบันทึกไว้ว่า การเล่นเพื่อนเกิดขึ้นในสมัยสมเด็จพระบรมไตรโลกนาถ เนื่องจากพบว่ามีการห้ามและกำหนดบทลงโทษแก่เหล่าสนมในวังที่มีพฤติกรรมรักร่วมเพศกันฉันชู้สาวไว้ว่า 'หากมีนางสนมกำนัลผู้ใด บังอาจละเมิดกฎเล่นรักเฉกเช่นสามีภรรยาจะต้องถูกลงโทษด้วย การเฆี่ยนด้วยลวดหนัง 50 ที และหากยังฝ่าฝืน มีการเล่นเพื่อนกันอีก ให้จับมาสักคอด้วยถ้อยคำประถามแล้วใส่ตรวนจองจำและแห่ประจานรอบเมืองให้อับอายเข็ดหลาบ
ในสมัยรัตนโกสินทร์ พระบาทสมเด็จพระนั่งเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ 3 ได้ปรากฎบันทึก กาพย์กลอนและภาพจิตรกรรมฝาผนังต่างๆ ที่เกี่ยวกับการรักร่วมเพศระหว่างผู้หญิงกับผู้หญิง เช่น บทกลอน หม่อมเป็ดสวรรค์ นอกจากนี้ในบทกลอนของสุนทรภู่ก็พบว่ามีการกล่าวถึงพฤติกรรมรักเพศเดียวกันของผู้หญิงกับผู้หญิงด้วยเช่นกัน
ในสมัยรัชกาลที่ 4 ได้มีบันทึกกล่าวถึงการเล่นเพื่อนว่าเป็นพฤติกรรมที่เกิดขึ้นทั่วไป ไม่มีโทษหนักหนาอะไร โดยการลงโทษหญิงที่มีพฤติกรรมรักร่วมเพศที่มีมาในสมัยอยุธยาได้มีการยกเลิกไปในรัชกาลนี้
จิตรกรรมเล่นเพื่อน วัดคงคาราม จังหวัดราชบุรี
แหล่งที่มา :
อมรา พันธ์ทอง.(2561).ศิลปวัฒนธรรม,วันพฤหัสที่ 5 กรกฎาคม พ.ศ.2561
สุไลพร ชลวิไล.รักสองเพศของผู้หญิง :ความปรารถนา ความสัมพันธ์และอัตลักษณ์. กรุงเทพฯ:ศูนย์ฯมานุษยวิทยาสิรินธร;2555.
โฆษณา