Blockdit Logo
Blockdit Logo (Mobile)
สำรวจ
ลงทุน
คำถาม
เข้าสู่ระบบ
มีบัญชีอยู่แล้ว?
เข้าสู่ระบบ
หรือ
ลงทะเบียน
ลงทุนเกิร์ล
ยืนยันแล้ว
•
ติดตาม
6 ต.ค. 2022 เวลา 02:30 • ธุรกิจ
ทำไม Tiffany & Co. ถึงอาจเป็นแบรนด์เครื่องประดับเดียว ที่ใช้ สีฟ้าเฉดนี้ได้
เราอาจเคยได้ยินเรื่องการนำ โลโก หรือ ชื่อแบรนด์ ไปจดเครื่องหมายการค้า
แต่รู้หรือไม่ว่า “สี” ก็สามารถนำไปจดทะเบียนได้เช่นกัน
และที่สำคัญคือ ถ้าสีไหน ถูกจดเครื่องหมายการค้าเรียบร้อยแล้ว แบรนด์อื่น ๆ ก็อาจจะหมดสิทธิ์ใช้สีนั้นไปด้วย
แล้วทำไม Tiffany & Co. ต้องนำสี ไปจดเครื่องหมายการค้า เป็นชื่อของตัวเอง ?
และสีฟ้าทิฟฟานี่ มีที่มาอย่างไร ?
ลงทุนเกิร์ลจะเล่าให้ฟัง
ที่มาของ สี Tiffany Blue เกิดขึ้นเมื่อ 177 ปีที่แล้ว
โดยผู้ก่อตั้งแบรนด์ ได้สั่งพิมพ์ “แค็ตตาล็อกแนะนำสินค้า” ที่ใช้ “สีฟ้าเฉดประกายเขียว” เป็นสีหน้าปก และเรียกชื่อแค็ตตาล็อกนี้ว่า “Blue Book”
รวมไปถึง สีของแพ็กเกจจิง ก็ยังใช้ สีฟ้าเฉดประกายเขียว เช่นกัน
โดยแรงบันดาลใจของเฉดสีดังกล่าว มาจากสีของ “เทอร์คอยส์”
ซึ่งเป็นอัญมณี ที่ได้รับความนิยมสูงมาก ในช่วงศตวรรษที่ 19
เรื่องนี้ก็เป็นเพราะว่า เจ้าสาวในยุคนั้น จะนิยมมอบเข็มกลัดเทอร์คอยส์ รูปนกพิราบ เป็นที่ระลึกให้แก่แขกที่มาร่วมงานแต่ง
ดังนั้น สีฟ้าเฉดประกายเขียว จึงกลายเป็นที่จดจำในฐานะ สีของความหรูหรา และทันสมัย
จนกระทั่งในปี 1998 หรือ หลังจากที่ Tiffany & Co. ใช้เฉดสีนี้มายาวนานถึง 153 ปี บริษัทจึงได้ตัดสินใจ นำสีนี้ไปจดทะเบียนเป็น “เครื่องหมายการค้า” ในชื่อ “Tiffany Blue ®” ได้สำเร็จ
ส่วนสาเหตุ ที่ทางแบรนด์ต้องห้อยท้ายชื่อสี ด้วยเครื่องหมาย ® ก็เพื่อเป็นการกำกับว่า สีนี้ ได้รับการคุ้มครองตามกฎหมายเครื่องหมายการค้า เรียบร้อยแล้วนั่นเอง
แต่ก็ต้องบอกว่า การจด “สี” เป็นเครื่องหมายการค้า
ไม่ได้หมายความว่า เราจะเป็นเจ้าของสีนั้นได้คนเดียว
เพราะจริง ๆ แล้ว มันเป็นการป้องกัน ไม่ให้แบรนด์ที่อยู่ในธุรกิจสายเดียวกัน มาใช้สีซ้ำกัน จนทำให้ผู้บริโภคสับสนนั่นเอง
และอีกเรื่องที่น่าสนใจ คือ ต่อมาในปี 2001
สี Tiffany Blue ® ยังได้รับการกำหนดรหัสสี และชื่อใน Pantone ว่า
“1837 Blue” ซึ่งหมายเลขดังกล่าว ก็คือ ปีก่อตั้ง Tiffany & Co.
ส่วนเหตุผลที่ต้องมีการกำหนดรหัสสีใน Pantone ก็เพื่อให้เป็นมาตรฐานเดียวกัน และไม่ว่า สี Tiffany Blue จะถูกนำไปผลิตซ้ำในสื่อใด หรือไปปรากฏอยู่ที่ใด ทุกคนก็ยังจดจำสี Tiffany Blue ได้ ไม่ผิดเพี้ยนไปจากต้นฉบับ
1
เพราะแม้จะมองเพียงผิวเผินว่า เป็นสีโทนเดียวกัน
แต่ถ้าสีนั้นมันออกไปทางเขียวมากกว่าปกติเล็กน้อย
หรือถ้าคนใช้สีผิดเพี้ยนไปบ่อย ๆ
ไม่แน่ว่า ในอนาคตสี Tiffany Blue ที่คนทั่วไปคุ้นเคย ก็อาจไม่เหมือนเดิมอีกต่อไป..
และแม้ว่า เรื่อง “สี” จะดูเป็นเหมือนจุดยิบ ๆ ย่อย ๆ
แต่จริง ๆ แล้ว มันมีความสำคัญ ทั้งต่อเรื่อง Branding ที่ช่วยให้ภาพลักษณ์ของแบรนด์มีความชัดเจน โดดเด่น และง่ายต่อการจดจำ
ไม่เพียงแค่ Tiffany & Co. จะใช้ “สี” ในแง่ของสัญลักษณ์แล้ว
พวกเขายังใช้สีนี้ เพื่อหารายได้เพิ่มให้กับบริษัทได้อีกด้วย
ซึ่งบางคนก็น่าจะคุ้นตา กับการร่วมงานระหว่าง Tiffany & Co. และแบรนด์ดัง ๆ ที่นำสี Tiffany Blue ไปใส่ในสินค้ามาบ้างแล้ว
ไม่ว่าจะเป็น นาฬิกา ที่ทำร่วมกับแบรนด์ Patek Philippe
ซึ่งใช้สี Tiffany Blue ในหน้าปัดของนาฬิกา
หรือเสื้อยืด ที่ทำร่วมกับแบรนด์ Supreme
ก็มีการเปลี่ยนสีพื้นหลังของโลโก จากสีแดง Supreme มาใช้เป็นสี Tiffany Blue แทน
ดังนั้น แม้ว่า Tiffany & Co. จะเป็นแบรนด์ที่ขายเครื่องประดับ
แต่อีกหนึ่งสินค้า ที่ลูกค้ายอมจ่ายในราคาแพง
เพื่อให้ได้ครอบครอง ก็คือ สี Tiffany Blue นั่นเอง..
ปิดท้ายด้วยข้อมูลที่น่าสนใจ
รู้หรือไม่ว่า Tiffany & Co. จริง ๆ แล้วเริ่มต้นมาจาก “ร้านเครื่องเขียน และสินค้าหรูหรา”
แต่หลังจากสิ้นสุดการล่มสลายของระบอบกษัตริย์ฝรั่งเศส ในทศวรรษที่ 1840 ก็ทำให้เหล่าขุนนาง และกลุ่มที่สนับสนุนราชวงศ์หนีมายังสหรัฐอเมริกา พร้อมกับหอบเพชร และเครื่องประดับติดตัวมาขาย เพื่อนำมาแลกเป็นเงินสด
คุณ Charles Lewis Tiffany ที่มองเห็นโอกาสจากเรื่องนี้
จึงได้รับซื้อเครื่องเพชร จากชาวฝรั่งเศสไว้
และในเวลาต่อมา ร้านก็เริ่มกลายเป็นที่รู้จักในนาม ร้านขายเพชรและเครื่องประดับมากขึ้น..
References:
-
https://www.tiffany.at/world-of-tiffany/blue-box-story/
-
https://press.tiffany.com/our-story/tiffany-blue/
-
https://mygemma.com/blogs/news/why-is-the-tiffany-color-blue
-
https://how.studio/latest/about-a-colour-tiffany-blue
-
https://www.pantone.com/articles/case-studies/crazy-about-tiffanys-the-story-behind-an-iconi
-
https://press.tiffany.com/spokespeople/charles-lewis-tiffany/
-
https://www.luxuryabode.com/blog/the-brand-story-of-tiffany---co/artid154
-
https://press.tiffany.com/our-story/tiffany-blue
-
https://www.artsy.net/article/artsy-editorial-tiffany-monopolized-shade-blue
-
https://elle.in/article/tiffany-blue/
-
https://press.tiffany.com/our-story/tiffany-blue/
-
https://www.colormatters.com/color-and-marketing/color-branding-legal-rights
ธุรกิจ
9 บันทึก
16
7
9
16
7
โฆษณา
ดาวน์โหลดแอปพลิเคชัน
© 2024 Blockdit
เกี่ยวกับ
ช่วยเหลือ
คำถามที่พบบ่อย
นโยบายการโฆษณาและบูสต์โพสต์
นโยบายความเป็นส่วนตัว
แนวทางการใช้แบรนด์ Blockdit
Blockdit เพื่อธุรกิจ
ไทย