Blockdit Logo
Blockdit Logo (Mobile)
สำรวจ
ลงทุน
คำถาม
เข้าสู่ระบบ
มีบัญชีอยู่แล้ว?
เข้าสู่ระบบ
หรือ
ลงทะเบียน
BBLAM
ยืนยันแล้ว
•
ติดตาม
5 ต.ค. 2022 เวลา 05:00 • หุ้น & เศรษฐกิจ
คว้าโอกาสจากตลาดหมี เพื่อรอเวลาของตลาดกระทิง
อย่างที่หลายคนรู้กัน ตลาดหมี คือ สัญญาณของตลาดขาลง
ซึ่งหลายคนเชื่อว่า เมื่อไรก็ตามที่เกิด “ตลาดหมี” เราควรที่จะชะลอการลงทุน หรือไม่ก็หยุดลงทุนไปเลย ซึ่งต้องบอกว่านั่นเป็นสิ่งที่ไม่ถูกต้องเสมอไป
การเกิด “ตลาดหมี ไม่ได้แย่อย่างที่คิด” เพราะวัฏจักรของตลาดหมี ก็คือ “ตลาดกระทิง”
หากย้อนดูตัวเลขอายุเฉลี่ยของการเกิดตลาดหมี และตลาดกระทิง จะพบว่า ตลาดหมีนั้นมีอายุที่สั้นกว่าตลาดกระทิงค่อนข้างมาก
ตัวเลขการเกิดตลาดหมี ตั้งแต่ปี 2472 จนถึงปี 2563
- โลกของเราพบเจอกับตลาดหมีมาแล้ว 26 ครั้ง
- อายุเฉลี่ยการเกิดตลาดหมีอยู่ที่ 9-12 เดือน
- ผลตอบแทนเฉลี่ยติดลบ 38% ต่อปี
ตัวเลขการเกิดตลาดกระทิง ตั้งแต่ปี 2472 จนถึงปี 2563
- โลกของเราพบเจอกับตลาดกระทิงมาแล้ว 27 ครั้ง
- อายุเฉลี่ยการเกิดตลาดกระทิงอยู่ที่ 2-3 ปี
- ผลตอบแทนสูงถึงประมาณ 209.2% ต่อปี
แม้ว่าการเกิดตลาดหมีในครั้งนี้ จะคาดการณ์ได้ยากว่าจะจบลงเมื่อไร แต่อย่างที่บอกไป สุดท้ายแล้ว ทุก ๆ ตลาดหมี ก็มักจะมีตลาดกระทิงตามมาอยู่เสมอ
ดังนั้น สิ่งที่ควรทำในเวลานี้ ไม่ใช่การกังวลกับการเกิดภาวะตลาดหมี แต่คือ “การเรียนรู้ และทำความเข้าใจว่าเราจะสามารถลงทุนอย่างไรในช่วงภาวะตลาดหมีมากกว่า”
🔍 BBLAM จึงได้สรุปประเด็นสำคัญ ๆ ของตลาดหมี จากวิกฤติครั้งก่อน มาให้ผู้อ่านได้ทำความเข้าใจมากขึ้น เพื่อให้เห็นถึงโอกาสในการลงทุนในตลาดหมี และวิเคราะห์หาแนวทางการลงทุนได้อย่างแม่นยำมากขึ้นนั่นเอง
☑️ ผู้นำตลาด มักจะไม่เหมือนเดิมหลังจากที่เกิดตลาดหมี
เมื่อย้อนดูวิกฤติที่ผ่านมา หลาย ๆ เหตุการณ์ก่อนหน้าที่จะเกิดตลาดหมี ผู้นำตลาดเป็นอุตสาหกรรมหนึ่ง แต่หลังเกิดตลาดหมี ผู้นำก็จะหมุนเวียนเปลี่ยนไปเป็นอีกอุตสาหกรรมหนึ่ง ไม่ว่าจะเป็น
- วิกฤติเทคโนโลยี Dot-com Bubble
ในปี 2543 ก่อนหน้าที่จะเกิดวิกฤติ Dot-com Bubble หุ้นที่เป็นผู้นำตลาด ได้แก่ หุ้นกลุ่มเทคโนโลยี ซึ่ง ณ ช่วงเวลานั้นกระแสของโลกอินเทอร์เน็ตกำลังมาแรงอย่างมาก ทำให้ราคาของหุ้นกลุ่มนี้ปรับตัวสูงขึ้น ผู้คนต่างได้กำไร นักลงทุนหน้าใหม่ ๆ ต่างพากันเข้าซื้อตาม ๆ กัน โดยที่ไม่ได้เข้าใจถึงตัวบริษัทที่แท้จริง ส่งผลให้หุ้นกลุ่มเทคโนโลยีมีมูลค่าที่สูง
แต่เมื่อเวลาผ่านไป กระแสของหุ้นกลุ่มนี้กลับลดลง หุ้นกลุ่มนี้ก็ลดลงตามไปด้วย นักลงทุนจำนวนมาก โดยเฉพาะมือใหม่ก็ต่างพากันตกใจ และเทขายหุ้นกลุ่มนี้ออกมา จนทำให้ราคาหุ้นดิ่งลงในปี 2543 ถึงปี 2544 ซึ่งเรียกได้ว่าอยู่ในภาวะตลาดหมี
หลังจากวิกฤติครั้งนี้จบลง ตลาดหมีได้จากไป
ในช่วงเดือนกันยายน ปี 2545 ถึงเดือนธันวาคม ปี 2548 ผู้นำตลาดก็ได้เปลี่ยนแปลงไป จากเดิมที่เป็นหุ้นกลุ่มเทคโนโลยี กลับกลายเป็นหุ้นในกลุ่มพลังงานขึ้นมาแทน ขณะที่หุ้นกลุ่มเทคโนโลยีก็ยังคงให้ผลตอบแทนที่ดีมาเป็นอันดับ 2
- วิกฤติการเงิน Global Financial Crisis หรือ Subprime Crisis
ในปี 2550 ก่อนที่จะเกิดวิกฤตินี้ที่สหรัฐอเมริกา หุ้นที่เป็นผู้นำตลาด ได้แก่ หุ้นกลุ่มพลังงาน ซึ่ง ณ ช่วงเวลานั้น ราคาน้ำมันได้พุ่งถึง 147 ดอลลาร์สหรัฐต่อบาร์เรล ทว่าเมื่อเกิดวิกฤติครั้งนี้ ก็ได้รับผลกระทบกันอย่างทั่วโลก ส่งผลให้หุ้นทุกกลุ่ม
อุตสาหกรรมทรุดลงอย่างมาก รวมถึงหุ้นกลุ่มพลังงานด้วย และทำให้โลกต้องเผชิญหน้ากับตลาดหมีอีกครั้ง
หลังจากวิกฤติครั้งนี้จบลง หุ้นที่เป็นผู้นำตลาดกลับกลายเป็นกลุ่มสินค้าฟุ่มเฟือย หรือ Consumer Discretionary รวมไปถึงหุ้นกลุ่ม Amazon และ Facebook อีกด้วย
จากวิกฤติที่ยกตัวอย่างมาในครั้งนี้ สิ่งที่สังเกตได้คือ ผู้ชนะ หรือผู้นำตลาด มักจะหมุนเวียนสับเปลี่ยนหลังจากเกิดตลาดหมีอยู่เสมอ
☑️ อีกหนึ่งจุดเปลี่ยนสำคัญคือ เรื่องของเงินเฟ้อ ที่แทบไม่ต้องสังเกตก็รับรู้ได้ว่า เวลานี้เงินเฟ้อปรับตัวสูงอย่างร้อนแรงแทบจะทั่วโลก ซึ่งส่วนหนึ่งเป็นผลมาจาก
- นโยบายการคลังของสหรัฐอเมริกาที่มีการแจกเช็คให้กับประชาชน
- การอัดฉีดเงินเข้าสู่ระบบของ FED ส่งผลให้ Balance Sheet ปรับตัวขึ้นไป 2 เท่า
- การขาดแคลนเรื่องพลังงาน และก๊าซธรรมชาติ จากผลกระทบการคว่ำบาตรจากสงครามระหว่างรัสเซียกับยูเครน
BBLAM มองว่า ปัญหาเรื่องของเงินเฟ้อจะไม่ได้อยู่กับเราแค่สั้น ๆ หรือแค่ปีสองปี แต่อาจจะอยู่กับเราไปอีกนาน ดังนั้น สิ่งสำคัญในการลงทุนช่วงเวลานี้ คือ การเลือกหุ้นที่สามารถเอาชนะเงินเฟ้อ หรือได้รับประโยชน์จากเงินเฟ้อได้ เช่น
💬 กลุ่มธุรกิจที่สามารถกำหนดราคาได้ (Pricing Power) ได้แก่ หุ้นกลุ่มพลังงาน หรือกลุ่มโครงสร้างพื้นฐาน
เหตุผลก็เพราะว่า ไม่ว่าเศรษฐกิจจะดี หรือไม่ดี ผู้คนก็ต่างมีความต้องการใช้กันทั้งนั้น หรือต่อให้หุ้นกลุ่มนี้มีราคาที่เพิ่มสูงขึ้น ก็ยังคงมีการบริโภคอย่างไม่ขาดสาย ทำให้หุ้นกลุ่มนี้มีความสามารถในการปรับขึ้นราคานั่นเอง แม้เงินเฟ้อจะปรับขึ้น หุ้นกลุ่มนี้ก็ปรับขึ้นได้เช่นกัน
แนะนำกองทุน
▪️ กองทุนเปิดบัวหลวงหุ้นโกลบอล อินฟราสตรัคเจอร์ หรือ B-GLOB-INFRA ที่เน้นลงทุนในกลุ่มโครงสร้างพื้นฐาน พลังงาน และพลังงานสะอาดจากทั่วโลก มากกว่า 90% ของบริษัทที่กองทุนลงทุน มี Pricing Power รายได้ปรับตัวขึ้นพร้อมเงินเฟ้อได้
ที่สำคัญ ! ดัชนีชี้วัดของกองทุนนี้คือ ค่าเฉลี่ยของเงินเฟ้อในประเทศ G7 ซึ่งรวมทั้งอเมริกา ยุโรป ญี่ปุ่น +5.5% หมายความได้ว่า ไม่ว่าเงินเฟ้อจะเกิดขึ้นในประเทศใด กองทุนนี้ก็จะลงทุนเพื่อให้ชนะเงินเฟ้อให้ได้
💬 กลุ่มธุรกิจที่มีโอกาสเป็นผู้ชนะในระยะยาว มีพื้นฐานดี ได้แก่ หุ้นกลุ่มเทคโนโลยี
ถึงแม้ว่าโลกจะเผชิญหน้ากับตลาดหมี ก็ไม่ได้หมายความว่า บริษัทเทคโนโลยีทุกบริษัทจะให้ผลตอบแทนไม่ดี เพียงแต่ต้องคัดเลือกหุ้นเป็นพิเศษ ซึ่งจะต้องเป็นหุ้นเทคโนโลยีที่มีคุณภาพ มีพื้นฐานที่ดี ก็จะมีโอกาสปรับตัวลงน้อยกว่า และในระยะยาวก็มีโอกาสที่จะปรับตัวสูงขึ้น หากเศรษฐกิจกลับมาฟื้นตัว
อย่างตอนที่เกิดวิกฤติ Dot-com Bubble ในปี 2543 หากเปรียบเทียบระหว่างหุ้น Amazon กับหุ้น
Pets.com
เมื่อเกิดวิกฤติครั้งนั้น ทำให้ราคาของหุ้นทั้ง 2 บริษัทลดลงมาถึง 80% แต่เมื่อเวลาผ่านไป 20 ปี หุ้น Amazon กลับเติบโตมากถึง 4,000%
แนะนำกองทุน
▪️ กองทุนเปิดบัวหลวงโกลบอลอินโนเวชั่นและเทคโนโลยี หรือ B-INNOTECH เน้นลงทุนในหุ้นเทคโนโลยีขนาดใหญ่ในกลุ่ม Semiconductor, Cloud,
Cybersecurity ที่คาดว่าจะเป็นผู้ชนะในระยะยาว สามารถเติบโตได้อย่างต่อเนื่องในอนาคต อีกทั้งกองทุนนี้มีสไตล์การลงทุนที่ค่อนข้างระมัดระวัง (Conservative) เลือกพิจารณาจากมูลค่าเป็นหลัก และซื้อในระดับราคาที่เหมาะสม ไม่เลือกซื้อของที่แพงเกินมูลค่าพื้นฐาน
หากใครที่ไม่เชี่ยวชาญในด้านนี้ การเลือกลงทุนผ่านกองทุนรวมอย่าง B-GLOB-INFRA หรือ B-INNOTECH ถือเป็นทางเลือกที่ตอบโจทย์ เพราะจะมีผู้จัดการกองทุนที่มีความเชี่ยวชาญคอยจัดสรรสินทรัพย์ และเลือกลงทุนให้
📌 อย่างไรก็ตาม ไม่ว่าจะเกิดตลาดหมี หรือตลาดกระทิง การเลือกลงทุนก็ยังคงต้องยึดหลักการเดิมอยู่เสมอ นั่นคือ การดูกระแสเงินสดของบริษัท เลือกบริษัทที่สามารถปันผลได้อย่างสม่ำเสมอ มีผู้บริหารที่ดี และต้องซื้อในระดับราคาที่เหมาะสม ไม่เลือกซื้อของแพงนั่นเอง
และอย่าลืมว่า ‼️ สุดท้ายแล้ว ทุก ๆ ตลาดหมี ก็มักจะมีตลาดกระทิงตามมาอยู่เสมอ
👉 สร้างโอกาสจากภาวะตลาดหมี เพื่อก้าวไปสู่โอกาสเติบโตในอนาคต ผ่าน 2 กองทุน B-GLOB-INFRA และ B-INNOTECH สามารถศึกษารายละเอียดกองทุนเพิ่มเติมได้ที่
▪️ B-GLOB-INFRA :
https://bit.ly/3QJ89Hr
▪️ B-INNOTECH :
https://bit.ly/3dMty3J
▪️ B-INNOTECHRMF :
https://bit.ly/3MgvQnK
▪️ B-INNOTECHSSF :
https://bit.ly/3vAiZGk
สำหรับผู้ที่สนใจลงทุนสามารถลงทุนได้ง่าย ๆ ผ่านโมบายแบงก์กิ้ง จาก ธนาคารกรุงเทพ และสำหรับผู้ลงทุนกองทุน RMF และ SSF ผ่านช่องทางของธนาคารกรุงเทพ สามารถชำระเงินลงทุนผ่านบัตรเครดิตธนาคารกรุงเทพได้อีกด้วย
ลูกค้า โมบายแบงก์กิ้ง จาก ธนาคารกรุงเทพ เลือกเพื่อลงทุนได้เลย
B-GLOB-INFRA :
https://www.bangkokbank.com/.../Foreign.../B-GLOB-INFRA
B-GLOB-INFRARMF :
https://www.bangkokbank.com/.../Retiremen.../B-GLOB-INFRARMF
B-GLOB-INFRASSF :
https://www.bangkokbank.com/.../Super.../B-GLOB-INFRASSF
B-INNOTECH :
https://www.bangkokbank.com/.../Foreign.../B-INNOTECH
B-INNOTECHRMF :
https://www.bangkokbank.com/.../Retirement.../B-INNOTECHRMF
B-INNOTECHSSF :
https://www.bangkokbank.com/.../Super.../B-INNOTECHSSF
หรือลงทุนผ่าน BF Fund Trading จาก BBLAM ดูข้อมูลเพิ่มเติมได้ที่
https://tinyurl.com/kfsebd74
สอบถามข้อมูลเพิ่มเติมหรือขอรับหนังสือชี้ชวน ได้ที่ BBLAM โทร 0 2674 6488 กด 8
www.bblam.co.th
หรือตัวแทนขายที่ได้รับการแต่งตั้ง ได้แก่ บมจ.ธนาคารกรุงเทพ โทร. 1333
บมจ.หลักทรัพย์ บัวหลวง โทร. 0-2231-3777 or 0-2618-1000
บมจ.กรุงเทพประกันชีวิต โทร. 0-2777-8999
บมจ.หลักทรัพย์ โนมูระ พัฒนสิน โทร. 0-2638-5500
บจ.หลักทรัพย์ เอเซีย พลัส โทร. 0-2680-1234
บมจ.หลักทรัพย์ ฟิลลิป (ประเทศไทย) โทร. 0-2635-1700
บมจ.หลักทรัพย์ เกียรตินาคินภัทร โทร. 0-2305-9449
บจ.หลักทรัพย์ ดีบีเอส วิคเคอร์ส (ประเทศไทย) โทร. 0-2657-7000
บมจ.หลักทรัพย์ กรุงศรี โทร. 0-2659-7000
บมจ.หลักทรัพย์ เคจีไอ (ประเทศไทย) โทร. 0-2658-8889
บจ.หลักทรัพย์ อินโนเวสท์ เอกซ์โทร. 0-2949-1000
บจ.หลักทรัพย์นายหน้าซื้อขายหน่วยลงทุน ฟินโนมีนา โทร. 0-2026-5100 กด 1
คำเตือน: การลงทุนมิใช่การฝากเงินและมีความเสี่ยงที่ผู้ลงทุนอาจไม่ได้รับเงินลงทุนคืนเต็มจำนวนเมื่อไถ่ถอน (ไม่คุ้มครองเงินต้น) / ผู้ลงทุนต้องศึกษาและทำความเข้าใจลักษณะสินค้า ข้อมูลสำคัญ นโยบายการลงทุน เงื่อนไขผลตอบแทน ความเสี่ยง และสิทธิประโยชน์ทางภาษีที่ระบุในคู่มือการลงทุนในกองทุนรวม RMF/SSF ก่อนการตัดสินใจลงทุน / กองทุนที่มีการลงทุนในต่างประเทศมิได้มีนโยบายป้องกันความเสี่ยงจากอัตราแลกเปลี่ยนทั้งหมดหรือเกือบทั้งหมด
ทั้งนี้ อยู่ในดุลยพินิจของผู้จัดการกองทุน ดังนั้น ผู้ลงทุนอาจขาดทุนหรือได้กำไรจากอัตราแลกเปลี่ยนจากการลงทุนในกองทุนดังกล่าว หรืออาจได้รับเงินคืนต่ำกว่าเงินลงทุนเริ่มแรกได้
#bblam #กองทุนบัวหลวง #ธนาคารกรุงเทพ #bglobinfra #bglobinfrarmf #bglobinfrassf #binnotech #binnotechrmf #binnotechssf #rmf #ssf #allgenenjoy
ตลาดหมี
ตลาดกระทิง
bblam
1 บันทึก
1
โฆษณา
ดาวน์โหลดแอปพลิเคชัน
© 2024 Blockdit
เกี่ยวกับ
ช่วยเหลือ
คำถามที่พบบ่อย
นโยบายการโฆษณาและบูสต์โพสต์
นโยบายความเป็นส่วนตัว
แนวทางการใช้แบรนด์ Blockdit
Blockdit เพื่อธุรกิจ
ไทย