5 ต.ค. 2022 เวลา 10:21 • ยานยนต์
1) ผมเองมีประสบการณ์ตรงกับเรื่อง “สัญญาณไฟเตือน” หรือ “dashboard warning lights” ด้วยตัวเอง และผมได้รวบรวมข้อมูลไว้ดังนี้ครับ
- “สี”
# “เขียว”
หากสัญญาณไฟมีสีเขียว อาจตีความได้ว่า “ระบบทำงานปกติ หรือ กำลังทำงานอยู่”
# “เหลือง”
“มีบางสิ่งในระบบทำงานไม่ปกติ ควรใช้ความระมัดระวัง และควรทำการเข้าตรวจสอบในเวลาต่อมา”
# “แดง”
“อันตราย! มีความผิดปกติที่มีผลต่อความปลอดภัยในการใช้รถ และควรทำการหยุดใช้รถทันทีที่อยู่ในบริเวณที่สามารถหยุดรถได้อย่างปลอดภัย และปรึกษาผู้เชี่ยวชาญเพื่อทำการซ่อมแซม”
สำหรับไฟเตือนบางอย่างเป็นสีแดงก็จริง แต่ไม่ได้หมายความว่าจะใช้รถต่อไม่ได้ เช่น
> ไฟเตือนเปิดประตูค้างไว้
> ไฟเตือนให้คาดเข็มขัดนิรภัย
> ไฟเตือนเบรคมือ
เป็นต้น
- “สัญญาณไฟเตือน” มีอยู่มากมายครับ
18 สัญญาณไฟเตือนที่พบได้บ่อย ได้แก่
1. Oil Pressure Warning Light
2. Tire Pressure Warning Light
3. Engine Temperature Warning Light
4. Traction Control Alert Light
5. Anti-lock Brake System Warning Light
6. Traction Control Malfunction Light
7. Engine Warning Light (Check Engine Light)
8. Battery Alert Light
9. Low Fuel Indicator Light
10. Automatic Shift Lock or Engine Start Indicator Light
11. Seat Belt Reminder Light
12. Airbag Warning Light
13. Security Indicator Light
14. Fog Lamp Indicator Light
15. Washer Fluid Indicator Light
16. Brake Warning Light
17. Lane Departure Warning Light
18. Transmission Temperature Warning Light
โดยผมขอ highlight ตัวที่น่าสนใจ คือ
“engine warning light”
เป็นรูปเครื่องยนตร์โดยเป็นไฟสีเหลืองครับ ผมเจอกับตัวเอง และหลังจากที่ให้ช่างช่วยตรวจสอบให้ ปรากฏว่าเป็น sensor ของระบบเกียร์มีปัญหา ซึ่งผมสังเกตว่า เวลาเข้าเกียร์อัตโนมัติจะมีอาการกระตุกมากกว่าปกติ
รถยังขับต่อได้ และภายหลังการเปลี่ยนอะไหล่ทุกอย่างก็กลับมาเป็นปกติครับ
“battery alert light”
ไฟเตือนแบตเตอรี่เป็นสีแดง อันนี้รถของคุณอาจจะถึงขั้นสตาร์ทไม่ติด!
จึงควรระมัดระวัง โดยสาเหตุอาจมาจากตัวแบตเตอรี่หมดอายุ หรือเกี่ยวพันกับ ระบบสายไฟ หรือแม้แต่ตัว alternator (ไดชาร์จ)
คุณจึงควรใส่ใจกับแบตเตอรี่รถของคุณให้ดีๆ
”จะรู้ได้ยังไงว่า ได้เวลาเปลี่ยนแบตเตอรี่รถยนต์ของผม?” (โดยไม่รอให้รถสตาร์ทไม่ติดเพราะแบตเตอรี่หมด!)
เมื่อผมตั้งคำถามนี้ในใจ ผมได้ออกแสวงหาคำตอบโดยทำการศึกษาเรื่องแบตเตอรี่รถยนต์มากขึ้น จนผมค้นพบ “คำตอบ” ว่า
มีอุปกรณ์ที่เรียกว่า “Battery Testers” ซึ่งใช้ทดสอบแบตเตอรี่ว่ามีสภาพการใช้งานอยู่กี่เปอร์เซ็นต์ ซึ่งข้อมูลนี้จะมีประโยชน์ต่อการตัดใจเปลี่ยนแบตเตอรี่ลูกใหม่ก่อนที่รถจะสตาร์ทไม่ติดเพราะแบตเตอรี่หมดอายุ
เวลานี้ผมได้จัดหาอุปกรณ์ดังกล่าวมาใช้งานกับรถที่ผมดูแลอยู่ และใช้มันทดสอบแบตเตอรี่ให้กับรถของญาติๆได้อีกด้วย!
“low fuel indicator light”
เป็นรูปหัวจ่ายนำ้มันใยปั๊มสีเหลือง คิดดูอาจเป็นเรื่องขำขันที่คุณต้องรอให้รถส่งสัญญาณเตือนว่า “น้ำมันรถใกล้หมด” ทั้งๆที่มันเป็นความรับผิดชอบของคุณเองที่ต้องตรวจตราระดับนำ้มันเชื้อเพลิงขอรถทุกครั้งก่อนออกรถ
แต่ผมขอบอกว่า การเติมนำ้มันให้เต็มอยู่เสมอก็มีประโยชน์ เพราะปั๊มนำ้มันเชื่อเพลิงจะทำงานได้ดีและไม่ร้อนเมื่อมีปริมาณนำ้มันอยู่เยอะ
คล้ายๆกับตอนที่คุณดูดนำ้จากหลอดดูดในแก้วที่มีน้ำเยอะ คุณจะทำได้สะดวกกว่า ตอนที่นำ้เหลือตำ่กว่าครึ่งแก้ว!
“oil pressure warning light”
อันนี้เป็นรูปคล้าย “ตะเกียง” น้ำมันที่มีสีแดง เป็นการเตือนว่ามีความผิดปกติของระบบปั๊มนำ้มันหล่อลื่น ซึ่งรถของคุณโดยปกติต้องเปลี่ยนถ่าย “นำ้มันเครื่อง” ใช่ไหมครับ?
1
นั่นแหละครับ ระบบหมุนเวียนนำ้มันเครื่องอาจมีปัญหาและอาจส่งผลเสียต่อเครื่องยนตร์ได้
หากคุณหาที่ปลอดภัยหยุดรถได้ ควรมองหา “ร่องรอยการรั่วซึม” ของนำ้มันเครื่อง และติดต่อช่างที่คุณไว้ใจได้มาช่วยแก้ไข
“engine temperature warning light”
อันนี้เป็นรูป thermometer สีแดง และนี่น่าจะเป็นไฟเตือนที่คุณควรให้ความสนใจมากที่สุดอันหนึ่ง
โดยที่มาของปัญหาน่าจะมาจาก “ระบบระบายความร้อนของเครื่องยนต์” เช่นการทำงานของ “พัดลมระบายความร้อน, หม้อนำ้, coolants หรือสารหล่อเย็นรั่วไหล”
กรณีนี้คุณควรจอดรถในที่ปลอดภัยและอย่าเปิดฝากระโปรงหน้า เพราะอาจมีของเหลวร้อนๆจากเครื่องยนตร์พุ่งออกมา ควรจอดรถและติดต่อช่าง ไม่ควรขับต่อ เพราะถ้าหากเครื่องร้อนจัด “ฝาสูบ” อาจโก่ง และนั่นจะเป็นค่าซ่อมราคาสูงทีเดียวครับ
2) “OBD2”
นอกจากรถยนต์ที่ผมชื่นชอบในการศึกษาหาความรู้มาตั้งแต่ยุค “pre-Youtube” แล้ว ผมยังชอบศึกษาวงการคอมพิวเตอร์อีกด้วย
“power users” เป็นศัพท์จากวงการคอมพิวเตอร์ที่ผมเคยได้ยินมา มีความหมายประมาณว่า
“ผู้ใช้งานที่ไม่ใช่ช่างเทคนิค แต่ก็มีความรู้พื้นฐานของช่างอยู่บ้าง”
ในวงการรถยนต์ หากคุณเป็น “power users” คุณอาจมีอุปกรณ์ที่เรียกว่า
“OBD2” ติดตัวเอาไว้บ้าง
โดยอุปกรณ์ชนิดนี้ คุณสามารถเสียบเข้ากับ “port” ที่ต่อกับระบบอิเล็กทรอนิกส์ของรถยนต์ แล้วเครื่องสามารถ “อ่าน” ข้อมูลจากรถยนต์ได้ โดยข้อมูลอาจอยู่ในรูปของ “รหัส” ที่เจ้าของรถหรือช่างสามารถนำมาวิเคราะห์ตีความได้ว่า “มีอะไรเกิดขึ้น” กับระบบของรถยนต์บ้าง!
ซึ่งตอนที่ช่างมาดูรถให้ผม เขาก็ใช้ OBD2 ตรวจสอบ และทำการ “deactivate” ไฟเตือนรูปเครื่องยนตร์ให้ในเวลาต่อมา
โฆษณา