15 ต.ค. 2022 เวลา 00:00 • สุขภาพ
หมดห่วงทั้งเรื่องความคุ้มครองด้านสุขภาพ และการลงทุน มารับ WEALTHAMIN นี้ไปเป็นตัวช่วยได้
เช็กเลย ประกันแบบไหนบ้าง ที่ให้ทั้งความคุ้มครอง และผลตอบแทน
เช็กเลย! ประกันแบบไหนบ้าง ที่ให้ทั้งความคุ้มครองและผลตอบแทน
• การเก็บเงินผ่านประกันชีวิตถือเป็นทางเลือกที่หลายคนให้ความสนใจ เพราะได้ประโยชน์ทั้งในเรื่องของความคุ้มครองและตอบโจทย์ด้านการออมโดยเฉพาะประกันสะสมทรัพย์
• ปัจจุบันประกันชีวิตในท้องตลาดมีหลายหลายรูปแบบมากขึ้น เพื่อตอบโจทย์ความต้องการของคนที่แตกต่างกัน ซึ่งบางแบบประกันได้เงินคืนทุกๆปี สัดส่วนที่ได้รับแตกต่างกันไปแต่ละกรมธรรม์ เงินคืนนี้ก็สามารถนำไปซื้อสัญญาเพิ่มเติมด้านสุขภาพได้ แนะนำเลือกแบบประกันที่ได้เงินคืนครอบคลุมค่าใช้จ่ายสัญญาสุขภาพนั้น
• ประกันชีวิตควบการลงทุน หรือ Unit Link ตอบโจทย์คนที่ต้องการความยืดหยุ่น สามารถเลือกรูปแบบการลงทุนเองได้ โดยจะได้รับผลตอบแทนจากการที่กองทุนนั้นนำเงินไปลงทุน
หลายคนเลือกที่จะเก็บเงินผ่านประกันชีวิต เพราะนอกจากจะได้ประโยชน์และเป็นหลักประกันในเรื่องชีวิตและทรัพย์สินแล้วนั้นยังช่วยออมเงินได้อีกด้วย
นอกจากประกันชีวิตจะตอบโจทย์เรื่องการเก็บออม ยังสามารถเป็นหนึ่งในตัวเลือกที่ปกป้องเงินออม ด้วยการช่วยซัพพอร์ทค่าใช้จ่ายที่เกิดขึ้นตอนเจ็บป่วยได้ ผ่านประกันที่มีความคุ้มครองสุขภาพ ที่ประกันชีวิตสามารถเลือกซื้อความคุ้มครองเพิ่มเติมได้
เช่น สัญญาเพิ่มเติมค่ารักษาพยาบาล สัญญาเพิ่มเติมโรคร้ายแรง หรือหากต้องการสัญญาเพิ่มเติมชดเชยรายได้สำรองไว้ยามเจ็บป่วยก็ได้เช่นกัน
แน่นอนว่าการซื้อสัญญาเพิ่มเติมย่อมมีค่าใช้จ่ายที่มากขึ้นตามมา อีกทั้งต้องไม่ลืมว่าค่าเบี้ยประกันมีการปรับขึ้นทุก 5 ปีหรือบางแบบมีการปรับขึ้นทุกปี ดังนั้นถ้าไม่อยากกันเงินไว้จำนวนเยอะๆเพื่อรองรับค่าใช้จ่ายส่วนนี้
จะมีวิธีหรือแนวทางใดบ้างที่ทำให้ผู้เอาประกันสามารถได้ครบทั้งความคุ้มครองและผลตอบแทนโดยที่ไม่ต้องจ่ายเงินเพิ่ม วันนี้จะมาแนะนำให้รู้จักกัน
ทางเลือกออมเงินผ่านประกันเพิ่มเติม
1) ได้เงินคืนไปซื้อประกันสุขภาพเพิ่มฟรี
แนะนำทางเลือกประกันแบบตลอดชีพที่ได้เงินคืนระหว่างปี เพื่อนำเงินคืนมาซื้อสัญญาเพิ่มเติมสุขภาพ เช่น ประกันชีวิตเพื่อคุ้มครองตลอดชีพ 80/4 ซึ่งเป็นประกันชีวิตที่มีจุดเด่นคือ มีเงินคืน 1% ทุกๆปี ตั้งแต่สิ้นปีที่ 4 ไปจนถึงอายุ 79 ปี
ตัวอย่างประกันแบบมีเงินคืน (80/4)
ถือเป็นการสร้างหลักประกันและออมเงินได้ และจะเห็นได้ว่ายิ่งทำเร็วยิ่งมีเงินคืนต่อเนื่องไปจนถึงอายุ 79 ปี (ด้วยเบี้ยรวมที่ต่ำกว่า) (รายละเอียดเพิ่มเติมของประกันชีวิต 80/4 ----> https://www.kasikornbank.com/pro-life-80-4​ )
ทำทุนประกันเท่าไหร่ถึงจะสามารถเอาไปซื้อประกันสุขภาพได้
เพื่อให้เห็นภาพชัดเจนยิ่งขึ้นขอยกตัวอย่างสัญญาเพิ่มเติม D Health Plus ที่มีความคุ้มครองค่าห้องและค่ารักษา อยู่ที่ 1-5 ล้านบาทต่อการรักษาครั้งใดครั้งหนึ่ง คุ้มครองทั้งโรคทั่วไป โรคร้ายแรง โรคระบาด
โดยค่าเบี้ยประกันของเพศชายอายุ 35 ปี แผน MaX จะอยู่ที่ 20,099 บาท และหากอายุ 50 ปี จะอยู่ที่ 28,235 บาท หมายความว่าหากเราเลือกออมเงินในประกันตลอดชีพที่มีเงินคืน 1% ต่อปี ควรเลือกทุนประกันอยู่ที่ 2,823,500 บาท เพื่อให้เงินคืนครอบคลุมได้ตั้งแต่วันที่อายุ 35 ได้ถึงอายุ 50 เลย
โดยไม่ต้องกังวลว่าต้องหาเงินส่วนต่างมาเติม แต่ถ้าหากไม่อยากปวดหัวคิดคำนวณค่าใช้จ่ายในอนาคตว่าต้องกันเงินเท่าไหร่จึงจะเพียงพอ หรืออาจมีข้อจำกัดบนทางเลือกนี้ ก็มีอีกทางเลือกที่น่าสนใจเช่นกัน
2) นำผลตอบแทนจากการลงทุนมาซื้อประกันสุขภาพ
ประกันควบการลงทุน (Unit Link) เป็นประกันชีวิตที่ให้ทั้งความคุ้มครองในกรณีเสียชีวิต และมีโอกาสได้รับผลตอบแทนจากการลงทุน ผลตอบแทนที่ได้จากการลงทุนนี้ก็สามารถนำมาจ่ายค่าเบี้ย หรือสามารถซื้อสัญญาเพิ่มเติมด้านสุขภาพได้
ซึ่งแบบประกันที่ว่านี้ จะมีการแบ่งเบี้ยประกันแบ่งออกเป็นส่วนความคุ้มครอง และส่วนที่แบ่งไปลงทุนในกองทุนรวม ซึ่งบริษัทประกันจะนำเงินส่วนที่ลงทุนไปจ่ายเบี้ยสุขภาพโดยอัตโนมัติ ผู้เอาประกันสามารถเลือกกองทุนที่ต้องการ ปรับเปลี่ยนให้สอดคล้องกับสถานการณ์เศรษฐกิจ เพิ่มลดส่วนลงทุนหรือส่วนความคุ้มครองได้
ตัวอย่างประกัน Unit Link ที่สามารถแนบสัญญาเพิ่มเติมสุขภาพได้
ตัวอย่างประกัน Unit Link
ข้อมูลเพิ่มเติม -----> https://www.muangthai.co.th/th/investment​
คำแนะนำเพิ่มเติม
1) สำหรับผู้ที่ต้องการเน้นเก็บออม และกังวลกับความเสี่ยงในการลงทุน แนะนำทำประกันชีวิตแบบสะสมทรัพย์ที่มีการระบุเงินคืนชัดเจน หรือหากต้องการบริหารการจ่ายเบี้ยประกันสุขภาพเฉพาะช่วงหยุดทำงาน (เกษียณ) ก็สามารถใช้ประกันชีวิตแบบบำนาญจัดการเรื่องนี้ได้เช่นกัน
2) สำหรับผู้ที่สนใจในประกันชีวิตควบการลงทุน (Unit Link) เบื้องต้นควรมีความรู้เรื่องการลงทุนในกองทุนรวม รับความเสี่ยงจากการลงทุนได้ และลงทุนได้ระยะยาวอย่างน้อย 10 ปี ขึ้นไปเพื่อลดโอกาสขาดทุนจากการลงทุน นอกเหนือจากความต้องการความคุ้มครองที่จะได้รับจากประกันชีวิต
3) สำหรับผู้ที่อยากได้ความคุ้มครองค่ารักษาพยาบาลไปยาวๆ แนะนำเลือกแบบประกันชีวิตแบบระยะยาวเพราะสัญญาเพิ่มเติมประกันสุขภาพจะต้องดูระยะเวลาคุ้มครองโดยที่ความคุ้มครองนั้นจะต้องไม่เกินระยะเวลาเอาประกันของประกันชีวิตหลักด้วย เพราะเมื่อประกันชีวิตหลักครบสัญญา สัญญาเพิ่มเติมประกันสุขภาพก็จะสิ้นสุดลง
Disclaimer: “ทำความเข้าใจลักษณะสินค้า เงื่อนไขผลตอบแทนและความเสี่ยงก่อนการตัดสินใจลงทุน”
ขอขอบคุณข้อมูลจาก :
• เมืองไทยประกันชีวิต
บทความโดย K WEALTH GURU พธพร รัตนสิโรจน์กุล
#KBankLive
โฆษณา