4 ต.ค. 2022 เวลา 12:19 • หุ้น & เศรษฐกิจ
เปิดสาเหตุ! ทำไม “เงินอ่อนค่า” อย่างหนักในช่วงนี้
2
ช่วงที่ผ่านมา เงินบาทอ่อนค่าเรื่อยๆ เมื่อเทียบกับสกุลเงินดอลลาร์สหรัฐฯ จนกระทั่งอ่อนค่าทะลุ 38 บาทต่อดอลลาร์สหรัฐฯ อ่อนค่าที่สุดในรอบ 16 ปี
1
เงินบาทที่อ่อนค่าเช่นนี้ อาจทำให้หลายคนกังวลเรื่องเสถียรภาพของค่าเงิน และอาจจะนึกไปถึงสมัยวิกฤติต้มยำกุ้ง Bnomics อยากให้ทุกคนสบายใจได้ว่ามันไม่ได้เป็นเช่นนั้น และเรื่องราวเบื้องหลังการอ่อนค่าของเงินบาท
1
ในตอนนี้กับตอนนั้นก็แตกต่างกันโดยสิ้นเชิง เงินอ่อนค่าเกิดได้จากสาเหตุใดบ้าง แล้วมีวิธีรับมืออย่างไร ในบทความนี้ Bnomics จะเล่าให้ฟัง
1
📌 เงินอ่อนค่าเกิดจากสาเหตุใด?
เงินอ่อนค่า หมายถึง การที่มูลค่าของเงินสกุลหนึ่งๆ มีค่าลดลงเมื่ออยู่ในรูปของอัตราแลกเปลี่ยนของอีกสกุลหนึ่ง เช่น เมื่อวาน 33 บาท แลกได้ 1 ดอลลาร์สหรัฐฯ แต่วันนี้ต้องใช้เงินถึง 38 บาท เพื่อแลก 1 ดอลลาร์สหรัฐฯ เท่าเดิม
1
ดังนั้นเวลาที่เราบอกว่าเงินสกุล A อ่อนค่า เราต้องบอกด้วยว่าอ่อนค่าเมื่อเทียบกับสกุลเงินใด
โดยปกติแล้วการที่เงินอ่อนค่า อาจเกิดมาได้จากหลายสาเหตุ ซึ่งหลักๆ มักจะมาจากพื้นฐานทางเศรษฐกิจ นโยบายการเงิน ตลอดจนเรื่องของการเมือง ก็สามารถทำให้เงินอ่อนค่าลงได้เช่นกัน
1) ปัจจัยพื้นฐานทางเศรษฐกิจ
โดยปกติแล้วการขาดดุลบัญชีเดินสะพัดมากๆ และเงินเฟ้อในระดับสูง มักจะทำให้เงินอ่อนค่า
2) นโยบายการเงินแบบผ่อนคลาย
นโยบายการเงินแบบผ่อนคลาย คือ ช่วงที่ธนาคารกลางยอมให้อัตราดอกเบี้ยต่ำ เพื่อกระตุ้นเศรษฐกิจ แน่นอนว่าในโลกที่เงินทุนเคลื่อนย้ายได้อย่างเสรี เมื่อผลตอบแทนต่ำ เงินทุนย่อมไหลไปยังประเทศที่ผลตอบแทนสูงกว่า
นอกจากนี้ เมื่อใช้นโยบายการเงินแบบผ่อนคลาย สิ่งที่ตามมาคือ เงินเฟ้อ และเงินเฟ้อนี้เองที่ส่งผลให้ต้นทุนสำหรับสินค้าที่ส่งออกแพงขึ้น ทำให้สินค้าส่งออกของประเทศแข่งขันได้น้อยลงเมื่อเทียบกับประเทศอื่นๆ ส่งผลให้การขาดดุลการค้ามากขึ้นจนทำให้เงินอ่อนค่าลง
1
3) วิวาทะทางการเมือง
นอกจาก 2 ช่องทางข้างต้นแล้ว วิวาทะการเมืองก็ส่งผลให้เงินอ่อนค่าได้เช่นกัน อย่างในกรณีของสหรัฐฯ และจีน ที่มีการตอบโต้กลับกันไปมาในเรื่องของค่าเงินนับตั้งแต่ช่วงปี 2015 จนส่งผลให้เกิดการกีดกันทางการค้าและกลายเป็นความขัดแย้งทางการค้าของสองขั้วประเทศมหาอำนาจ
1
4) เงินอ่อนค่าดีหรือไม่?
1
ถ้าเงินอ่อนค่าเล็กน้อย ทำให้การส่งออกของประเทศสามารถแข่งขันกับประเทศอื่นได้มากขึ้น ก็จะช่วยกระตุ้นการส่งออกของประเทศได้ และทำให้การขาดดุลการค้าดีขึ้นได้ อย่างไรก็ตาม หากเงินอ่อนค่าแบบรวดเร็วและอ่อนค่าลงมากๆ ก็อาจทำให้นักลงทุนเกิดความกังวลว่าเงินจะอ่อนค่าลงไปมากกว่านี้ แล้วรีบดึงเงินทุนออกจากประเทศไป ซึ่งจะยิ่งกลายเป็นแรงกดดันให้เงินอ่อนค่ามากขึ้นไปอีก
📌 แล้วเงินอ่อนค่าในช่วงนี้เกิดจากอะไร?
อาจจะต้องบอกว่า ไม่ใช่แค่ไทยที่เงินบาทอ่อนค่าเมื่อเทียบกับดอลลาร์สหรัฐฯ แต่ประเทศเพื่อนบ้านเราในแถบเอเขียตะวันออกเฉียงใต้ก็เผชิญกับสถานการณ์นี้เช่นกัน
1
เนื่องมาจากปัจจัยสำคัญหลักๆ คือ
1) ราคาสินค้าโภคภัณฑ์สูงขึ้น และต้นทุนการขนส่งสูงขึ้น ให้เกิดการต้นทุนการนำเข้าสินค้าต่างๆ สูงขึ้น จึงอาจส่งผลให้เกิดการขาดดุลการค้ามากขึ้น
1
2) ความผันผวนทั่วโลก ทำให้นักลงทุนเลือกที่จะเคลื่อนย้ายเงินไปไว้ในสกุลเงินที่สามารถเป็นที่หลบภัยจากความเสี่ยงต่างๆ ได้ หรือเรียกว่าเป็น Safe haven จึงทำให้เงินทุนจำนวนมากไหลออกจากตลาดเกิดใหม่ในภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้
1
3) นโยบายทางการเงินที่มีความแตกต่างกัน : Fed ขึ้นดอกเบี้ยอย่างรุนแรงมาถึง 3 ครั้ง รวมกันกว่า 2.25% แล้วในปีนี้ และคาดว่าจะขึ้นดอกเบี้ยอีกอย่างน้อย 1.25% ในการประชุม Fed ที่เหลืออีก 2 ครั้งในปีนี้
ในทางกลับกัน ธนาคารกลางในประเทศแถบเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ยังขึ้นดอกเบี้ยได้ช้ากว่า Fed มาก ทำให้อัตราดอกเบี้ยมีความแตกต่างกันมากยิ่งขึ้น ส่งผลให้เงินทุนไหลออกไปยังสหรัฐฯ ที่มีผลตอบแทนสูงกว่า
2
สำหรับไทย ล่าสุดผู้ว่าการธปท. ก็ได้ออกมาแถลงว่าเงินบาทของไทยนั้นอ่อนค่าลงจากแรงกดดันของสถานการณ์โลกและการแข็งค่าของสกุลเงินดอลลาร์สหรัฐฯ ซึ่งการอ่อนค่าของเงินบาทนั้นยังอยู่ในระดับกลางๆ ไม่ได้อ่อนค่าอย่างผิดปกติแต่อย่างใด
1
อีกทั้งทางธปท. ก็ให้คำมั่นว่าจะจับตาดูสถานการณ์ค่าเงินอย่างใกล้ชิดและพร้อมเข้าไปดูแลหากเกิดความผันผวนผิดปกติ
เท่านี้ก็น่าจะพอให้หลายๆ คนคลายความกังวลไปได้บ้าง แล้วไว้สถานการณ์เปลี่ยนแปลงอย่างไร Bnomics จะคอยมาอัปเดตให้ฟังเรื่อยๆ ค่ะ
ผู้เขียน : ชนาภา มานะเพ็ญศิริ Economist, Bnomics
ภาพประกอบ : จินดาวรรณ อรรถมานะ Graphic Designer, Bnomics
สน
▶︎ ติดตามช่องทางของ Bnomics ได้ที่
Line OA : @Bnomics https://bit.ly/3eYkTJC
Bnomics - Bangkok Bank Economics
'Be an Economist for Everyone'
วิเคราะห์ เจาะทุกประเด็นเศรษฐกิจ ให้เป็นเรื่องง่ายสำหรับคุณ
References:
โฆษณา