6 ต.ค. 2022 เวลา 09:27
อยู่ในสถานการณ์ที่พบเห็นคนถูกทำร้าย !? หรือตกอยู่ในสถานการณ์ซะเอง ถ่ายรูป และถ่ายคลิปวิดิโอเป็นหลักฐานอย่างไรให้ไม่โดนฟ้องกลับจากกฎหมาย PDPA
HOW-TO ถ่ายรูปหรือ ถ่ายคลิปวิดีโอเพื่อเป็นหลักฐานทางกฎหมาย
  • 1.
    ถ่ายรูปหรือ ถ่ายคลิปวิดีโอไปเลยค่ะเพื่อเป็นหลักฐานทางคดี โดยไม่ต้องขอความยินยอมใด ๆ
  • 2.
    นำหลักฐาน ส่งให้เจ้าหน้าที่เร็วที่สุด
💥 ประเด็นมีอยู่ว่า ⁉️
พลเมืองดี "ห้ามนำหลักฐานมาโพสต์ลงสื่อโซเชียลเอง" เพราะอาจโดนฟ้องกลับฐานหมิ่นประมาท หรือผิดกฎหมาย PDPA ได้
*** เว้นแต่เป็นกรณีที่เป็นการบันทึกรูปประเภทที่สามารถลงโซเชียลได้
✅ ถ่ายรูป และถ่ายคลิปวิดิโอที่ 'เผยแพร่บนโซเชียลได้' เช่น
1. ถ่ายรูป และถ่ายคลิปวิดิโอบันทึกเหตุการณ์บนท้องถนน ที่ไม่มีเจตนาจะทำให้ผู้อื่นเสียหาย
2.ถ่ายรูป และถ่ายคลิปวิดิโอที่บันทึกไว้ เพื่อเตือนภัยให้ผู้อื่นระมัดระวัง
3. ถ่ายรูป และถ่ายคลิปวิดิโอบันทึกไว้ เพื่อใช้เป็นหลักฐานป้องกันตัว
*** เว้นแต่มีการเบลอหน้า หรือเบลอรายละเอียดอื่นที่สามารถระบุตัวบุคคลได้ก็สามารถผยแพร่บนโซเชียลได้ เช่น ป้ายทะเบียนรถ เป็นต้น
❌ ถ่ายรูป และถ่ายคลิปวิดิโอที่ 'ไม่ควร' เผยแพร่ เช่น
1. รูปหรือวิดีโอบางส่วนที่ทำให้ผู้ที่ปรากฎในภาพหรือในวิดีโอนั้นเกิดความเสียหาย อับอายหรือถูกเข้าใจผิด
2. รูปหรือวิดีโอที่มีวัตถุประสงค์นำไปใช้เพื่อการหารายได้
3. ผู้ที่ปรากฎในภาพหรือในวิดีโอนั้นไม่ยินยอมให้เปิดเผย
4. นำรูปหรือวิดีโอไปโพสต์ประจานในโซเชียลมีเดียโดยไม่เบลอหน้า โดยมีเจตนาเพื่อสร้างความเข้าใจผิดหรือทำให้ผู้อื่นเสื่อมเสียชื่อเสียง
* กฎหมายไม่ได้ระบุไว้ว่า ห้ามถ่ายภาพหรือถ่ายวิดีโอติดคน แต่การนำไปเผยแพร่นั้นจะต้องมีการปกปิดข้อมูลที่สามารถระบุตัวบุคคลได้
🙆‍♀️ แอบกระซิบเบา ๆ ว่า หากเพื่อน ๆ ต้องการโพสต์ภาพหรือวิดีโอจากกล้องติดรถยนต์หรือจากโทรศัพท์มือถือลงในโซเชียลมีเดีย ต้องคำนึงเสมอว่า ภาพหรือวิดีโอเหล่านั้นจะสร้างความเสียหายต่อผู้อื่นหรือไม่ และหากเป็นไปได้ต้องทำการเซนเซอร์หน้าบุคคลอื่นให้เป็นบุคคลนิรนามก่อนจึงสามารถลงได้
โฆษณา