7 ต.ค. 2022 เวลา 08:45 • ความคิดเห็น
จากเหตุการ์ณกราดยิงนั้น เกี่ยวข้องกับการบริหารประเทศของรัฐบาลชุดนี้อย่างไร ?
คำถามนี้ถูกลบ
ผมมองว่าคำกล่าวที่ว่า
“one thing leads to another.”
ยังคงสามารถใช้อธิบายปรากฏการณ์ทางสังคมได้เป็นอย่างดี
เหตุการณ์กราดยิง หรือ “mass shootings” ที่เกิดขึ้นทั่วโลกนั้น จะมีระดับความรุนแรงของปัญหาแตกต่างกันออกไป ซึ่งเป็นภาพสะท้อนถึงปัญหาที่เป็นรากเหง้าที่อาจจะมีความเหมือนหรือแตกต่างกันในแต่ละประเทศ
แต่สิ่งที่ผมมองว่าเป็นสาเหตุที่มีความคล้ายคลึงกันคงจะได้แก่แง่มุมของ
“ความเหลื่อมล้ำ” ในหลายๆมิติ ดังเช่น
1) “ความเหลื่อมล้ำทางเศรษฐกิจ”
ผมเชื่อว่าชาวบ้านทั่วไป คงได้รับรู้ถึงปัญหาในสังคมที่เชื่อมโยงเกี่ยวกับ “ธุรกิจผิดกฎหมาย” ที่มีการใช้ “บัญชีม้า” หรือ “การจ้างเปิดบัญชี” ที่ผู้ถูกว่าจ้างให้เปิดได้รับค่าตอบแทนในการเปิดบัญชี แต่การ “ผ่องถ่ายเงินเข้าออกบัญชี” จะกระทำโดย องค์กรอาชญากรรมที่เป็นผู้ว่าจ้างในการเปิดบัญชีอีกต่อหนึ่ง
โดยอาชญากรที่ว่า ก็คงมีพวกค้าสิ่งผิดกฎหมายต่างๆ รวมถึงพวก call centers ที่เราได้ข่าวกันตามสื่อต่างๆ
ส่วนผู้ที่รับจ้างเปิดบัญชีม้า ส่วนหนึ่งเป็น “กลุ่มคนรายได้น้อย” ตามชุมชนแออัดที่รับเงินค่าจ้างมาประทังชีวิต
และใน “ระบบนิเวศน์” หรือ “ecosystems” ของธุรกิจผิดกฎหมายเอง ก็ใช้เงิน “ว่าจ้าง” กลุ่มคนที่ขาดโอกาสทางการศึกษาและทางเศรษฐกิจ มาเป็น “แรงงาน” ในภาคธุรกิจผิดกฎหมายได้อย่างง่ายดาย เพราะ “คนจน” ที่ขาดโอกาสจาก “ความเหลื่อมล้ำทางเศรษฐกิจ” มีอยู่ “มากมาย” ทั่วประเทศ
จึงเป็นการง่ายที่องค์กรอาชญากรรมจะเติบโตโดยอาศัยประโยชน์จากความเหลื่อมล้ำในด้านนี้
2) “ความเหลื่อมล้ำในการเข้าถึงอำนาจรัฐ”
อีกเช่นกัน เราคงเคยได้ยินข่าวผ่านสื่อต่างๆ ว่ามี “เจ้าหน้าที่ของรัฐ” ที่ “ละเว้นการปฏิบัติหน้าที่หรือปฏิบัติหน้าที่โดยมิชอบ” ซึ่งส่วนหนึ่งเป็นรูปแบบของการ corruptions และอาจใช้อำนาจรัฐเอื้อประโยชน์ให้กับกลุ่มธุรกิจผิดกฎหมายทั้งที่เกี่ยวข้องกับ “สารเสพติด” ทั้งทางตรงและทางอ้อม
เราคงเคยเรียนกันมาว่า อำนาจสูงสุดในการปกครองประเทศคือ
“อำนาจนิติบัญญัติ, อำนาจบริหาร, และ อำนาจตุลาการ”
หากแต่ “ความเข้มแข็ง” ในการ “ตรวจสอบและถ่วงดุล” ของอำนาจสูงสุดทั้งสาม เป็นไปอย่างมี “ประสิทธิภาพ” มากน้อยเพียงใด แล้ว “ใคร” จะมี “หน้าที่” ตรวจสอบและถ่วงดุล อำนาจทั้งสามนี้!
แน่นอนว่า “ประชาชนที่ด้อยโอกาสทางเศรษฐกิจ” มีแนวโน้มที่จะได้รับผลกระทบจากความีเหลื่อมล้ำในการเข้าถึงอำนาจรัฐด้วย โดยเฉพาะหากมีปัญหา corruptions เข้ามาเกี่ยวข้อง
และเมื่อมีปัญหา corruptions มากเข้า สิ่งนี้ในที่สุดก็จะไปส่งผลต่อปัญหาสังคมอื่นๆ เช่น ปัญหาการค้าสารเสพติดผิดกฎหมาย และการเติบโตขององค์กรอาชญากรรมทุกรูปแบบ!
ผมขอเปรียบเทียบให้เห็นชัดๆแบบนี้ครับ
“ความแตกต่าง” ทำให้เกิด “การเคลื่อนไหว”
ลมเกิดจากอะไร?
พื้นที่ A อุณหภูมิ “สูง” ความกดอากาศ “ต่ำ”
พื้นที่ B อุณหภูมิ “ต่ำ” ความกดอากาศ “สูง”
อากาศจึงไหล (ลมพัด) จาก B —-> A
“เมืองใหญ่ๆ” มีโอกาสเยอะ คนใน “เมืองเล็กๆ” จึงย้ายไปหาโอกาสที่มีมากกว่าในเมือง ที่ดินในเมืองใหญ่ที่มีพื้นที่เท่ากับที่ดินในเมืองเล็ก แต่ราคาแพงกว่าหลายเท่านัก! เพราะกลไกอุปสงค์อุปทานต่างกัน
คนที่มีอำนาจก็อยากรักษาอำนาจไว้ คนไม่มีอำนาจก็ถูกกีดกันไม่ให้เข้าถึงอำนาจ
“มีอำนาจก็ใช้แสวงหาเงิน มีเงินก็เข้าถึงอำนาจได้สะดวก” ถ้าคุณเปลี่ยนกลไกนี้ได้ ความเหลื่อมล้ำจะไม่หมดไป แต่จะบรรเทาลงครับ
1
เพราะถ้า “แตกต่าง” มากๆ “พายุใหญ่” จะมาบ่อยขึ้นและรุนแรงขึ้น!
3) “รากเหง้าของคนชั่วคือคนขี้ขลาดตาขาว”
4) “บ้านเราอาจไม่ได้มีจำนวนอาวุธถูกกฎหมายต่อประชากรมากกว่าหลายๆประเทศ”
แต่บ้านเรามี “สถิติ corruptions” ติดอันดับโลก!
ผมอยากให้คุณจินตนาการว่า
คุณกำลังจะใช้ไม้บรรทัดเป็นเครื่องมือในการช่วยคุณ “ขีดเส้นตรง”
แล้วถ้า “ไม้บรรทัด” อันนั้นที่เราลงทุนซื้อมา “บิดเบี้ยว!” คุณคิดว่าการขีดเส้น “ตรง” มันจะมี “ต้นทุน” ที่เพิ่มมากขึ้น! อย่างไร?
และต้นทุนชีวิตของพี่น้องชาวไทยทั้งประเทศจะเพิ่มมากขึ้นเพียงใด? หากผู้ที่ใช้มือ “ลูบคลำ” เงินและทรัพย์สินส่วนรวมของพี่น้องชาวไทยที่มีมูลค่านับล้านล้านบาทต่อปี เป็น “มือสกปรก” ?
เพราะ?
“พยาธิ”!
คือพวกที่ “มือไม่พายแล้วยังจะงัดไม้ที่เป็นพื้นเรือเอาไปขายอีก! แล้วพอเรือที่มันอาศัยเป็นที่เกิดที่โตมากำลังจะจม มันก็มีเงินไปซื้อตั๋วขึ้นเรือลำอื่นเอาไว้แล้ว!”
“กำจัดพยาธิ คือวาระแห่งชาติ”
แต่ถ้า “อำนาจในการปราบพยาธิ” ไปอยู่ในมือ “พยาธิ” เสียเอง? แล้วเจ้าของประเทศจะทำอย่างไร?
5) และจงอย่าให้ “รากเหง้าของคนขี้ขลาดตาขาว” มาเป็นสาเหตุของการสูญเสียชีวิตของผู้บริสุทธิ์ในสังคมอีกต่อไปเลย!
โฆษณา