6 ต.ค. 2022 เวลา 17:14 • วิทยาศาสตร์ & เทคโนโลยี
Physical biometric Access Control
ระบบ Access Control ที่ใช้ลักษณะทางกายภาพของคนเราในการยืนยันตัวตน เอาหลักๆ ก็มีตามนี้
Fingerprint recognition : เก็บข้อมูลรายนิ้วมือแบบละเอียดแทบจะจุดต่อจุด เลยต้องใช้พื้นที่เก็บที่ใหญ่ ความแม่นยำอยู่ในช่วงที่รับได้ รวดเร็ว ราคาไม่แพง ผู้ใช้ไม่รู้สึกว่าถูกคุกคาม ยอมรับได้ง่าย
Finger scan : คล้ายๆ Finger print แต่เก็บข้อมูลน้อยกว่า โดยการสุ่มๆ เก็บมาเป็นบางจุด ไม่ได้เก็บทั้งหมด ความแม่นยำก็น้อยกว่าหน่อย แต่เก็บข้อมูลน้อยกว่าเยอะ
Facial recognition : สแกนใบหน้า ดูโครงหน้า ได้รับความนิยมเพิ่มมากขึ้น หลักๆ มาจาก smart phone
Hand geometry : สแกนดูโครงสร้างของมือและนิ้ว ความยาว ความหนา จุดเด่นๆเขาคือมีขนาดไฟล์จัดเก็บที่เล็กสุดเทียบกับวิธีการอื่น และการยอมรับจากผู้ใช้ได้ง่ายเหมือนนิ้วมือ
Retina pattern : สแกนเรตินา เป็นเส้นเลือกที่อยู่ตรงส่วนหลังของลูกตา แม่นยำดี ขนาดไฟล์ไม่ใหญ่ แต่ผู้ใช้อาจจะต่อต้านบ้าง ที่ต้องเอาตาไปจ้องตัวอุปกรณ์ มีประเด็นเรื่องข้อมูลที่เรตินาบอกได้จะมีเรื่องโรคเช่น เบาหวาน หัวใจ ได้ด้วย ซึ่งอาจจะมองว่าเป็นข้อมูลสุขภาพส่วนบุคคลด้วย
Iris : สแกนที่ตัวม่านตา ที่เป็นเส้นเลือดตรงที่ตาดำของคนไทยเรา มีความแม่นยำสูงที่สุด แต่ต้องไม่ใส่คอนแทค และจ้องนิ่งๆสักพักนึง อาจมีประเด็นการยอมรับเหมือน retina scan
Voice Recognition : ใช้เสียงยืนยันตัวตน ใช้เวลานาน เพราะต้องพูดเป็นประโยคหลายคำหน่อย และความแม่นยำไม่ค่อยดี จึงควรใช้กับการยืนยันตัวตนแบบอื่นเพิ่ม เช่น ใส่ PIN (some thing you know) ร่วมด้วย ทั้งยังอาจใช้การอัดเสียงมาเปิดได้อีก บางระบบจึงให้พูดเป็นคำสุ่มไปเรื่อยด้วย
Signature dynamics : ดูจากลายเซ็น โดยจะมีแผ่นๆให้เซ็นต์บนนั้น แล้วดูคุณสมบัติต่างๆ รูปร่าง น้ำหน้ก ให้ความแม่นยำดี แต่ก็จะช้าหน่อย และมีขนาดไฟล์ใหญ่ คนยอมรับได้ง่าย
Keystroke or typing dynamics : ดูจากลักษณะการพิมพ์ กดแป้น Keyboard หรือ Key Stroke ความเร็ว น้ำหนัก ระยะเวลากดนิ้ว ยกนิ้ว วิธีนี้ยังไม่ค่อยมีใช้นัก เห็นใน paper ซะมากกว่า

ดูเพิ่มเติมในซีรีส์

โฆษณา